นักโบราณคดีเผยการค้นพบ 'สุสานชนชั้นสูง' เก่าแก่สุดในจีน ฝังหน้ากากศพทองคำ

(ภาพจากสถาบันมรดกทางวัฒนธรรมและโบราณคดีนครเจิ้งโจว : แผนที่การขุดสำรวจกลุ่มสุสาน บริเวณซากเมืองโบราณซางตูในนครเจิ้งโจว มณฑลเหอหนานทางตอนกลางของจีน)
เจิ้งโจว, 25 ธ.ค. (ซินหัว) -- คณะนักโบราณคดีของจีนได้ค้นพบกลุ่มสุสานชนชั้นสูงอันเก่าแก่ที่สุดเท่าที่รู้จักของจีนจากซากเมืองยุคราชวงศ์ซาง (1600-1046 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ในนครเจิ้งโจว มณฑลเหอหนานทางตอนกลางของจีนรายงานระบุว่าการค้นพบนี้เป็นผลจากการขุดสำรวจหลายรอบระหว่างปี 2021-2023 และเปิดเผยต่อสาธารณะในการประชุมประจำปีเกี่ยวกับผลสำเร็จของงานขุดสำรวจทางโบราณคดีในมณฑลเหอหนานที่จัดขึ้นเมื่อไม่นานนี้กลุ่มสุสานมีอายุราว 3,400 ปี ครอบคลุมพื้นที่ราว 20,000 ตารางเมตร ประกอบด้วยอุโมงค์หลายแห่งสำหรับเข้าและออกจากสุสาน หลุมศพ ซากเครื่องเซ่นไหว้ และอื่นๆ รวมถึงมีการขุดพบ "หน้ากากศพ" ทำจากทองคำรูปทรงเปลือกหอย เครื่องหินเทอร์ควอยซ์ สัมฤทธิ์ และหยกหวงฟู่เฉิง นักวิจัยจากสถาบันมรดกทางวัฒนธรรมและโบราณคดีนครเจิ้งโจว กล่าวว่ากลุ่มสุสานนี้เป็น "จ้าวอวี้" ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยขุดพบ โดยคำว่าจ้าวอวี้ถูกบันทึกอยู่ในวรรณกรรมคลาสสิกโบราณ มีความหมายว่าหลุมศพของชนชั้นสูง ทำให้มีนัยสำคัญอย่างยิ่งต่อการสำรวจต้นกำเนิดของจ้าวอวี้และวิวัฒนาการของระบบสุสานในจีน (ภาพจากสถาบันมรดกทางวัฒนธรรมและโบราณคดีเจิ้งโจว : หน้ากากศพทำจากทองคำที่ขุดพบในกลุ่มสุสาน บริเวณซากเมืองโบราณซางตูในนครเจิ้งโจว มณฑลเหอหนานทางตอนกลางของจีน)(ภาพจากสถาบันมรดกทางวัฒนธรรมและโบราณคดีเจิ้งโจว : แผนผังโครงสร้างกลุ่มสุสาน บริเวณซากเมืองโบราณซางตูในนครเจิ้งโจว มณฑลเหอหนานทางตอนกลางของจีน)