ศึกษาพบ 'กาแล็กซี' ยุ่งเหยิงมากขึ้นตามอายุ
(ภาพจากองค์การวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งเครือจักรภพ : กล้องโทรทรรศน์วิทยุแอสแคป (ASKAP) ในออสเตรเลีย วันที่ 1 ธ.ค. 2020)
ซิดนีย์, 9 เม.ย. (ซินหัว) -- โครงการที่นำโดยศูนย์วิจัยเอสโทร 3ดี (ASTRO 3D) ของออสเตรเลีย ระบุว่าอายุของกาแล็กซีเป็นหนึ่งในปัจจัยขับเคลื่อนการโคจรของดาวฤกษ์ภายในกาแล็กซีที่สำคัญที่สุด และการเรียงตัวของดวงดาวจะเริ่มยุ่งเหยิงมากขึ้นตามอายุของกาแล็กซีที่เพิ่มขึ้นการศึกษาที่เผยแพร่ลงในวารสารรายเดือนของราชสมาคมดาราศาสตร์เมื่อไม่นานนี้ กล่าวว่ากลุ่มนักวิจัยนานาชาติได้ทำการวิเคราะห์ผ่านการสังเกตการณ์โดยใช้อุปกรณ์สำรวจกาแล็กซีซามิ (SAMI Galaxy Survey) ซึ่งครอบคลุมกาแล็กซีมากกว่า 3,000 แห่งในสภาพแวดล้อมหลากหลาย และพบว่าอายุหรืออัตราการก่อตัวของดาวฤกษ์จำเพาะ (SSFR) เป็นตัวแปรหลักที่สัมพันธ์กับการหมุนรอบตัวเองเมื่อวันจันทร์ (8 เม.ย.) เจสซี่ ฟาน เดอ ซานเด นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวเซาธ์เวลส์ กล่าวว่าเรารู้ว่าอายุเป็นผลกระทบจากสภาพแวดล้อม เนื่องจากถ้ากาแล็กซีอยู่ในสภาพแวดล้อมที่หนาแน่นมาก มีแนวโน้มว่ามันจะยุติการก่อตัวของดาวฤกษ์ กาแล็กซีในสภาพแวดล้อมที่มีความหนาแน่นมากจึงมีอายุเก่าแก่กว่าโดยเฉลี่ยรายงานระบุว่าจุดสำคัญของการวิเคราะห์ครั้งนี้คือกาแล็กซีไม่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความหนาแน่นมากจนส่งผลให้การหมุนรอบตัวลดลง แต่ความจริงคือพวกมันแก่ขึ้น กาแล็กซีอายุน้อยมักมีดาวฤกษ์หมุนตัวอยู่อย่างเป็นระเบียบ ทว่าการเคลื่อนไหวของดาวฤกษ์จะยุ่งเหยิงมากขึ้นในกาแล็กซีที่มีอายุแก่กว่าแม้ผลการศึกษาก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่บ่งชี้ว่าสภาพแวดล้อมหรือมวลมีบทบาทสำคัญมากกว่า แต่การศึกษาใหม่ของเอสโทร 3ดี ถือเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงความเข้าใจของผู้คนเกี่ยวกับความยุ่งเหยิงภายในโครงสร้างกาแล็กซี