รีเซต

GPSCกำไรกระฉูด188% รับรู้ GLOW เต็ม9เดือน

GPSCกำไรกระฉูด188% รับรู้ GLOW เต็ม9เดือน
ทันหุ้น
6 พฤศจิกายน 2563 ( 08:00 )
199
GPSCกำไรกระฉูด188% รับรู้ GLOW เต็ม9เดือน

ทันหุ้น –สู้โควิด –GPSC โชว์งบไตรมาส 3/2563 กำไรกระฉูด 188.31% ที่ 2,574.38 ล้านบาท ส่งผลให้ 9 เดือนแรกมีกำไรสุทธิ 6,050.24 ล้านบาท โต 107.46% ผลจากการรับรู้ผลประกอบการจาก GLOW เต็ม 9 เดือน และโรงไฟฟ้าไซยะบุรี พร้อมเดินหน้าขยายโครงการใหม่ๆ ต่อเนื่อง

 

นางวนิดา บุญภิรักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC เปิดเผยว่า ในไตรมาส 3/2563 บรัทมีกำไรสุทธิ 2,574.38 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 188.31% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 892.91 ล้านบาท ขณะที่ 9 เดือนแรกปี 2563 มีกำไรสุทธิ 6,050.24 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 107.46% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 2,916.23 ล้านบาท จากการรับรู้ผลประกอบการจาก GLOW เต็ม 9 เดือน ในปี2563 ในขณะที่ในปี 2562 รับรู้รายได้จาก GLOW เพียง 18 วัน ในไตรมาสที่ 1 และเต็มไตรมาสในไตรมาสที่่ 2 และไตรมาส 3 รวมถึงกำไรจากการลงทุนในโครงการไซยะบุรี

 

ขณะที่กำไรขั้นต้นในไตรมาส 3/2563 ของโรงไฟฟ้า IPP ลดลง เนื่องจากรายได้ค่าความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้าเก็คโค่วันลดลง จากการหยุดซ่อมบำรุง 8.5 วัน ประกอบกับโรงไฟฟ้าห้วยเหามีปริมาณการขายไฟฟ้าที่ลดลงจากสภาวะภัยแล้งในปี 2563

 

กำไรขั้นต้นของโรงไฟฟ้า SPP เพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติที่ปรับตัวลดลง ถึงแม้ว่าจะมีการปรับค่า Ft ลงในเดือนกันยายนปี 2563 และปริมาณการขาย ไฟฟ้าให้กับ EGAT และปริมาณการขายไฟฟ้าและไอน้ำให้กับลูกค้าอุตสาหกรรมจะลดลงก็ตาม

 

กำไรขั้นต้นของโรงไฟฟ้า VSPP และอื่นๆ เพิ่มขึ้น 81 ล้านบาท จากการรับรู้รายได้ของบริษัท โกลบอล รีนิวเอเบิล เพาเวอร์จำกัด (GRP) ภายหลังการเข้าซื้อกิจการเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563

 

*เดินหน้าขยายโครงการใหม่

 

สำหรับแผนการขยายการลงทุน บริษัทมุ่งเน้นการขยายการลงทุนด้านนวัตกรรมเพื่อสร้างรายได้จากธุรกิจในรูปแบบใหม่ทีเป็น New S-Curve เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของการทาธุรกิจพลังงานและธุรกิจไฟฟ้าในอนาคต และเป็นผู้นำด้าน Energy Solution Provider ของกลุ่ม ปตท. ผ่านการ โดยผู้บริหาร จะมุ่งเน่น ดำเนินการพัฒนาธุรกิจใหม่ 3 ส่วน คือ

 

1. Battery Business การลงทุนโรงงานผลิตแบตเตอรีต้นแบบ Semi Solid กำลังการผลิตเฟสแรกที 30 เมกะวัตต์-ชัวโมง ซึงคาดว่าจะได้ First battery cell ภายในเดือน ธันวาคม 2563 โดยขณะน้ี บริษัทได้มีการประสานงานกับหลายภาคส่วนในการทาตลาด ทั้งในส่วน Mobility และ Stationary ซึงจะรองรับการใช้งานรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า (EV Bus) สถานีอัดประจุไฟฟ้า และการประยุกต์ใช้งานด้านอื่นๆ เป็นต้น ก่อนที่จะพิจารณาขยายการลงทุนในเฟสต่อไป

 

2. Energy Storage & System Integration การพัฒนาธุรกิจการเป็นผู้ให้บริการระบบกักเก็บพลังงานอัจฉริยะ Smart Energy Storage System: ESS ซึ่งใช้ในการควบคุมการจัดเก็บและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยในปัจจุบัน บริษัทได้ดำเนินการโครงการต่าง ๆเช่น การร่วมมือกับ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จากัด (มหาชน) หรือ GC นาระบบ ESS ขนาด 1.5 เมกะวัตต์ชั่วโมง มาเพื่อความมั่นคง และประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้าท่ีป้อนให้แก่อาคารสำนักงานและศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีของ GC จังหวัดระยอง โครงการนาร่องเมืองอัจฉริยะ หรือ “smart city” ให้กับสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) เพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ หรือ innovation platform รองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย new S-curve ต่อไป เป็นต้น

 

3. Smart Energy Management การศึกษา วิเคราะห์ คัดเลือกเทคโนโลยีในการบริหารจัดการพลังงานที่เหมาะสมกับตลาด New Energy เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ

 

*เป้ามีกำลังผลิต 5026 MW

 

อย่างไรก็ดีบริษัทคาดว่าในปี 2566 จะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าตาม Equity ที่ 5026 เมกะวัตต์ จากปีนี้ที่จะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าที่ 4766 เมกะวัตต์ แต่บริษัทยังเดินหน้าศึกษาการลงทุนโครงการใหม่ๆ ต่อเนื่อง และมีแผนที่จะเพิ่มสัดส่วนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนเป็น 30% จากปัจจุบันที่ 11%

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง