รีเซต

กุมารแพทย์ จับตา "ไข้หวัดมะเขือเทศ" หลังพบเด็กยุคโควิดมีภูมิคุ้มกันต่ำลง

กุมารแพทย์ จับตา "ไข้หวัดมะเขือเทศ" หลังพบเด็กยุคโควิดมีภูมิคุ้มกันต่ำลง
TNN ช่อง16
30 สิงหาคม 2565 ( 13:03 )
92
กุมารแพทย์ จับตา "ไข้หวัดมะเขือเทศ" หลังพบเด็กยุคโควิดมีภูมิคุ้มกันต่ำลง

กุมารแพทย์ เผย จับตาโรค "ไข้หวัดมะเขือเทศ" แม้ยังไม่พบผู้ป่วยเด็กในไทย ชี้ หลังเกิดโรคโควิด-19 พบว่า มีโรคอื่นๆ ที่แปลกไปจากเดิม และมีความเชื่อมโยงกับภูมิคุ้มกันร่างกายที่เปลี่ยนไป

วันนี้ (30 ส.ค.65) รองศาสตราจารย์พิเศษ แพทย์หญิง วารุณี พรรณพานิช วานเดอพิทท์ กุมารแพทย์ด้านโรคติดเชื้อสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ ระบุถึงกรณีโรค "ไข้หวัดมะเขือเทศ" หรือ "Tometo Flu" ว่า ตอนนี้สถานการณ์โรคยังไม่ชัดเจน และยังไม่มีชื่อเรียกทางการแพทย์อย่างเป็นทางการ เพราะอยู่ระหว่างรอข้อมูลจากประเทศอินเดีย

ขณะที่สถานการณ์ในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติฯ จากการคัดกรองผู้ป่วยเด็ก พบว่า ยังไม่พบเด็กที่ป่วยเข้าข่ายตามข้อบ่งชี้ ของโรคไข้หวัดมะเขือเทศ แต่ ปัจจัยที่ทำให้ทั่วโลกเฝ้าระวังโรคไข้หวัดมะเขือเทศ เพราะว่า มีอาการของโรคไข้หวัดมะเขือเทศดูแปลกไปจากโรคมือเท้าปาก 

เนื่องจากอาการอาจจะสัมผัสกับโรคอื่นๆ เช่น โรคโควิด-19 อย่างไรก็ตาม หลังเกิดโรคโควิด-19 พบว่า มีโรคอื่นๆ ที่แปลกไปจากเดิม และมีความเชื่อมโยงกับภูมิคุ้มกันร่างกายที่เปลี่ยนไปเช่น ภาวะมิสซี หรือ ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันในร่างกาย หรือ มีโรคภาวะตับอักเสบรุนแรง

ทั้งนี้ ในช่วงโควิด-19 เด็กต้องหยุดเรียน ทำให้ต้องอยู่แต่ในบ้านทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายของเด็กที่ต้องตอบสนองของสภาพแวดล้อมลดลง ประกอบกับหากเด็กได้ติดเชื้อโควิด-19 และมีซากเชื้ออยู่ในร่างกายเป็นเวลานาน 

และภูมิคุ้มกันถูกกระตุ้นอย่างต่อเนื่องอาจจะส่งผลให้การแสดงของโรคจากเดิมเปลี่ยนแปลงไป ทำให้จำเป็นต้องเฝ้าระวังต่อไป

เบื้องต้นพบว่า ที่ประเทศอินเดีย มีผู้ป่วยเข้าข่าย 82 ราย ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ปลายเดือนกรกฎาคม แต่มาพบข้อมูลที่ชัดเจนจากการตรวจจำเพาะ กรณีผู้ติดเชื้อ 2 พี่น้องที่เดินทางจากอินเดียไปประเทศอังกฤษซึ่งผลการตรวจเชื้อไวรัสของเด็ก ทั้ง 2 ราย พบ เป็นเชื้อคอกแซคกี A16 (Coxsackie A16) ซึ่งเป็นลักษณะของโรคที่แปลกไปจากโรคมือเท้าปาก

สำหรับอาการเข้าข่ายของ "โรคไข้หวัดมะเขือเทศ" เช่น มีไข้ ผื่นขึ้นตามตัว แต่จะมีลักษณะตุ่มที่ใหญ่กว่ามือเท้าปาก ปวดข้อ ข้อบวม โดยตุ่มจะมีลักษณะสีแดงๆ เป็นก้อนนู้นคล้ายลูกมะเขือเทศ เบื้องต้นพบว่า อาการไม่รุนแรง รักษาหายได้ เป็นการรักษาตามอาการ.


ภาพจาก แฟ้มภาพ TNN ONLINE 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง