รีเซต

จีนพบฟอสซิล 'ไดโนเสาร์หุ้มเกราะ' สายพันธุ์ใหม่ในเจียงซี

จีนพบฟอสซิล 'ไดโนเสาร์หุ้มเกราะ' สายพันธุ์ใหม่ในเจียงซี
Xinhua
3 มีนาคม 2567 ( 18:09 )
34
จีนพบฟอสซิล 'ไดโนเสาร์หุ้มเกราะ' สายพันธุ์ใหม่ในเจียงซี

(แฟ้มภาพซินหัว : ฟอสซิลของอิงเหลียง ต๋าไท่หลง ไดโนเสาร์หุ้มเกราะสายพันธุ์ใหม่ ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2024)

ปักกิ่ง, 3 มี.ค. (ซินหัว) -- "อิงเหลียง ต๋าไท่หลง" (Datai yingliangis) คือชื่อที่นักวิจัยได้ตั้งให้แก่ไดโนเสาร์หุ้มเกราะสายพันธุ์ใหม่ที่มีการขุดพบตัวอย่างจำนวน 2 ชิ้น ในมณฑลเจียงซีทางตะวันออกของจีน 

รองศาสตราจารย์สิงลี่ต๋า จากมหาวิทยาลัยธรณีศาสตร์แห่งประเทศจีน วิทยาเขตปักกิ่ง ระบุว่าการค้นพบไดโนเสาร์ครั้งใหม่นี้ เป็นการค้นพบเพิ่มเติมที่สำคัญจากบันทึกการค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์แองไคโลซอรัส (Ankylosaurine) ซึ่งเป็นไดโนเสาร์หุ้มเกราะที่โดดเด่นในในช่วงแรกของยุคครีเทเชียสตอนปลาย (Late Cretaceous)

ตัวอย่างทั้ง 2 ชิ้นเป็นของไดโนเสาร์ระยะใกล้โตเต็มวัย (subadult) โดยแต่ละชิ้นมีความยาวลำตัว 3.5-4 เมตร และมีเขาอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ข้างแก้ม

กระดูกสันหลังคอปล้องที่สามและสี่ของไดโนเสาร์ตัวนี้ถูกตัดทับด้วยซากชิ้นส่วนฟอสซิลทรงโค้งเป็นโพรงสองชิ้นที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 2 เซนติเมตร ซึ่งรองศาสตราจารย์สิงลี่ต๋าอธิบายว่าโดยทั่วไปแล้วซากลักษณะนี้คล้ายกับตัวอย่างทางชีวภาพของโพรงที่สัตว์จำพวกหอยและปลาหมึกหรือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ ทิ้งร่องรอยไว้ดังที่เคยพบในอดีต ซึ่งอาจเป็นเพียงการขุดรูในชั้นตะกอน และเข้ามาใกล้กับซากฟอสซิลของต๋าไท่หลง และคาดว่าพวกมันไม่น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการย่อยสลายของซากไดโนเสาร์นี้

สิงลี่ต๋า เสริมว่าสิ่งที่น่าสนใจคือตัวอย่างไดโนเสาร์ทั้ง 2 ตัวนี้ ถูกพบในลักษณะทับซ้อนกัน ซึ่งเชื่อว่าเกิดขึ้นตอนที่พวกมันกำลังทุกข์ทรมานจากการโดนฝังอยู่ในทรายที่พัดมาทับถมอย่างรวดเร็ว และอาจเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางสังคมของไดโนเสาร์แองไคโลซอรัส

อนึ่ง การศึกษาดังกล่าวเผยแพร่ในวารสารเวอร์เทเบรท อนาโตมี มอร์โฟโลจี พาเลนโทโลจี (Vertebrate Anatomy Morphology Palaeontology)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง