รีเซต

สุดตะลึง! พบปลาหายาก 'ฉลามผี' ตัวใส อวัยวะเพศหดได้บนหัว ใต้ทะเลลึก 1.2 กม.

สุดตะลึง! พบปลาหายาก 'ฉลามผี' ตัวใส อวัยวะเพศหดได้บนหัว ใต้ทะเลลึก 1.2 กม.
ข่าวสด
19 กุมภาพันธ์ 2565 ( 11:57 )
243

ข่าววันนี้ มหาสมุทรเป็นสิ่งมหัศจรรย์และลึกลับ เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งมีลักษณะที่หายากและบางสปีชีส์ยังไม่มีการศึกษาสายพันธุ์มาก่อน ดังนักวิทยาศาสตร์ชาวนิวซีแลนด์ค้นพบสิ่งมีชีวิตลึกลับสุดหายากในระหว่างการสำรวจนอกชายฝั่งตะวันออกของเกาะใต้ของประเทศนิวซีแลนด์

 

ฉลามผี หรือที่รู้จักกันในชื่อ ปลาคิเมียรา (Chimaeras) เป็นสัตว์ที่มีกระดูกอ่อนคล้ายกับปลาฉลามและปลากระเบน ซึ่งเป็นสายพันธุ์น้ำลึกที่มีความยาวตั้งแต่ 60 ซม. ถึง 2 ม. และมีอวัยวะเพศที่หดได้อยู่บนศีรษะ อาศัยอยู่ที่ความลึกสูงสุด 1,829 เมตรและเชื่อว่าปลาดังกล่าวมีมาตั้งแต่ก่อนยุคไดโนเสาร์ แต่นักวิจัยเพิ่งสามารถศึกษาสปีชีส์นี้ได้เมื่อไม่นานมานี้

 

 

 

ลูกฉลามผีมักจะพบได้ในระดับความลึกที่แตกต่างจากปลาโตเต็มวัย และในบางกรณีก็ลูปลาจะมีลักษณะแตกต่างจากปลาโตเต็มวัยอีกด้วย นอกจากนี้ ฉลามผียังถูกเรียกชื่ออย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะแรตฟิช ปลากระต่าย ปลาช้าง ปลาหนู หรือปลาผี เนื่องจากมีหัวขนาดใหญ่และตาโตเมื่อเทียบกับร่างกาย

 

ดร.บริต ฟินุชชี นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยน้ำและบรรยากาศแห่งชาติของนิวซีแลนด์(NIWA) ผู้ค้นพบฉลามผีตัวน้อยกล่าวว่า “สิ่งที่เรารู้มักจะมาจากฉลามผีตัวโตเต็มวัยจะมีขนาดใหญ่ ซึ่งมักจะมีความยาว 1 เมตรถึงเมตรครึ่ง ดังนั้น การหาลูกฉลามที่อยู่ในฝ่ามือของฉันจึงเป็นเรื่องแปลกอย่างไม่น่าเชื่อ ลูกปลาแรกเกิดมีรายงานไม่บ่อยนัก ดังนั้น เราจึงรู้เพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับพวกมัน ซึ่งการค้นหาฉลามผีครั้งนี้จะช่วยให้เราเข้าใจชีววิทยาและนิเวศวิทยาของปลาน้ำลึกลึกลับกลุ่มนี้ได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น”

 

 

 

นักวิทยาศาสตร์พบลูกฉลามดังกล่าวที่ความลึก 1.2 กิโลเมตร (0.75 ไมล์) พร้อมถ่ายภาพของลูกฉลามผีแสดงให้เห็นครีบสีดำที่เชื่อมต่อกับร่างกายของผิวโปร่งแสงที่มีหางสีขาวที่ยาวและดวงตาสีดำสนิท พร้อมอธิบายว่าฉลามน้อยเพิ่งฟักออกจากแคปซูลไข่ที่วางอยู่บนพื้นมหาสมุทร เพราะมันมีไข่แดงเต็มท้อง

 

ดร. บิต ยังกล่าวเสริมว่าขั้นตอนแรกของพวกเขาคือการค้นหาสายพันธุ์ของลูกฉลาม โดยการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อและพันธุกรรมแบบสุ่ม จากนั้นเราจะทำการวัดรูปร่างหรือขนาดร่างกายทั้งหมด ซึ่งนักวิทยาศาสตร์หวังว่าการค้นพบที่ 'หายากมาก' จะเติมเต็มช่องว่างการวิจัยเกี่ยวกับสายพันธุ์ที่ลึกลับ

ขอบคุณที่มาจาก Reuters Mirror

ข่าวที่เกี่ยวข้อง