รีเซต

ฝุ่น PM2.5 ภัยร้ายใกล้ตัวทำลายสุขภาพ

ฝุ่น PM2.5 ภัยร้ายใกล้ตัวทำลายสุขภาพ
TNN ช่อง16
12 พฤศจิกายน 2567 ( 20:11 )
19
ฝุ่น PM2.5 ภัยร้ายใกล้ตัวทำลายสุขภาพ

ช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ต่อเนื่องข้ามปีไปถึงต้นพฤษภาคมของปีถัดไป เป็นช่วงที่ ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะฝุ่นจิ๋ว หรือฝุ่น PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน ประชาชนจึงต้องเตรียมรับมือกับสถานการณ์และป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นได้ 

มีข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เตือนให้รับมือกับภัยสุขภาพในช่วงที่เข้าสู่ฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงลมเปลี่ยนทิศ ทำให้ฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือฝุ่น PM 2.5 ลอยต่ำและปกคลุมในบางวันที่สภาพอากาศปิด โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานครที่นอกจากสภาพอากาศปิดยังมาจากอีกหลายปัจจัยทั้งฝุ่นควันจากการจราจร การก่อสร้างเป็นต้น  


โดยฝุ่น PM2.5 มีขนาดเล็กมากเพียง 1 ส่วน 25 ( 1/25) ของเส้นผมเท่านั้น ถ้าหากสูดเข้าไปจะมีอาการดังนี้ ไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล เคืองตา น้ำตาไหล คันคอ



 อันตรายจากฝุ่น PM2.5 ที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ จะเกิดการระคายเคืองจมูก มีน้ำมูก ไอ เจ็บคอ /ภูมิแพ้กำเริบ /หอบหืดกำเริบ /ปอดอักเสบติดเชื้อง่ายขึ้น /เพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งปอด และโรคหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ 



วิธีป้องกัน อันตรายจากฝุ่น PM2.5 

->ควรลดเวลาการอยู่นอกบ้านหรืออาคาร โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคภูมิแพ้ โรคปอด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง 

->สวมหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ หรือสวมหน้ากาก N95 เมื่อออกจากบ้าน 

->ในบ้านหรืออาคาร ควรใช้เครื่องฟอกอากาศ ที่สามารถกรองฝุ่น PM2.5 ได้ 

->หลีกเลี่ยงการออกไปทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายกลางแจ้ง



นอกจากนี้ยังมีข้อมูลคำเตือนจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ขอให้ประชาชนติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้านผ่านทางแอปพลิเคชัน “Air4Thai” หรือ “AirBKK”  หากฝุ่นเกินค่ามาตรฐาน หรืออยู่ในระดับสีส้มควรมั่นสังเกตตนเองและบุคคลในครอบครัว


หากพบอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย หายใจลำบาก หายใจไม่ออก  ใจสั่น หายใจถี่ หายใจมีเสียงวี้ด แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก คลื่นไส้ เมื่อยล้าผิดปกติ  และวิงเวียนศีรษะ ให้รีบไปพบแพทย์  หรือสามารถเข้าประเมินอาการตนเองได้ที่ 4healthPM2.5 เพื่อประเมินอาการและรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น หรือหากมีอาการผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที หรือโทรสายด่วน กรมอนามัย 1478



ข้อมูล : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 

กราฟิก : TNN


ข่าวที่เกี่ยวข้อง