รีเซต

ยกระดับการศึกษา! กสศ.จับมือ12 หน่วยสร้างหลักประกันการศึกษา

ยกระดับการศึกษา! กสศ.จับมือ12 หน่วยสร้างหลักประกันการศึกษา
TNN ช่อง16
28 ธันวาคม 2565 ( 14:07 )
52
ยกระดับการศึกษา! กสศ.จับมือ12 หน่วยสร้างหลักประกันการศึกษา



ดร.ไกรยส   ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)  กล่าวถึง การสร้างระบบหลักประกันทางการศึกษา ว่า   การสร้างหลักประกันทางการศึกษาถือเป็นการดำเนินการภายใต้ร่มใหญ่ คือโครงการพาน้องกลับมาเรียนของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ ที่ กสศ.ได้ร่วมบันทึกข้อตกลงเซ็นเอ็มโอยูกับ 12 หน่วยงานด้านการศึกษาเพื่อเชื่อมโยงฐานข้อมูลของครอบครัวจากบัตรประชาชนเลข 13 หลัก และ ข้อมูลรายบุคคลทำให้ต้นสังกัดทราบข้อมูลตั้งแต่ปฐมวัยว่ามีครอบครัวนักเรียนอยู่ใต้เส้นความยากจน


จากข้อมูลดังกล่าว กสศ.และกระทรวงศึกษาธิการ จะเข้ามาดูแลเส้นทางการศึกษาดังกล่าวเพื่อป้องกันมาให้เด็กหลุดออกนอกระบบการศึกษาตั้งแต่ปฐมวัย  พอเข้าสู่ประถมศึกษา และ มัธยมศึกษาเขาจะไม่หลุดในช่วงรอยต่อ จากอนุบาล3  ขึ้น ป.1  และ ป 6 ขึ้น ม3 เราจะมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดว่า เด็กที่ได้รับทุนจาก กสศ.ที่สนับสนุนแล้วมีอัตราการมาเรียมาปกติดีมั้ย เรื่องของร่างกายส่วนสูงปกติหรือไม่ ผลการเรียนยังสามารถไปต่อได้หรือไม่


“ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญคือ ม.3 คือปีสุดท้ายของการศึกษาภาคบังคับ กฎหมายไม่ได้บังคับให้เด็กเรียนแต่ปัจจุบันวุฒิ ม.3 ไม่เพียงพอในการที่จะทำให้เด็กออกไปสู่เยาวชนวัยแรงงานที่มีรายได้พอเลี้ยงชีพที่สำคัญคือการก้าวออกไปสู่ความยากจนข้ามชั่วรุ่นได้”


ดร.ไกรยส   กล่าวว่าการดูแลนักเรียนในช่วงรอยต่อเพื่อให้หลุดออกนอกระบบการศึกษาไม่เพียงพอ ดังนั้น กสศ.ได้ทำในขั้นต่อไปคือเชื่อมโยงกับหน่วยงานอย่างอาชีวะศึกษา หรือ  กระทรวง อว. กยศ เพื่อให้เด็กเยาวชนที่กำลังจะก้าวออกจาก ม.3 ได้รับการส่งต่อในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือสูงกว่าขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะถ้าเด็กเยาวชนที่มีพ่อแม่ วุฒิการศึกษาสูงสุดแค่ ป.6 หรือ ไม่เกิน ม.3 แต่เขาสามารถทะลุเป้าหมายจากตรงนั้นสามารถเรียนจบการศึกษา ปวช. ปวส. หรือ ม.6 หรืออุดมศึกษาได้ หรือทำให้มีช่วงการศึกษาที่ยาวมากขึ้นจาก 

6-12 ปี คือ หัวใจสำคัญในการสร้างหลักประกันทางการศึกษา 


 “บางคนอาจจะเข้าใจว่าความเสมอภาคทางการศึกษา คือเด็กทุกคนต้องได้เรียนเท่ากัน แต่ความจริงแล้วเด็กมีช่องว่างต่างกันมาตั้งแต่ต้น ช่องว่างตรงนั้นต้องปิดให้ได้ โดยเราเห็นว่า เด็กแต่ละคนไม่ว่ายากดีมีจน ถ้าเขามีความสามารถในการเรียนจบ ปวช. ปวส. หรืออุดมศึกษา เราต้องเติมเต็มช่องว่าตรงนั้นเพื่อให้ความเสมอภาคไปเกิดที่ปลายทาง เขาเรียนเก่ง  เขาเป็นช้างเผือกเขาต้องได้รับการสนับสนุน ไม่ว่าจะจาก กสศ. กยศ หรือว่า หน่วยงานต้นสังกัดต่างๆ ให้ไปได้จนสุดเส้นทางคือความเสมอภาคที่แท้จริง”  


 ดร.ไกรยส  บอกอีกว่า เราต้องเติมช่องว่างให้เขาได้เรียนต่อได้ เนื่องจากหากเขาเรียนต่อในระดับที่สูงกว่าพ่อแม่  เขาจะสามารถหลุดพ้นความยากจนได้ เพราะเขาจะมีงานทำมีสวัสดิการที่ไปดูแลครอบครัวได้ นี้คือหัวใจของการสร้างหลักประกันการศึกษา ซึ่งจะเชื่อมโยงกับการแก้ไขปัญหาของประเทศ โดยช่วยให้คนไทย 2 ล้านคนที่อยู่ใต้เส้นความยากจน สามารถหลุดพ้นกับดักความยากจนได้ ทำให้ประเทศหลุดกับดักรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศรายได้สูง


 “ ความร่วมมือกับ 12 หน่วยงานคือการสร้างระบบประกันการศึกษาตั้งแต่ปฐมวัย  ถึง อุดมศึกษาส่งต่อไปจนมีงานทำ ซึ่งระบบตรงนี้ประมาณ 20 ปี ถ้าเราทำตรงนี้สำเร็จไม่มีเด็กหลุดออกนอกระบบการศึกษาและก้าวไปสู่การศึกษาระดับสูงมากกว่ารุ่นพ่อแม่ของพวกเขา  หัวใจคือการปฏิรูปการศึกษาจะช่วยขยับดัชนีประเทศสู่ประเทศรายได้สูง และการสร้าง หลักประกันทางการศึกษา 20 ปีคือคำตอบ ในการปฏิรูปการศึกษาและปฏิรูปประเทศหลุดออกจากประเทศรายได้ปานกลางได้”

ดร.ไกรยส  บอกอีกว่า การส่งต่อให้น้องๆที่เรียนในช่วงรอยต่อโดยเฉพาะ ม.3 สามารถเรียนสูงกว่าภาคบังคับ โดยร่วมมือกับอาชีวะศึกษาผลิตนักศึกษาซึ่งมีความต้องการของประเทศ ให้มีอาชี สามารถสร้างรายได้ เพื่อหลุดพ้นจากความยากจน ซึ่งเชื่อว่าใช้เวลา 4-5 ปี น่าจะมีเด็กหลุดออกนอกระบบการศึกษาในช่วงรอยต่อน้อยลง

    


ข้อมูล  :กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)  

ภาพ : กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง