รีเซต

พบ “จีโนม” ที่ใหญ่ที่สุดในโลกในเฟิร์นขนาดเล็กจากดินแดนโพ้นทะเล นิวแคลิโดเนีย

พบ “จีโนม” ที่ใหญ่ที่สุดในโลกในเฟิร์นขนาดเล็กจากดินแดนโพ้นทะเล นิวแคลิโดเนีย
TNN ช่อง16
5 มิถุนายน 2567 ( 09:41 )
46

เคยสงสัยไหมว่า สิ่งมีชีวิตที่มี จีโนม (Genome) หรือข้อมูลทางพันธุกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก คืออะไร? คำตอบตอนนี้ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตตัวใหญ่อย่างวาฬสีน้ำเงิน ช้างแอฟริกา หรือต้นไม้ยักษ์ เพราะล่าสุดนักวิทยาศาสตร์พึ่งค้นพบสิ่งมีชีวิตที่มีจีโนมใหญ่ที่สุดในโลก เป็น “ต้นเฟิร์น” เล็ก ๆ ที่เติบโตในดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศส ในเกาะนิวแคลิโดเนีย (New Caledonia) ซึ่งอยู่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้

ภาพจากรอยเตอร์


งานวิจัยใหม่พบว่าเฟิร์นชนิดนี้ ซึ่งมีชื่อว่า ทีมิสซิปเทอริส โอบลันเซโอลาตา (Tmesipteris oblanceolata) ซึ่งนักวิจัยพบว่ามันมีจีโนม หรือข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดของสิ่งมีชีวิต ที่ใหญ่กว่า 50 เท่าของขนาดจีโนมของมนุษย์


ตัวชี้วัดขนาดจีโนม คือจำนวนคู่เบส ซึ่งเป็นหน่วยพื้นฐานของ DNA ในนิวเคลียสของเซลล์สิ่งมีชีวิต ซึ่งหากเหยียดออกเหมือนเส้นด้าย ความยาวของ DNA ในแต่ละเซลล์ของเฟิร์นนี้ จะยาวถึง 106 เมตร ซึ่งถ้าเทียบแล้ว จะสูงกว่าอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพของนิวยอร์ก ซึ่งสูง 93 เมตร หอนาฬิกาบิ๊กเบนของลอนดอน ซึ่งสูง 96 เมตร และทัชมาฮาลของอินเดีย ซึ่งสูง 73 เมตร


สำหรับเฟิร์นพันธุ์นี้ เจริญเติบโตบนพื้นดิน หรือบนลำต้นของต้นไม้ในนิวแคลิโดเนีย และเกาะใกล้เคียง เช่น วานูอาตู โดยตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาถูกเก็บรวบรวมเมื่อปีที่แล้วบนเกาะ แกรนด์ แตร์ (Grande Terre) ของหมู่เกาะนิวแคลิโดเนีย 


นักวิจัยกล่าวว่า พวกเขาหวังว่าการศึกษาและทำความเข้าใจขนาดของจีโนม อาจจะทำให้พวกเขาสามารถช่วยระบุความเสี่ยงการสูญพันธ์ุของพืชจากการที่มีจีโนมขนาดใหญ่ ซึ่งสิ่งนี้อาจลดความสามารถของพืชในการแข่งขัน และการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อม ส่งผลต่อการเจริญเติบโต และทำให้มันมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ได้ง่ายตามไปด้วยนั่นเอง 


ข้อมูลจาก reutersconnect

ข่าวที่เกี่ยวข้อง