รีเซต

ประวัติ 'วันต่อต้านยาเสพติดโลก' 26 มิถุนายน ของทุกปี

ประวัติ 'วันต่อต้านยาเสพติดโลก' 26 มิถุนายน ของทุกปี
TrueID
26 มิถุนายน 2566 ( 10:14 )
2.5K
ประวัติ 'วันต่อต้านยาเสพติดโลก' 26 มิถุนายน ของทุกปี

'วันต่อต้านยาเสพติดโลก' วันที่ 26 มิถุนายน นอกจากวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี จะเป็นวันแห่งการระลึกถึงกวีเอกของสยามประเทศอย่าง "วันสุนทรภู่" แล้ว ยังถูกกำหนดให้เป็น "วันต่อต้านยาเสพติดโลก" อีกด้วย

 

วันต่อต้านยาเสพติดโลก

เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ปัญหายาเสพติด เป็นปัญหาสำคัญที่ก่อภัยมหันต์ต่อมนุษยชาติทั่วโลก เพราะไม่เพียงแต่ยังบั่นทอนสุขภาพเท่านั้น แต่มันยังทำลายสติสัมปชัญญะ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่มนุษย์พึงมีออกไปเสียด้วย...ทุกประเทศทั่วโลกต่างพยายามร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว "สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ" จึงได้มีมติกำหนดให้ วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี เป็น "วันต่อต้านยาเสพติดโลก"

 

ประวัติวันต่อต้านยาเสพติดโลก

  • ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ตามประกาศตามมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UNGA) เป็นวันสำคัญสากล เพื่อต่อต้านการใช้ยาในทางผิด และค้ายาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
  • โดยหมายความถึงยาเสพติด ยึดถือเป็นวันสำคัญประจำปีมาตั้งแต่การประกาศเมื่อ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) เหตุที่กำหนดวันที่นี้เพื่อเป็นที่ระลึกแก่การถอนสัมปทานการค้าฝิ่น
  • โดยนายอำเภอ หลิน เจ๋อสวี (林則徐) ตำบลหู่เหมิน มณฑลกวางตุ้ง ก่อนสงครามฝิ่น (虎门销烟) ครั้งแรก สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ มีมติที่ 41/111เริ่มสอดส่องสังเกตสถานการณ์ยาเสพติดทั่วโลกเมื่อ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987)
  • รายงานของสหประชาชาติว่าด้วยการใช้ยาเสพติดทั่วโลก ประเมินมูลค่าการค้ายาในทางที่ผิดถึง 322 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี

 

วันต่อต้านยาเสพติดโลก ในประเทศไทย

  • สำหรับประเทศไทยเอง ก็เป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ที่ได้แสดงเจตนารมณ์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกับประเทศสมาชิกอื่นๆ ทั่วโลก
  • ด้วยการจัดกิจกรรมเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดเป็นประจำเสมอมา เพื่อเป็นการย้ำเตือนให้ประชาชนไทยเกิดความตระหนักถึงปัญหายาเสพติด และทุกคนควรมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาช้านาน
  • จนกระทั่งใน พ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติภายใต้การนำของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 37 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2501 ให้เลิกการสูบฝิ่นทั่วราชอาณาจักร
  • โดยมีการเผาทำลายฝิ่นและอุปกรณ์การสูบฝิ่นที่ท้องสนามหลวง ในคืนวันที่ 30 มิถุนายน 2502 หลังจากนั้นปี พ.ศ. 2504 รัฐบาลได้จัดตั้ง "คณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดให้โทษ" ใช้ชื่อย่อว่า ปปส. สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดยมีอธิบดีกรมตำรวจเป็นประธาน และมีผู้แทนจากทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ
  • ต่อมาในสมัยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรีรัฐบาลได้เล็งเห็นว่า การปราบปรามยาเสพติดไม่สามารถแก้ไขได้โดยการดำเนินการเฉพาะกรมตำรวจฝ่ายเดียว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ต่อสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน และประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2519
  • พระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดหรือเรียกชื่อย่อว่า ป.ป.ส. โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และจัดตั้งสำนักงาน ป.ป.ส. ขึ้นเป็นหน่วยงานกลางรับผิดชอบโดยตรง มีฐานะเป็นกรม กรมหนึ่งในสำนักนายกรัฐมนตรี
  • ปัจจุบันสำนักกระทรวงยุติธรรม ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต่อมา สำนักงาน ป.ป.ส. ได้นำมติเรื่องวันต่อต้านยาเสพติดขององค์การสหประชาชาติเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2531 ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันต่อต้านยาเสพติดโดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา

 

วัตถุประสงค์ของ "วันต่อต้านยาเสพติดโลก"

1. เพื่อให้ประชาชน ชุมชน เยาวชน และหน่วยงานภาคี รับรู้และเห็นถึงความสำคัญของวันต่อต้านยาเสพติด ในการที่จะร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด

2. เพื่อแสดงให้เห็นถึงพลังความสามัคคีของคนในชาติ ที่ร่วมเป็น “พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด”

3. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายในทุกภาคส่วนของสังคมเกิดความตระหนักถึงภัยจากยาเสพติดและเข้าร่วมในการ แก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อการเอาชนะยาเสพติดให้ได้ผลอย่างยั่งยืน

4. เพื่อให้วันที่ 26 มิถุนายน เป็นวันที่แสดงถึงสัญลักษณ์ของการผนึกกำลังของคนในชาติ เพื่อร่วมแก้ไข ปัญหายาเสพติดให้หมด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ที่มา : ป.ป.ส.

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง