รีเซต

โควิด-19 ไม่ใช่แค่ติดแล้วหาย ฉีดวัคซีนอาจไม่เพียงพอ หากไม่ทำสิ่งนี้?

โควิด-19 ไม่ใช่แค่ติดแล้วหาย ฉีดวัคซีนอาจไม่เพียงพอ หากไม่ทำสิ่งนี้?
TNN ช่อง16
24 สิงหาคม 2565 ( 08:16 )
69
โควิด-19 ไม่ใช่แค่ติดแล้วหาย ฉีดวัคซีนอาจไม่เพียงพอ หากไม่ทำสิ่งนี้?

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat  ระบุว่า  24 สิงหาคม 2565...

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 635,627 คน ตายเพิ่ม 1,616 คน รวมแล้วติดไป 602,128,018 คน เสียชีวิตรวม 6,475,624 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา อิตาลี และรัสเซีย

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 15 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 86.11 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 62.19

...สถานการณ์ระบาดของไทย

จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า

จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 15 ของโลก และอันดับ 5 ของเอเชีย แม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม

...ข่าวดีเกี่ยวกับวัคซีนในวัยรุ่นของสหรัฐอเมริกา

ล่าสุดเมื่อวานนี้ทาง US CDC ได้อนุมัติให้สามารถใช้วัคซีน Novavax ในเด็กวัยรุ่น อายุ 12-17 ปีได้แล้ว 

ถือเป็นวัคซีนตัวล่าสุดที่ได้รับอนุมัติให้ใช้ในเด็กวัยรุ่นได้ ต่อจาก Pfizer/Biontech และ Moderna

Novavax เป็นวัคซีนประเภท Protein subunit ซึ่งเป็นลักษณะคล้ายกับวัคซีนโรคอื่นๆ ที่เราใช้ในปัจจุบัน เช่น วัคซีนตับอักเสบบี

...ย้ำเตือนอีกครั้งว่า สถานการณ์ปัจจุบันของไทยนั้น แม้จะมีการรายงานตัวเลขเสียชีวิตเฉพาะคนที่ไม่มีโรคร่วม ก็พบว่าจำนวนเสียชีวิตเฉลี่ยรอบ 7 วัน ต่อประชากรล้านคนนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก ของเอเชีย และของกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง มาอย่างต่อเนื่อง

ที่สำคัญคือ การเสียชีวิตจริงย่อมมากกว่าที่รายงานในแต่ละวัน และสะท้อนถึงสถานการณ์ระบาดที่ยังรุนแรง

การป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอเป็นเรื่องที่จำเป็น

โควิด-19 ไม่ใช่หวัดธรรมดา หรือไข้หวัดใหญ่ ไม่ชิลๆ แค่ติดแล้วหาย แต่ป่วยรุนแรงได้ ตายได้ 

การฉีดวัคซีนนั้นช่วยลดโอกาสที่จะป่วยรุนแรงและเสียชีวิต แต่หากไม่ป้องกันตัวให้ดี ก็จะป่วยได้ตายได้เช่นกัน

ที่สำคัญคือ ปัญหา Long COVID ระยะยาว ซึ่งยังไม่มีวิธีรักษาจำเพาะเจาะจง และบั่นทอนคุณภาพชีวิต สมรรถนะการใช้ชีวิตและการทำงาน รวมถึงเป็นภาระค่าใช้จ่ายทั้งต่อผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม

แม้ติดเชื้อมาก่อน ก็ติดเชื้อซ้ำได้ หากไม่ป้องกันตัว และย่อมเสี่ยงที่จะป่วย ตาย และ Long COVID เป็นเงาตามตัว

หากติดเชื้อ ควรแยกตัวจากผู้อื่นในระยะเวลาที่เพียงพอ ยืนยันความรู้จากการวิจัยทางการแพทย์ชี้ให้เห็นว่า 5 วันไม่เพียงพอ แนวทางที่ควรทำคือ แยกตัวจากคนอื่น 7-10 วัน และก่อนออกไปใช้ชีวิตควรตรวจ ATK เป็นลบ และเช็คให้แน่ใจว่าไม่มีอาการป่วย ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อไปได้มาก

การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ ถือเป็นหัวใจสำคัญ




ข้อมูลจาก รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์

ภาพจาก TNN ONLINE 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง