รีเซต

7 รุ่น รถยนต์ไฟฟ้า 100% มีขายในไทย สมรรถนะแจ๋ว วิ่งไกลได้สบาย เช็กเลย!!

7 รุ่น รถยนต์ไฟฟ้า 100%  มีขายในไทย สมรรถนะแจ๋ว วิ่งไกลได้สบาย เช็กเลย!!
TNN ช่อง16
24 มิถุนายน 2565 ( 11:18 )
748
1

 รถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% หรือ รถ EV (Electric Vehicle) กำลังมาแรง หลายค่ายต่างนำผลิตภัณฑ์ รถยนต์ EV ลงสนามตลาดรถยนต์กันมากขึ้น หลังจากที่ช่วงหลายปีมานี้ กระแสตอบรับดีขึ้นเรื่อยๆ ด้วยคุณสมบัติเด่นที่ไม่ต้องเติมน้ำมัน ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยิ่งในยุคที่น้ำมันแพงหูฉี่ ยิ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าหากเทียบกับการใช้รถน้ำมันด้วย หลายคนอาจจะกำลังมองหารถยนต์ไฟฟ้าคันใหม่มาทดแทนรถยนต์เติมน้ำมันคันเดิมอยู่


ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ตลาด  รถ EV ยิ่งคึกคักมากขึ้น หลังจากที่งานบางกอก อินเตอร์ เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2022 หรือมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 43 ช่วงต้นปีที่ผ่านมา บรรดาค่ายรถยนต์ต่างก็นำรถยนต์ไฟฟ้ามาเปิดตัว และได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมากขึ้น ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากมาตรการของรัฐบาลที่อุดหนุนส่วนลดให้กับประชาชน


ความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น

ตามข้อมูลจาก ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี หรือ ttb analytics  ได้ประเมินยอดขายรถยนต์นั่งไฟฟ้า (Electric Vehicles : xEV)  ของไทยปี 2565 แตะ 6.36 หมื่นคัน  โดยเป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ ( BEV )  ถึง 1 หมื่นคัน  หรือขยายตัว  539.7%  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564   ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์  จากอานิสงส์มาตรการส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ตามกระแสความนิยมยานยนต์ไฟฟ้าที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคทั่วโลกในด้านราคาและเทคโนโลยีแบตเตอรี่ รวมถึงราคาน้ำมันดิบที่อยู่ระดับสูงต่อเนื่อง เช่นเดียวกับยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด (Hybrid) และไฮบริดแบบเสียบปลั๊ก ( PHEV ) ที่คาดว่าจะสูงถึง 5.3 หมื่นคัน สวนทางกับกระแสรถยนต์นั่งเครื่องยนต์ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง (Internal Combustion Engine: ICE) หดตัวจากปี 2564 ถึง 8.8%



มาตรการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าของรัฐบาลมีอะไรบ้าง?

มาตรการจากรัฐบาลที่สนับสนุนเงินให้ผู้ประกอบ  รถ EV  ทั้งนำเข้าจากต่างประเทศและผลิตในประเทศ นำไปเป็นส่วนลดให้ประชาชนที่สนใจซื้อรถ EV ทั้งรถยนต์และจักรยานยนต์ 18,000 - 150,000 บาท/คัน เป็นส่วนหนึ่งของหลายมาตรการที่รัฐบาลสนับสนุนให้มีการใช้และผลิต  รถ EV  ในประเทศให้มากขึ้น 

1. เงินอุดหนุนรถยนต์ และรถกระบะคันละ 70,000-150,000 บาท/คัน และรถจักรยานยนต์ 18,000 บาท/คัน

2. ลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์จาก 8 % เป็น 2 % และรถกระบะเป็น 0 %

3. ลดอากรขาเข้ารถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศ และนำเข้าทั้งคัน (CBU) สูงสุด 40 % สำหรับรถยนต์ ถึงปี 2566

4. ยกเว้นอากรขาเข้าส่วนประกอบรถยนต์EV จำนวน 9 รายการ เพื่อนำมาผลิตหรือประกอบรถEV ในประเทศ (CKD) จำนวน 9 รายการ



ทั้งนี้ ผู้ประกอบการหรือค่ายรถที่เข้าร่วมต้องรับเงื่อนไข ได้แก่ ผลิต รถ EV ในประเทศชดเชยให้เท่ากับจำนวนที่นำเข้าช่วงปี 2565 - 2566 ภายในปี 2567 แต่ขยายเวลาได้ถึงปี 2568 โดยจะต้องผลิตในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 คือ นำเข้า 1 คัน จะต้องผลิตในประเทศ 1 คัน โดยผู้ใช้สิทธิ์จะผลิต BEV หรือรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ รุ่นใดก็ได้เพื่อชดเชย ยกเว้นรถที่มีราคาขายปลีก 2-7 ล้านบาท ต้องผลิตรุ่นเดียวกับที่นำเข้ามา เป็นต้น


ล่าสุดมีค่ายรถจากจีน 3 ค่าย ลงนามร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสากิจเพื่อรับสิทธิประโยชน์จากการนำเข้าและผลิตรถยนต์ รวมทั้งจะได้รับเงินอุดหนุนส่วนลดจากภาครัฐไปเป็นส่วนลดให้ประชาชนที่สนใจซื้อรถEV ซึ่งในส่วนของเงินอุดหนุนส่วนลดปีนี้รัฐบาลอนุมัติให้ 3,000 ล้านบาท ขณะที่ค่ายรถจากญี่ปุ่นหลายค่ายอยู่ระหว่างพิจารณาเข้าร่วมโครงการ เช่นกับค่ายจากยุโรปหลายค่ายก็อยู่ระหว่างการพิจารณา แต่ทางกรมสรรพสามิต เห็นว่า หาก รถEV จากค่ายยุโรป ทำราคาขายได้ต่ำกว่า 2 ล้านบาท ก็จะมีส่วนลดต่อคันสูงถึง 6-7 แสนบาท ดังนั้นเชื่อว่าค่ายรถทั้งหมดทั้งจากจีน ญี่ปุ่น ยุโรป กว่า 80% จะลงนามกับกรมสรรพสามิตได้หมดภายในปีนี้



5 ประโยชน์ที่คนไทยได้รับจากมาตรการหนุนใช้รถ EV

1.ประชาชนจะได้ใช้ รถ EV ในราคาที่ถูกลง 

2.ช่วยลดค่าเดินทาง เพราะรถ EV มีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่ถูกกว่ารถที่ใช้น้ำมัน 

3. ลดการใช้น้ำมัน ในภาวะที่น้ำมันแพง ต้นทุนด้านการขนส่งสินค้าก็จะลดลง 

4. รถEV เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นส่วนช่วยลดมลภาวะทางอากาศ 

5. เมื่อมีการตั้งฐานผลิตรถ EV ในไทยมากขึ้น ก็จะเกิดการจ้างงานคนไทยมากขึ้นด้วย 



7 รุ่น รถยนต์ไฟฟ้า 100%  มีขายในไทย สมรรถนะดี วิ่งได้ไกล




สถานีชาร์จ มีเพียงพอไหมปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อรถEV

ปัจจัยสำคัญหนึ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจว่าจะหันมาใช้ รถ EV หรือไม่ นั่นก็คือ  สถานที่และสถานีชาร์จไฟฟ้าที่เพียงพอหรือไม่  เพราะแม้รถ EV  สามารถชาร์จไฟฟ้าที่บ้านได้ตามอุปกรณ์การชาร์จที่มีมากับรถ  แต่ในกลุ่มที่อาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียม แฟลต อพาร์ทเมนต์  ส่วนใหญ่ยังไม่มีการติดตั้งแท่นชาร์จในพื้นที่จอดรถ  ขณะที่สถานที่ทำงานทั้งภาครัฐและเอกชนยังมีการติดตั้งแท่นชาร์จน้อยแห่ง หากแก้ปัญหาในส่วนนี้ได้ และมีสถานีชาร์จกระจายเพียงพอ ก็เชื่อว่าจะจูงใจให้คนหันมาใช้รถ EV มากขึ้น


อย่างไรก็ตาม  สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ได้วางเป้าหมายภายในปี 2030 หรือ 8 ปีข้างหน้า จะต้องมีสถานีชาร์จสำหรับ  รถยนต์ไฟฟ้า  เพิ่มอีก 567 แห่ง จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 827แห่ง เป็น 1,304 แห่ง ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ประชาชนหันมาใช้รถEV มากขึ้น  



แต่ถ้าหากในประเทศไทยมีสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากระจายอยู่ทั่วประเทศไ  ก็น่าจะเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าได้มากขึ้น. และถ้าประชาชนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น เชื่อว่าจะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมครั้งใหญ่อย่างแน่นอน 





อ้างอิงข้อมูล : กระทรวงอุตสาหกรรม ,มอเตอร์โชว์ 

ภาพจาก : TNN ONLINE , 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง