รีเซต

ทำไม? ผู้โดยสารต้องยกกระเป๋าเอง "แอร์โฮสเตส" ไม่ช่วยผิดไหม

ทำไม? ผู้โดยสารต้องยกกระเป๋าเอง "แอร์โฮสเตส" ไม่ช่วยผิดไหม
TNN ช่อง16
27 สิงหาคม 2566 ( 08:07 )
139
ทำไม? ผู้โดยสารต้องยกกระเป๋าเอง "แอร์โฮสเตส" ไม่ช่วยผิดไหม

ทำไม? ผู้โดยสารต้องยกกระเป๋าเอง "แอร์โฮสเตส" ไม่ช่วยยกผิดไหม เปิดข้อบังคับคณะกรรมการการบินพลเรือน ฉบับที่ 69

 

จากรณี เฟซบุ๊ก เบ๊น อาปาเช่ (Benz Apache - เบ๊น อาปาเช่) ได้โพสต์เรื่องราวเกี่ยวกับกลุ่มคนไทยโวย "แอร์โฮสเตส" เหตุไม่ช่วยยกกระเป๋าบนเครื่อง สุดท้ายถูกเชิญลงจากเครื่อง ซึ่งผู้โดยสารมีการใช้ถ้้อยคำที่ไม่เหมาะสม 

 

อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวทำให้มีชาวเน็ตเข้ามาคอมเมนต์กันอย่างต่อเนื่อง บ้างก็บอกว่า ก็เคยขอให้แอร์ช่วยยก เพราะตอนนั้นผ่าตัดมา ถ้าเคสช่วยต้วเองไม่ได้ แอร์ก็ช่วยยกนะคะ ปล.ไม่ได้ให้แอร์ยกเองหมด เรายกด้วย เค้าก็ช่วยพยุง , ยังมีคนเข้าใจผิดเยอะมาก ว่าแอร์มีหน้าที่ยกกระเป๋าให้ , แอร์ไม่ได้มีหน้าที่ยกกระเป๋า มีมือมีเท้าก็ยกกันเอง ไม่ได้หนักมาก สงสารคนทำงานด้วย แอร์แค่บริการผู้โดยสารบนเครื่องก็เหนื่อยจะแย่แล้ว ใจเค้าใจเรา หวังว่าจะคิดได้

 

ไขข้อข้องใจ "ทำไมผู้โดยสารถึงต้องยกกระเป๋าเอง" ปัญหาเรื้อรังอันดับหนึ่งที่ลุกเรือและผู้โดยสารทุกคนต้องแชร์

โดยเพจเฟซบุ๊ก Cabin Crew Club : สมาคมลูกเรือไทย ได้เคยโพสต์ข้อความเกี่ยวกับกระเป๋าเดินทางไว้ดังนี้ "เพราะสัมภาระติดตัว ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้โดยสารทุกคน ตามที่ระบุไว้ใน "ข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน ฉบับที่ 69" ว่าด้วยข้อกำหนดเกี่ยวกับสัมภาระติดตัวผู้โดยสาร ซึ่งหากผู้โดยสารไม่สะดวกในการจัดเก็บด้วยตนเอง ก็สามารถฝากสัมภาระไว้ที่ใต้ท้องเครื่องได้ก่อนขึ้นเครื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับตัวท่านเอง

 

ผู้โดยสารมีหน้าที่จัดเก็บสัมภาระติดตัวในห้องโดยสารอากาศยานและต้องปฏิบัติ ตามคำสั่งเจ้าหน้าที่ประจำอากาศยานเกี่ยวกับการจัดเก็บสัมภาระติดตัวดังกล่าว"

 

 

ภาพจาก Cabin Crew Club : สมาคมลูกเรือไทย

 

 

ภาพจาก ราชกิจจาฯ

 

 

 

 

รู้จัก พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน  

 

พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ถ้าเป็นภาษาปาก ผู้ชายอาจเรียกว่า สจ๊วต หรือ แอร์โฮสต์ ส่วนผู้หญิงอาจเรียกว่า สจ๊วตเดส, แอร์โฮสเตส หรือ นางฟ้า คือ ผู้พิทักษ์ความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสารบนอากาศยาน โดยมีหน้าที่ต่าง ๆ เช่น คอยดูแลช่วยเหลือผู้โดยสารในกรณีฉุกเฉิน รับผิดชอบตรวจเช็คอุปกรณ์ประจำเครื่องตามจุดต่าง ๆ เช่น ถังออกซิเจน เครื่องดับเพลิง ไฟฉาย หน้ากากออกซิเจน และเสื้อชูชีพ สำหรับสาธิตให้ผู้โดยสาร ฯลฯ ให้ครบถ้วนถูกต้องตามรายการ และอยู่ในสภาพใช้การได้

นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการให้บริการแก่ผู้โดยสาร เช่น การเตรียมอาหาร การเสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่ม การให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้โดยสารที่เจ็บป่วย การจัดหาที่นั่งให้กับผู้โดยสาร ตรวจดูให้ผู้โดยสารรัดเข็มขัดก่อนเครื่องบินขึ้นหรือลง แจกสิ่งพิมพ์ให้ผู้โดยสารอ่าน และดูแลรักษาความสะอาดเรียบร้อย ในห้องผู้โดยสาร และห้องน้ำ เป็นอาทิ

 

 

 

 

 

ที่มา TNN รวมรวม / wikipedia / Cabin Crew Club : สมาคมลูกเรือไทย

ภาพจาก TNN Online

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง