รีเซต

วินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยการตรวจน้ำไขสันหลัง

วินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยการตรวจน้ำไขสันหลัง
TNN ช่อง16
18 ธันวาคม 2563 ( 13:40 )
435

เดิมการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's Disease) ต้องอาศัยอาการแสดงของผู้ป่วยเป็นหลัก อาจทำให้การรักษาล่าช้าและทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ระยะที่ส่งร้ายแรงต่อสุขภาพร่างกาย ทีมนักวิจัยจากโรงเรียนแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ได้คิดค้นวิธีการใหม่ที่ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ


ที่มาของภาพ https://www.news-medical.net/health/Is-Alzheimers-Disease-Transmissible.aspx

โรคอัลไซเมอร์ เกิดจากความผิดปกติของโปรตีนในสมอง ทำให้การทำงานของสมองเสื่อมสภาพไป สิ่งที่ตามมาคือผู้ป่วยมักจะมีความจำเสื่อม และไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เหมือนเดิม การวินิจฉัยโดยส่วนมากจึงต้องอาศัยอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก หรือถ้าอยู่ในโรงพยาบาลที่มีศัพกยภาพสูงหน่อย อาจใช้เครื่อง PET scan เพื่อดูความผิดปกติในสมอง แต่อาจจะต้องต่อคิวยาวเหยียดและมีราคาแพงอีกด้วย

ทีมนักวิจัยจากโรงเรียนแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน อธิบายว่าโปรตีนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของสมองผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ประกอบด้วย Tau (เทา) และ Amyloid หากโปรตีนสองชนิดนี้ปริมาณเพิ่มขึ้น ก็เพียงพอที่จะบ่งชี้ได้ว่าผู้ป่วยรายนั้นอาจพัฒนาเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้


ที่มาของภาพ https://medicine.wustl.edu/news/novel-form-of-alzheimers-protein-found-in-spinal-fluid-indicates-stage-of-the-disease/

แต่งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน มุ่งเน้นการตรวจจับโปรตีนอีกชนิดเรียกว่า Microtubule binding region tau (MTBR) ซึ่งเป็นตัวที่ใช้จับกับโปรตีน Tau หากมี MTBR สูงขึ้น แสดงว่าโปรตีน Tau น่าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น และผู้ป่วยก็จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ รวมทั้งยังสามารถใช้ติดตามความรุนแรงของโรคได้อีกด้วย

และเหตุที่เลือกใช้ MTBR เพราะสามารถตรวจวัดได้ง่ายกว่า ที่สำคัญคือสารชนิดนี้จะปะปนอยู่ในน้ำไขสันหลัง ดังนั้น แพทย์สามารถเจาะตัวอย่างจากน้ำไขสันหลังของผู้ป่วยได้ ซึ่งหัตถการนี้แพทย์ทุกคนสามารถทำได้อยู่แล้ว 


ที่มาของภาพ https://medicine.wustl.edu/news/novel-form-of-alzheimers-protein-found-in-spinal-fluid-indicates-stage-of-the-disease/

จากการทดลองของทีมนักวิจัยจากโรงเรียนแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน พบว่าน้ำไขสันหลังของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มีปริมาณ MTBR tau 243 มากกว่าคนปกติ และปริมาณของ MTBR tau 243 จะมากขึ้นในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง นอกจากนี้ เมื่อนำไปเช็คกับการตรวจด้วย PET scan ผลการตรวจก็สอดคล้องกันเป็นอย่างมากเลยทีเดียว

งานวิจัยนี้นับว่าเป็นแนวทางใหม่ที่ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะเป้าหมายหลักในการรักษามิใช่การทำให้หายขาดจากโรค แต่เป็นการชะลอความรุนแรงของโรค หากสามารถวินิจฉัยได้รวดเร็ว ผู้ป่วยก็จะได้รับประโยชน์จากการรักษามากขึ้นด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก New Atlas

เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com 
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live 
twitter : TNNONLINE 
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE 
Instagram : TNN_ONLINE 
TIKTOK : @TNNONLINE

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง