รีเซต

วิกฤติโควิด-19 ระลอกใหม่ กระทบกาชาดไทยขาดเลือด วอนช่วยกันบริจาค

วิกฤติโควิด-19 ระลอกใหม่ กระทบกาชาดไทยขาดเลือด วอนช่วยกันบริจาค
PakornR
12 มกราคม 2564 ( 12:48 )
332
วิกฤติโควิด-19 ระลอกใหม่ กระทบกาชาดไทยขาดเลือด วอนช่วยกันบริจาค

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย วอนคนไทยสุขภาพดีช่วยกันบริจาคโลหิต อย่างเร่งด่วน ชี้สถานการณ์การระบาด COVID-19 ระลอกใหม่ ส่งผลกระทบผู้บริจาคโลหิตลดลงอย่างมาก ทำให้โลหิตขาดแคลนเข้าขั้นวิกฤติทั่วประเทศ

 

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ระลอกใหม่ขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยในโรงพยาบาลต่างๆ โดยเฉพาะในโรงพยาบาลใหญ่ๆ หลายแห่ง ที่ต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัดให้ผู้ป่วย รวมทั้งผู้ป่วยเด็กโรคเลือด อาทิ โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ฮีโมฟีเลีย ที่ต้องใช้เลือดในปริมาณมากและต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยโรงพยาบาลทั่วประเทศกว่า 340 แห่ง มีความต้องการเลือดสูงมาก แต่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ไม่สามารถจ่ายเลือดให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ได้อย่างเพียงพอ เนื่องจากผู้บริจาคโลหิตมีจำนวนลดลงทุกแห่งทั่วประเทศ หน่วยงานยกเลิกการจัดกิจกรรมรับบริจาคโลหิต เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ควบคุมการแพร่ระบาด และสถาบันการศึกษาปรับรูปแบบการเรียนการสอนเป็นออนไลน์ ส่งผลให้มีปริมาณโลหิตบริจาควันละ 700 – 900 ยูนิต เท่านั้น ลดลงมากถึงร้อยละ 50

 

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ ปีพ.ศ.2512 มีการประกาศขาดเลือดบ่อยๆ แต่ครั้งนี้นับเป็นประวัติศาสตร์ที่วิกฤติมากอีกครั้งหนึ่ง เพราะโรงพยาบาลใหญ่ๆ ทั่วประเทศ ประกาศขาดเลือดพร้อมๆ กัน หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไป อาจเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยถึงชีวิตได้

 

 

อีกทั้ง เพื่อให้งานบริการโลหิตของประเทศไทย เป็นไปอย่างเพียงพอและปลอดภัย ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ได้มีมาตรการและแนวทางการปฏิบัติงาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริจาคโลหิต ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ ทั่วประเทศ 12 แห่ง และหน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่ทุกแห่ง ตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

 

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และภาคบริการโลหิตแห่งชาติ ยังคงรักษามาตรการสร้างความมั่นใจให้เป็นสถานที่ปลอดภัยจาก COVID-19 มีการควบคุม ดูแล รักษาความสะอาด อุปกรณ์ สถานที่ และสุขอนามัยของผู้มาบริจาคโลหิต และบุคลากรที่ปฏิบัติงาน เพื่อให้มั่นใจว่าทุกหน่วยงานไม่มีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ

 

ในฐานะที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล ทำหน้าที่ในการจัดหาโลหิตให้มีปริมาณเพียงพอ ปลอดภัย และมีคุณภาพสูงสุด จากผู้บริจาคโลหิตด้วยความสมัครใจ ไม่หวังสิ่งตอบแทน เพื่อนำไปใช้รักษาผู้ป่วยทั่วประเทศ และโลหิตยังคงเป็นยารักษาโรคที่สำคัญ ซึ่งต้องได้มาจากการบริจาคเท่านั้นมีความต้องการใช้ทุกวัน

 

บริจาคโลหิตได้ที่

 

สถานที่รับบริจาคโลหิต (ส่วนกลาง)

·    ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
·     หน่วยรับบริจาคโลหิตประจำที่ 6 แห่ง ได้แก่

 

–  สถานีกาชาด 11 วิเศษนิยม (บางแค)

–  บ้านทรงไทย (ย่านวงศ์สว่าง)

–  เดอะมอลล์ บางแค

–  เดอะมอลล์ บางกะปิ

–  เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน

–  ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรียม

โรงพยาบาลสาขาบริการโลหิต 6 แห่ง

 

·     โรงพยาบาลตำรวจ

·     โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
·     โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า

 

·     โรงพยาบาลรามาธิบดี

·     โรงพยาบาลวชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

·     สถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า

 

สถานที่รับบริจาคโลหิต (ส่วนภูมิภาค)

     ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ 12 แห่ง ได้แก่
·   ภาคฯ จ.ลพบุรี

 

·   ภาคฯ จ.ราชบุรี

·   ภาคฯจ.ขอนแก่น

·   ภาคฯจ.นครสวรรค์

·   ภาคฯ จ.เชียงใหม่

·   ภาคฯ จ.ภูเก็ต

·    ภาคฯ จ.ชลบุรี

 

·    ภาคฯ จ.นครราชสีมา

·    ภาคฯ จ.อุบลราชธานี

·    ภาคฯ จ.พิษณุโลก

·    ภาคฯ จ.สงขลา

·     ภาคฯ จ.นครศรีธรรมราช

 

·  โรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วประเทศ

 

ผู้บริจาคโลหิตต้องตอบคำถามเกี่ยวกับสุขภาพและการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงตามความเป็นจริง หากไม่แน่ใจควรงดการบริจาคโลหิตชั่วคราว เพื่อเว้นระยะเวลาการพบเชื้อ 4 สัปดาห์ และใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่เดินทางมาบริจาคโลหิต  สอบถามโทร. 0 2256 4300

 

ประกาศ ณ วันที่ 9 มกราคม 2564

 

 

ข้อมูลเกี่ยวข้อง

 

  • วันเวลาเปิดรับบริจาคโลหิต ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ถ.อังรีดูนังต์ คลิก https://bit.ly/341Xika
 
  • ตารางหน่วยเคลื่อนที่บริจาคโลหิต คลิก https://bit.ly/2WXPsGV
 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

>>> เปิด 4 ข้อดี "บริจาคเลือด" ช่วยเขา เราก็ได้ โควิดทำขาดแคลนทุกกรุ๊ป

>>> เลือดสำรองไม่พอ จ่ายเลือดได้50%เท่านั้น วอนช่วยกันบริจาคเร่งด่วน

 

ภาพปก : Image by Michelle Gordon from Pixabay 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง