ออสเตรเลียปล่อย 'ปลาพื้นเมือง' สู่แม่น้ำ หลังสูญพันธุ์จากภัยแล้ง 15 ปีก่อน
(แฟ้มภาพซินหัว : บอลลูนลมร้อนลอยเต็มท้องฟ้าในช่วงเทศกาลชมบอลลูนแคนเบอร์รา ในกรุงแคนเบอร์รา เมืองหลวงของออสเตรเลีย วันที่ 12 มี.ค. 2023)
แคนเบอร์รา, 10 พ.ย. (ซินหัว) -- ปลาสายพันธุ์พื้นเมืองจำนวน 1,000 ตัว ถูกปล่อยลงสู่ระบบแม่น้ำของรัฐเซาธ์ออสเตรเลีย หลังจากเคยสูญพันธุ์ไปในท้องถิ่นเนื่องจากภัยแล้งเมื่อ 15 ปีที่แล้ววันศุกร์ (10 พ.ย.) ทีมนักนิเวศวิทยาจากองค์กรต่างๆ ซึ่งรวมถึงองค์กรเนเจอร์ เกลเนลก์ ทรัสต์ (Nature Glenelg Trust) มหาวิทยาลัยแอดิเลด และมหาวิทยาลัยฟลินเดอร์ส ปล่อยปลายาร์รา พิกมี เพิร์ช (Yarra Pygmy Perch) ที่ผ่านการทดสอบทางพันธุกรรมและการตรวจสอบโดยสัตวแพทย์ ลงสู่พื้นที่ปิดล้อมในแม่น้ำเมอร์เรย์ ใกล้กับเกาะฮินด์มาร์ช ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองแอดิเลดไปทางใต้มากกว่า 50 กิโลเมตรปลายาร์รา พิกมี เพิร์ช มีถิ่นกำเนิดในออสเตรเลีย และอาจเจริญเติบโตจนยาวเพียง 7.5 เซนติเมตร โดยถูกพบครั้งแรกเมื่อปี 2002 ในแม่น้ำสายยาวที่สุดของออสเตรเลียอย่างแม่น้ำเมอร์เรย์ ช่วงไหลผ่านรัฐเซาธ์ออสเตรเลีย แต่กลับสูญพันธุ์ในปี 2008 ท่ามกลางภัยแล้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศปลาสายพันธุ์ดังกล่าวถูกช่วยเหลือจากทะเลสาบและแม่น้ำที่มีระดับน้ำลดลง และถูกนำมาเลี้ยงในเขื่อนสำหรับดูแลตั้งแต่นั้นมา โดยมีการดำเนินโครงการเลี้ยงดูและขยายพันธุ์เพื่อรักษาให้ปลาชนิดนี้อยู่รอดรายงานระบุว่าการปล่อยปลา 1,000 ตัวในวันศุกร์ (10 พ.ย.) จะยังคงให้อยู่ในพื้นที่ปิดเป็นเวลาสามสัปดาห์ เพื่อปรับตัวให้ชินกับสภาพแวดล้อมของแม่น้ำ ก่อนปล่อยกลับสู่ธรรมชาติซิลเวีย ซูโควสกี จากองค์กรเนเจอร์ เกลเนลก์ ทรัสต์ เผยกับสื่อท้องถิ่นของออสเตรเลียว่า หวังว่าปลาพวกนี้จะปรับตัวได้ดีในพื้นที่ที่เราปล่อยพวกมัน เพราะตรงนั้นมีพืชพรรณมากมาย และพวกมันไม่ถูกพบในบริเวณนี้เป็นเวลานานแล้วทั้งนี้ คณะนักวิจัยได้ดำเนินการทดสอบทางพันธุกรรมกับปลายาร์รา พิกมี เพิร์ช เพื่อคัดเลือกปลา 1,000 ตัว ที่มีแนวโน้มรอดชีวิตในธรรมชาติมากที่สุด และปลาทุกตัวถูกตรวจสอบโดยสัตวแพทย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อกำหนดในการปล่อยปลาดังกล่าว