รีเซต

นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ชวนติดตามหายนะชายฝั่งทะเลไทย หลังรัฐเดินหน้าทำกำแพงคอนกรีต

นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ชวนติดตามหายนะชายฝั่งทะเลไทย หลังรัฐเดินหน้าทำกำแพงคอนกรีต
มติชน
2 มิถุนายน 2563 ( 10:45 )
193
นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ชวนติดตามหายนะชายฝั่งทะเลไทย หลังรัฐเดินหน้าทำกำแพงคอนกรีต

 

นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ข้องใจกระทรวงทรัพย์ฯเลิกทำ อีไอเอ กำแพงป้องกันกัดเซาะชายฝั่ง

เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า การยกเลิกการทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ อีไอเอ. กำแพงกันกัดเซาะชายฝั่ง (Sea wall) กับหายนะของชายฝั่งทะเล

 

1.รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)โดยมติของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ลงนามในประกาศกระทรวงฯเมื่อวันที่ 11พฤศจิกายน 2556 ให้ถอดถอนประเภทและขนาดของโครงการก่อสร้างกำแพงริมชายฝั่งทุกประเภท ที่มีความยาวตั้งแต่ 200 เมตรขึ้น ออกจากการทำรายงาน อีไอเอ ไม่ต้องทำรายงาน อีไอเอ. อีกต่อไป

 

ซึ่งหน่วยงานเจ้าของโครงการสามารถดำเนินการได้ โดยให้เหตุผลว่า อีไอเอ. ทำให้เกิดการก่อสร้างล่าช้าไม่ทันการ รัฐต้องรีบเร่งดำเนินการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น เพื่อป้องกันเยียวยาความเสียหายผลที่เกิดขึ้นกับชุมชนริมชายฝั่งอย่างรวดเร็ว

 

2.ข้อมูลจากกรมโยธาฯ โดย Beach for life และสำนักข่าว TCIJ พบว่าตั้งแต่ปี 2557-2562 หลังยกเลิกการทำ อีไอเอ. มีโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นบนชาย หาดรวม 74 โครงการ ระยะทางมากกว่า 34,875 เมตร ใช้งบประมาณรวมราว 6.9 พันล้านบาท และช่วงปี 2551-2561 การสร้างกำแพงกันคลื่นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ และใช้งบประมาณสูงถึง 117 ล้านบาทต่อ 1 กิโลเมตร

 

3.ชายหาดม่วงงาม ต.ม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา มีความยาว 7.2 กิโลเมตร (กม.) เป็นหาดทรายขาวที่ใช้พักผ่อนหย่อนใจ เทศบาลและโยธาสงขลาจะทำกำแพงกันคลื่อนแบบขั้นบันไดคอนกรีตยาวประมาณ 2.7 กม. เพื่อป้องกันการกัดเซาะ ทุกวันนี้ประชาชนกำลังรวมตัวกันคัดค้าน เพราะเกรงว่าจะยิ่งทำให้เกิดกัดเซาะมากยิ่งขึ้น และหาดทรายที่สวยงามจะหายไป

 

4.การก่อสร้างโครงการแบบนี้ คือหายนะของชายฝั่งในระยะยาวหรือไม่ ทำไม ทส. จึงต้องยกเลิกการทำรายงานอีไอเอและทำไมต้องเร่งรีบใช้งบประมาณก่อสร้าง โดยไม่ศึกษาให้รอบคอบก่อน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง