เส้นทางการเดินทางของอาหารไทยสู่ครัวอวกาศ
ดร.โพธิวัฒน์ งามขจรวิวัฒน์ เริ่มต้นจากวิศวกรด้านหุ่นยนต์อัตโนมัติ การสร้างหุ่นยนต์เป็นงานวิจัยหลักที่เคยทำเกี่ยวกับหุ่นยนต์เลียนแบบสิ่งมีชีวิต ตอนเด็ก ๆ มีความฝันอยากเป็นนักบินอวกาศและเดินทางไปสู่ดาวดวงอื่น ๆ อย่างไรก็ตามตอนเรียนปริญญาเอกได้ทดลองอะไรใหม่ ๆ เช่นเครื่องพิมพ์ 3 มิติ และเริ่มมีความคิดอยากให้มันบนอวกาศและมองว่ามนุษย์จะทำกิจกรรมต่าง ๆ บนอวกาศมากขึ้น เช่น ท่องเที่ยวอวกาศ แต่ในช่วงนั้นความคิดยังไม่ถูกยอมรับมากนักและโดนดูถูกว่าเร็วเกินไป
ต่อมาทราบว่านาซาประกาศส่งนักบินอวกาศไปดาวอังคารและกำลังเปิดรับสมัครการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีผลิตอาหารสำหรับนักบินอวกาศ 4 คน เพื่อดำรงชีพเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี จึงตัดสินใจเข้าร่วมการประกวดเทคโนโลยีอาหารดังกล่าว
ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบในการทำวิจัย คือ นักวิจัยมักไม่ใช่นักขายที่เก่ง เพราะนักวิจัยอาจไม่ทราบวิธีการขายงานหรือการเข้าหาลูกค้า ดังนั้นการขายงานวิจัยจำเป็นต้องใช้นักการตลาดเข้ามาช่วย ถ้าให้นักวิจัยขายงานมีโอกาสที่จะขายงานไม่ได้สูงมาก ๆ การขายงานวิจัยได้และการเข้าถึงแหล่งลงทุนเป็นกุญแจสำคัญอย่างหนึ่งไปสู่ความสำเร็จ ดังนั้นนักวิจัยและนักการตลาดจะต้องปรับตัวในเรื่องนี้
การพัฒนางานวิจัยและปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็นกุญแจอย่างหนึ่งไปสู่ความสำเร็จ เช่น ในช่วงที่ส่งผลงานวิจัยประกวดกับนาซาได้มีการปรับเปลี่ยนและปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบการผลิตอาหารบนอวกาศอยู่ตลอดเวลา โดยการร่วมมือกับบริษัทเอกชนในประเทศไทย โรงงาน การเกษตรต่าง ๆ การปรับเปลี่ยนดังกล่าวทำให้ขนาดและขอบเขตของงานวิจัยลดลงเล็กน้อย
แม้ว่าโครงงานผลิตอาหารบนอวกาศจะไม่ประสบความเร็จและไม่ผ่านรอบต่อไปตามหลักเกณฑ์ที่นาซาเลือกระบุเอาไว้แต่ทีมงานก็ได้องค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปใช้กับการทำการเกษตรและโรงงานอุตสาหกรรมได้ ความสำเร็จของการทำงานวิจัยอาจอยู่ตรงนี้ และอาจนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีอื่น ๆ ในอนาคต