รีเซต

กสิกรไทย-ลอมบาร์ด คงมุมมองบวกเศรษฐกิจโลก เชื่อกำลังเข้าสู่วัฏจักรที่เติบโตในอัตราปกติ - แนะ 7 กลยุทธ์ลงทุน

กสิกรไทย-ลอมบาร์ด คงมุมมองบวกเศรษฐกิจโลก เชื่อกำลังเข้าสู่วัฏจักรที่เติบโตในอัตราปกติ - แนะ 7 กลยุทธ์ลงทุน
ข่าวสด
1 ตุลาคม 2564 ( 18:42 )
107

ข่าววันนี้ นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ ไพรเวทแบงก์กิ้ง กรุ๊ปเฮด ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า แม้ตลอดปี 2564 มีหลายเหตุการณ์และความเคลื่อนไหวสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของดัชนี MSCI All Country World Index แต่เคแบงก์ ไพรเวทแบงก์กิ้ง และ ลอมบาร์ด โอเดียร์ ผู้ให้บริการบริหารความมั่งคั่งระดับโลกจากสวิตเซอร์แลนด์และยังคงมุมมองบวกต่อภาพรวมเศรษฐกิจโลกในอีกหลายไตรมาสและหลายปีต่อจากนี้

 

อย่างไรก็ดี แนวโน้มเศรษฐกิจกำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัวหลังเปิดเมือง โดยการลงทุนระยะยาวผ่านการกระจายการลงทุนในหลายสินทรัพย์เพื่อลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนในระยะสั้น อีกทั้ง ยังคงปรับกลยุทธ์และคำแนะนำการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พอร์ตการลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ โดยเน้นการลงทุนหุ้นในธีม Policy Driven for Better World ที่จะได้รับอานิสงส์จากแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และ เทรนด์ธุรกิจรักษ์โลก รวมถึงธีม Laggard and Cyclical Upturns ที่เน้นการลงทุนในอุตสาหกรรม หรือ บริษัทที่ได้รับประโยชน์จากการเปิดเมือง และ ภูมิภาคที่ราคาหุ้นยังไม่ปรับขึ้นมากเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น เช่น ญี่ปุ่น

 

ด้านน.ส.ศิริพร สุวรรณการ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มงานที่ปรึกษาทางการเงินไพรเวทแบงก์กิ้ง สายงานธุรกิจบริการไพรเวทแบงค์ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า วัฏจักรของเศรษฐกิจโลกไม่ได้อยู่ในภาวะอันตราย เชื่อว่าเศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่วัฏจักรที่เติบโตในอัตราปกติ หลังจากที่ฟื้นตัวจากวิกฤตมาแล้ว โดยมี 7 เหตุผลหลักสนับสนุน คือ

 

 

 

1. เศรษฐกิจฟื้นตัวกลับเข้าสู่แนวโน้มก่อนโควิด อัตราการเติบโตกลับสู่ระดับปกติ วัฎจักรกลับสู่สภาวะที่มั่นคงขึ้น


2. จุดสูงสุดของโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้ผ่านพ้นไปแล้ว เชื่อว่าโลกเรากำลังเดินหน้าไปยังเป้าหมายที่ถูกต้อง ด้วยการเร่งฉีดวัคซีนในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ต่อจากนี้

 

3. พื้นฐานภาคธุรกิจแข็งแกร่ง กำไรสูงกว่าคาด บริษัทมีความสามารถในการลงทุน จ้างงาน ในขณะที่มีความต้องการใช้จ่ายรออยู่ กำไรของบริษัทในสหรัฐฯ อยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์ เช่นเดียวกับในยุโรป และบางประเทศในเอเชีย จะช่วยสนับสนุนตลาดแรงงานให้แข็งแกร่ง ค่าจ้างก็มีแนวโน้มที่ปรับสูงขึ้น นำไปสู่การบริโภคที่เพิ่มขึ้น ภาคการบริโภคยังได้รับอานิสงส์จากอุปสงค์ที่อั้นไว้ โดยการจับจ่ายใช้สอยสินค้าในสหรัฐฯ อยู่ในระดับสูงกว่าก่อนโควิด-19 และต่อจากนี้จะเปลี่ยนแรงขับเคลื่อนเป็นการใช้จ่ายด้านบริการแทน

 

4. นโยบายการคลังขนานใหญ่ของรัฐบาลทั่วโลกยังสนับสนุนเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

 

5. ความกังวลในเรื่องเงินเฟ้อผ่อนคลายลง จึงจะไม่กดดันธนาคารกลางให้รีบขึ้นดอกเบี้ย


6. การปรับลดการสนับสนุน จากนโยบายการเงินจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป และมีความยืดหยุ่นก็จะยังหนุนเศรษฐกิจต่อไปได้

 

และ 7. จีนมีศักยภาพด้านการเงินและการคลังเพียงพอในการใช้เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะตกต่ำอย่างรุนแรง แม้ว่าในช่วงหลังจะมีประเด็นผิดนั

 

ดชำระหนี้ของ ไชน่าเอเวอร์แกรนด์ ก็ตาม แต่ลอมบาร์ด โอเดียร์ ก็เชื่อว่าเศรษฐกิจจีนจะไม่หดตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากทางการจีนยังมีเครื่องมืออีกมากที่ช่วยหนุนเศรษฐกิจได้ ทั้งนโยบายการเงิน และนโยบายการคลัง เพื่อที่จะสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ทำให้กิจกรรมเศรษฐกิจจีนชะลอลงแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือซอฟต์ แลนด์ดิ้งแทน

 

ขณะที่นายตรีพล ภูมิวสนะ ผู้บริหารกลุ่มธุรกิจบริการไพรเวทแบงค์ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า จากมุมมองต่อเศรษฐกิจโลกว่ากำลังเติบโตช้าลง เพื่อเข้าสู่การขยายตัวในระดับปกติ หลังจากฟื้นตัวอย่างรวดเร็วก่อนหน้านี้ แนะนำ 7 กลยุทธ์การลงทุน ได้แก่ คงมุมมองบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะหุ้นที่มีราคาถูก และ หุ้นกลุ่มวัฏจักร ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ยังคงดี และ แนวโน้มผลตอบแทนพันธบัตรขาขึ้น จะยิ่งช่วยหนุนหุ้นกลุ่มวัฏจักรและ หุ้นที่มีราคาถูกให้ไปต่อได้ ซึ่งยุโรปจะเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่จะได้ประโยชน์จากหุ้นกลุ่มนี้

 

 

 

อีกทั้งยังเชื่อว่าหุ้นยุโรปจะยังปรับตัวขึ้นได้ต่อ หลังการเลือกตั้งในเยอรมนี จะสนับสนุนหุ้นยุโรปและค่าเงินยูโร จากปัจจัยบรรยากาศการลงทุนหลังการ รวมถึงแผนปฏิรูปสีเขียวของยุโรปจะสร้างโอกาสการลงทุนอีกมาก แต่ทั้งนี้ยังคงระมัดระวังในพันธบัตรรัฐบาล ซึ่ง ลอมบาร์ด โอเดียร์ คาดว่าเฟดจะเริ่มลดสินทรัพย์ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อเดือน ในเดือนธ.ค.ปีนี้-มิ.ย.ปีหน้า จึงมองว่าผลตอบแทนพันธบัตรจะปรับขึ้นสู่ระดับ 2.25% ในเดือนมิ.ย. 2565 จากระดับปัจจุบันที่ 1.5%

 

สำหรับการลงทุนในจีนจะให้ผลตอบแทนที่โดดเด่น โดยลอมบาร์ด โอเดียร์ ประเมินว่าภาคธนาคารจีนมีความแข็งแกร่งพอที่จะทนทานต่อการผิดนัดชำระหนี้ของ ไชน่า เอเวอร์แกรนด์ ได้ ไม่ซ้ำรอยวิกฤตเลห์แมน บราเธอร์ส เนื่องจากมองว่า รัฐบาลจีนมีเครื่องมือเพียงพอที่จะช่วยพยุงไม่ให้ส่งกระทบในวงกว้าง

 

นอกจากนี้ ตราสารหนี้จีนทั้งพันธบัตรรัฐบาล และหุ้นกู้เอกชนบริษัทที่มีความแข็งแกร่งเป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว โดยให้ผลตอบแทนมากกว่าตราสารหนี้สหรัฐ ที่มีอายุเท่ากันถึง 1.5% ถือว่าสูงมากในภาวะดอกเบี้ยต่ำ รวมถึงค่าเงินหยวนมีแนวโน้มแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ อีกด้วย ขณะเดียวกันให้ใช้โอกาสที่ตลาดถูกเทขายในการลงทุนในหุ้นจีนเมื่อ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมองสินทรัพย์นอกตลาดในการเพิ่มเติมผลตอบแทนให้สูงขึ้น แม้ว่าจะต้องแลกกับสภาพคล่องที่ต่ำ เนื่องจากสินทรัพย์ในตลาดขณะนี้จะให้ผลตอบแทนน้อยกว่าเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว ฉะนั้นนักลงทุนที่สามารถลงทุนระยะยาวได้ หุ้นนอกตลาดสามารถให้ผลตอบแทนมากกว่าหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ถึง 2.7%

 

ส่วนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานได้ประโยชน์จากเงินทุนที่ไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง และนโยบายภาครัฐที่ปรับเพิ่มตั้งแต่ปี 2553 นอกจากนี้ เม็ดเงินลงทุนเร่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สนับสนุนแผนการลงทุนของ นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐ มูลค่ากว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านราคาของโครงสร้างพื้นฐานยังปรับขึ้นน้อยกว่าตลาดหุ้น ทำให้คาดว่าจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่โดดเด่นได้ในระยะข้างหน้า รวมถึงบริษัทที่สามารถปรับตัวกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ จะให้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคต

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง