รีเซต

ภัยแล้งพ่นพิษ! ปริมาณน้ำในเขื่อนโคราช 27 แห่งลดฮวบ เหลือน้ำใช้ 38.92%

ภัยแล้งพ่นพิษ! ปริมาณน้ำในเขื่อนโคราช 27 แห่งลดฮวบ เหลือน้ำใช้ 38.92%
TNN ช่อง16
20 เมษายน 2567 ( 14:08 )
43
ภัยแล้งพ่นพิษ! ปริมาณน้ำในเขื่อนโคราช 27 แห่งลดฮวบ เหลือน้ำใช้ 38.92%

วันนี้ (20 เมษายน 2567) ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง รายงาน ลักษณะอากาศประจำวันว่า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัด มุกดาหาร อำนาจเจริญ นครราชสีมา ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี โดยคาดการณ์ว่า ในห้วงวันที่ 19-25 เมษายน 2567 อุณหภูมิสูงสุดจะเฉลี่ยอยู่ที่ 41-42 องศาเซลเซียส ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ร้อนจัด อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยอยู่ที่ 39-41 องศาเซลเซียสมาอย่างต่อเนื่อง


โดยที่จังหวัดนครราชสีมา อากาศจะร้อนถึงร้อนจัดมาต่อเนื่องเช่นกัน และในวันนี้ อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวตอนกลางวัน อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดจะอยู่ที่ 39 องศาเซลเซียส ซึ่งผลของสภาพอากาศที่ร้อนจัด ทำให้ปราณน้ำเก็บกับในอ่างเห็บน้ำต่างๆ ทั้ง 27 แห่งของจังหวัดนครราชสีมา ลดลงอย่างรวดเร็ว 


โดย 4 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ พบว่า 


-อ่างเก็บน้ำลำตะคอง เหลือน้ำเก็บกักปัจจุบัน อยู่ที่ 114.28 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 36.34% เป็นน้ำใช้การได้ 91.56 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 31.38 % 


-อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง เหลือน้ำเก็บกักอยู่ที่ 85.58 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 55.22 % เป็นน้ำใช้การได้ 84.88 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 55.01 % 


-อ่างเก็บน้ำมูลบน เหลือน้ำเก็บกักอยู่ที่ 60.90 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 43.20 % เป็นน้ำใช้การได้ 53.90 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 40.23 % 


-อ่างเก็บน้ำลำแชะ เหลือน้ำเก็บกักอยู่ที่ 106.80 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 38.84 % และเป็นน้ำใช้การได้ 99.80 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 37.24 %


ในขณะที่อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 23 แห่ง เหลือปริมาณน้ำเก็บกัก รวมอยู่ที่ 144.16 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 43.52 % เป็นน้ำใช้การได้ 119.13 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 38.91 % ซึ่งทำให้ประมาณน้ำเก็บกักภาพรวมทั้ง 27 แห่งของจังหวัดนครราชสีมา มีปริมาณรวมเหลือแค่ 511.75 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 42.06 % และเป็นน้ำใช้การได้เพียง 449.27 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 38.92 % ชลประทานต้องบริหารจัดการน้ำอย่างรัดกุม เน้นเพื่อการอุปโภคบริโภคก่อน และต้องมีอย่างเพียงพอตลอดหน้าแล้ง


ผู้สื่อข่าวได้รายงานเพิ่มเติมอีกว่า จากสภาพอากาศที่ร้อนจัด ปริมาณน้ำเก็บกักลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้หลายพื้นที่เริ่มประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะน้ำใช้เพื่อการเกษตร อย่างเช่นที่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา พบว่า ปริมาณน้ำในลำน้ำมูลลดระดับลงอย่างมาก จนบางจุดถึงขั้นแห้งขอด โดยลำจักราช ลำสาขาของลำน้ำมูล ที่บริเวณสนามแข่งเรือพิมาย น้ำแห้งเห็นสันดอนดินโผล่ขึ้นกลางลำน้ำ รวมทั้ง มีหญ้าและวัชพืชเริ่มขึ้นริมลำน้ำ ส่วนที่เขื่อนพิมาย ในโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาทุ่งสัมฤทธิ์ ก็พบว่า ปริมาณน้ำลำระดับลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน โดยด้านท้ายเขื่อน น้ำแห่งเห็นสันดอนดิน จนนกยางลงมาเดินหากินปลาขนาดเล็ก และซากหอย-ซากปูที่อาศัยในลำน้ำได้อย่างสะดวก ซึ่งทางเขื่อนฯ ปิดบานระบายเอาไว้ไม่มีการส่งจ่ายน้ำลงไปยังพื้นที่ท้ายเขื่อน เพื่อเก็บกักน้ำเอาไว้ให้นานที่สุด สงวนไว้ใช้ผลิตประปาแจกจ่ายให้ประชาชนในพื้นที่


เมื่อสอบถาม เกษตรกรรายหนึ่ง ชื่อ นายชาญ ชาวบ้านน้อย ต.ในเมือง อ.พิมาย จ.นครราชสีมา บอกว่า ปีนี้ภัยแล้งมาเร็ว ได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก พืชผลต่างๆ ทั้งมะนาว มะม่วง ใบแห้ง ขาดน้ำ ออกลูกมายังไม่ทันโต ก็ร่วงหล่นเกือบหมด ปลูกขนุนเอาไว้ก็เหี่ยวเฉาไม่มีน้ำรด น้ำลำมูลก็แห่ง น้ำคลองชลประทานก็ไม่มี ทำอะไรไม่ได้เลย ภัยแล้งปีนี้รุนแรงผิดปกติ ปีก่อนๆยังพอมีน้ำให้ได้รดต้นไม้บ้าง แต่ปีนี้แล้งจริงๆ ไม่มีน้ำทำการเกษตร พืชยืนต้นเหี่ยวเฉาเสียหายไปจำนวนมาก อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงมาดูและให้คำแนะนำช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาว่า ควรจะทำอย่างไรเพื่อจะบรรเทาปัญหาลงได้บ้าง เพราะกว่าจะถึงหน้าฝนก็อีกเป็นเดือน 


ตอนนี้ลำบากกันไปหมด น้ำจะให้วัวควายกินก็แทบจะไม่มีแล้ว ทั้งๆ ที่อยู่ในเขตตำบลในเมือง อำเภอพิมาย แต่อยู่ท้ายเขื่อน ถ้าพื้นที่ที่อยู่ห่างจากลำน้ำมูลมากกว่านี้ จะประสบความเดือดร้อนกันแค่ไหน จึงอยากให้ผันน้ำเก็บกักจากอ่างเก็บน้ำต่างๆ มาช่วยบรรเทาบ้าง ตอนนี้ยังพอมีน้ำประปามาให้ใช้บ้าง แต่ก็กังวลใจว่า ถ้าน้ำเก็บกักหมดจะทำยังไง จึงอยากให้ระบายน้ำจากเขื่อนต่างๆ มาเสริมเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านได้มีน้ำใช้อย่างเพียงพอจนกว่าจะถึงหน้าฝน .




ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง