รีเซต

สอบ.ค้านขึ้นค่าโดยสารสายสีเขียว 65 บาท หวั่นสร้างภาระผู้บริโภค

สอบ.ค้านขึ้นค่าโดยสารสายสีเขียว  65 บาท หวั่นสร้างภาระผู้บริโภค
TNN ช่อง16
9 กุมภาพันธ์ 2565 ( 15:14 )
102
สอบ.ค้านขึ้นค่าโดยสารสายสีเขียว  65 บาท หวั่นสร้างภาระผู้บริโภค

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) เปิดเผยว่า  ไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลบาลจะเร่งรีบพิจารณาการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว เนื่องจากยังมีเวลามากถึง 8 ปีถึงจะหมดสัญญาในปี 2572  ในการพิจารณาอย่างรอบ และอยากให้การต่อสัมปทานเป็นเรื่องของผู้ว่ากทม.คนใหม่ เป็นผู้ตัดสินใจ 

 

นอกจากนี้ ในส่วนของราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่มีการเสนอให้คิดค่าโดยสารที่ราคา 65บาทนั้น เป็น ราคาสูงเกินไป และขาดที่มาที่ไปว่าคำนวณราคาดังกล่าวมาจากไหน   ซึ่งในส่วนของราคา สามารถทำให้ราคาถูกลงเหลือเพียง 25 บาทได้หากเมื่อครบสัญญาสัมปทานในปี 2572 แล้ว สภาฯ เสนอประมูลใหม่ให้ทุกบริษัทเข้ามาประมูล  เพราะว่าที่ผู้สมัครหลายคนต่างเห็นว่า ราคาค่าโดยสาร รถไฟฟ้าสายสีเขียวสามารถลดลงมาได้ บางพรรคเสนอราคาค่าโดยสารเหลือเพียง 20 บาทเท่านั้น

 

ดังนั้นการที่คณะรัฐมนตรียังเร่งรีบนำเรื่องนี้มาพิจารณา ต่อสัมปทานและคิดราคาค่าโดยสาร 65 บาทจึงไม่มีความชอบธรรมในเวลานี้ และขอให้รัฐบาลต้องหยุดสร้างภาระให้กับผู้บริโภค หยุดการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวและเปิดให้มีการประมูลในการต่อสัมปทานใหม่เมื่อหมดสัญญาแล้ว

 

นายประพาส เหลืองศิรินภา   ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง   กล่าวว่า  การคำนวณราคาค่าโดยสาร รถไฟฟ้าสายสีเขียวตลอดสายรวมส่วนต่อขยาย ใช้สูตร   15 คูณ 3 F  ซึ่งเป็นสูตรมาตรฐานสากลที่ใช้กันอยู่แล้ว  ทำให้ได้ราคา 65 บาท ซึ่งเป็นราคาสูงสุดตลอดสาย แต่โดยเฉลี่ยผู้ที่เดินทาด้วยรถไฟฟ้าจะเดินทางเฉลี่ย 10-11 สถานี ทำให้ราคาค่าโดยสารไม่ถึง 65 บาทอยู่แล้ว

 

 ส่วนที่เสนอเข้าคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณานั้น เป็นการแก้ไขสัญญาสัมปทานเพื่อรวมส่วนขยายไปด้วยเนื่องจากรัฐบาลมองว่าหากมีการให้เอกชนหลายเจ้ามาดำเนินการเดินรถไฟฟ้าในแต่ละส่วนจะทำให้ ราคาค่าโดยสารสูงถึง 158 บาท   แต่หากให้การเดินรถมาจากเจ้าเดียวทำให้ราคารถไฟฟ้าลดลงมา 65 บาท

 

สำหรับกรณีกระทรวงคมนาคม ออกมาระบุว่ากรรมสิทธิ์ในส่วนต่อขยาย 2ส่วนยังเป็นขอ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย  หรือ รฟม.นั้นยังไม่มีการโอนย้ายกรรมสิทธิ์   แต่มีมติครม.เดือน พฤศจิกายน 2561 รับรองการลงนามข้อตกลงระหว่าง รฟม.กับ กทม.ในเรื่องของการโอนย้ายทรัพย์สินและหนี้สิน รวมทั้งเห็นชอบให้กรุงเทพมหานครมีอำนาจในการบริหารจัดการ นอกจากนี้กฤษฏีกายังตีความว่าสามารถดำเนินการได้ตามกฏมาย ในประเด็นนี้จึงไม่น่าจะมีปัญหาอะไร อย่างไรก็ตาม กทม. จะจัดทำข้อมูลเพื่อตอบคำถาม 4 ประเด็นของกระทรวงคมนาคมและเสนอเข้าคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งใน2 สัปดาห์

 

 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ  รมว.คมนาคม   กล่าวว่า  ครม.พียงแค่ถอนวาระและจะนำมากลับมาพิจารณาใหม่ แต่ต้องขอบคุณคณะรัฐมนตรีที่ถอนวาระการพิจารณาการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว เนื่องจาก รัฐมนตรีพรรคภูมิใจไทยทั้ง 7 คน ได้ทำหนังสือขอลาประชุม และกระทรวงคมนาคมทำหนังสือไม่เห็นด้วยต่อคณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีรับฟัง 


อย่างไรก็ตาม  ไม่เห็นด้วยกับการนำเอาวาระการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวมาพิจารณาในการประชุมคณะรัฐมนต รีเนื่องจากยังไม่มีการแก้ปัญหาที่เป็นสาระสำคัญทางข้อเท็จจริงทางกฎหมาย  โดยเฉพาะประเด็นอัตราค่าโดยสารที่เสนอในราคาสูง การรองรับระบบตั๋วร่วม   


อีกทั้งยังมีความไม่ชัดเจนเรื่องข้อกฎหมาย กรณี กทม.อาจจะไม่มีอำนาจในการดำเนินการเนื่องจาก ส่วนต่อขยาย 2 ส่วนที่เสนอต่อสัมปทานนั้น เป็นกรรมสิทธิ์ของ รฟม.   ซึ่งเป็นสาระสำคัญใหม่ที่ กทม. หรือ กระทรวงมหาดไทยไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะหากมีการดำเนินการอาจจะขัดต่อกฏหมายได้


" หากนำวาระกลับมาพิจารณาใหม่โดยที่ยังไมมีการแก้ไขในสาระสำคัญทางกฏหมายกล่าวไปแล้ว กระทรวงคมนาคมคงจะยืนยันในจุดยืนเดิม นอกจากนี้ยังเห็นว่าการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่กำลังจะหมดสัญญาในปี 2572 นั้นมีเวลาเพียงพอในการดำเนินการให้ถูกต้อง และควรจะเปิดให้ทุกบริษัทเอกชนเข้ามามีส่วนในการประมูลโดยพิจารณาเงื่อนไขเรื่องราคา ค่าโดยสารให้เป็นธรรมกับประชาชนมากที่สุด "


ที่มา สภาองค์กรของผู้บริโภค  

ภาพประกอบ   สภาองค์กรของผู้บริโภค  



 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง