เปิดรายได้ " LINE MAN” อาชีพฮิตโตสวนทางพิษโควิด-19
ช่วงที่ผ่านมาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 กระทบต่อหลายอาชีพ ที่ร้ายแรงสุดคือการถูกเลิกจ้าง การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปทำให้หลายธุรกิจไปต่อไม่ได้ แต่ธุรกิจที่กลับโตสวนทางกระแสของพิษโควิด-19 ที่เห็นได้ชัดก็คือ "ฟู้ดเดลิเวอรี่" เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคที่นิยมสั่งอาหารมาทานที่บ้านมากขึ้น เพื่อเซพตัวเองจากการต้องไปเผชิญกับเชื้อไวรัสนอกบ้าน ธุรกิจนี้จึงอยู่รอดปลอดภัยจากวิกฤตนี้
การเติบโตของธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ ที่พาให้ทั้งผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่น และ ร้านอาหารเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให่ “พนักงานขับ” หรือ ไรเดอร์ ได้อานิสงส์ต่ออีกทาง แถมยังเป็นอีกอาชีพที่เติบโตและมีบทบาทสำคัญบนห่วงโซ่ธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ในฐานะ Touchpoint ผู้มอบคุณภาพบริการโดยตรงกับลูกค้า ช่วงโควิด - 19 ที่ผ่านมาจึงจะเห็นได้ว่าเป็นหนึ่งในอาชีพที่โตสวนทางกับอาชีพอื่นในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ด้วยดีมานด์ตามสถานการณ์ของตลาดที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว หลายอาชีพที่ตกงานในช่วงนี้ได้ผันตัวมาเป็นพนักงานขับให้กับร้าน "ฟู้ดเดลิเวอรี่" จนมีรายได้เลี้ยงครอบครัวได้ในช่วงที่สถานการณ์เศรษฐกิจย่ำแย่
กฤตธี ยังเฟื่องมนต์ นักบินจากสายการบินภายในประเทศแห่งหนึ่ง วัย 36 ปี เคยทำอาชีพพนักงานขับส่งอาหารมาก่อนหน้าจะเป็นนักบินเมื่อ 4 ปีก่อน ก็เลือกจะกลับมาเป็นพนักงานขับ LINE MAN อีกครั้ง เพื่อหารายได้ในช่วงที่สายการบินต้องหยุดพักจากโควิด-19 โดยกฤตธี ยกตัวอย่างว่าหากวิ่งงานตั้งแต่ 6 โมงครึ่งจนถึง 1 ทุ่ม จะมีรายได้ต่อวันอยู่ที่ประมาณ 1,000 - 2,500 บาท ขึ้นอยู่กับว่าการเลือกที่จะรับงาน เช่น งานวิ่งตามซอย (วิ่งระยะใกล้ ปักหลักตามแหล่งต่างๆ) หรืองานไหล (วิ่งไปเรื่อยๆ ตามระยะทางของงานต่องาน) ซึ่งส่วนตัว กฤตธี รับงานไม่เลือก เฉลี่ยแล้ววันละ 10-15 รอบ หากขยันมากก็มีถึง 20 รอบ รายได้ก็จะตามรอบที่วิ่ง
โดยนักบิน ไลน์แมน ท่านนี้บอกว่า การเป็นคนขับเดลิเวอรี่ เป็นอาชีพที่ทำให้เป็นนายตัวเอง สามารถควบคุมเวลาได้เอง เป็นงานบริการที่ตนชอบและสนุกไปกับงาน ได้รู้จักร้านอาหารใหม่ๆ ความชอบลูกค้า และเส้นทางลัดรอบกรุงเทพมากขึ้น รวมทั้งน้ำใจจากร้านอาหารและลูกค้าที่เขาได้รับช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ น้ำดื่ม และทิป ก็ทำให้เขามีมุมมองด้านบวกกับอาชีพพนักงานขับเดลิเวอรี่มากขึ้นไปอีก ถือเป็นอีกอาชีพที่น่าภูมิใจไม่น้อยไปกว่าการเป็นนักบินซึ่งเป็นอาชีพหลักของเขา
“ขึ้นอยู่กับว่าเราอยากให้คนอื่นมองเราอย่างไร ถ้าเราภูมิใจ บริการดี สุภาพ ดูสะอาดเรียบร้อย และปฏิบัติตามกฏจราจร ความตั้งใจก็นำมาสู่ความภูมิใจ ไม่ว่าจะทำอาชีพอะไร” กฤตธีกล่าว
ขณะที่ณัฏฐดนัย กลิ่นทองใบ พนักงานขับ LINE MAN วัย 31 ปี ตัดสินใจยึดอาชีพนักงานขับเดลิเวอรี่เป็นหหลักเมื่อ 1 ปีก่อน จากการเคยเป็นลูกค้า ก่อนจะสามารถสร้างรายได้สูงสุดถึง 2,500 บาทต่อวัน เพื่อดูแลตัวเองและครอบครัวได้อย่างทุกวันนี้ นอกจากนั้น ยังลงทุนให้แม่เปิดร้านอาหารที่บ้าน และสมัครเข้าระบบกับทาง LINE MAN ต่อยอดมาจากการขับ LINE MAN ด้วย
ด้านผู้ประกอบการ บุณย์ญานุช บุญบำรุงทรัพย์ ประธานกลุ่มงานบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า Gon Gang และหน่วยธุรกิจบาร์บีคิวพลาซ่า บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด กล่าวว่า พนักงานขับเดลิเวอรี่เป็นอีกอาชีพดาวรุ่งในช่วงเวลานี้เลยก็ว่าได้ ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำห้ห่วงโซ่ธุรกิจปัจจุบันสมบูรณ์มากขึ้น
"สิ่งสำคัญของการเป็นพนักงานขับเดลิเวอรี่อีกว่า “สิ่งสำคัญที่พวกเขาต้องมีคือใจรักในงานบริการ ให้ความสำคัญกับความถูกต้องและความต้องการลูกค้า ความเป็นมิตร การแต่งกายสะอาดเรียบร้อย ซึ่งรวมกันแล้วเป็นคุณภาพบริการที่สะท้อนภาพลักษณ์แอปพลิเคชั่นนั้นอย่างปฏิเสธไม่ได้” บุณย์ญานุชกล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- "New Normal"ความท้าทายการส่งออกอาหารผ่านชายแดน
- สื่อบันเทิงเสมือนจริงบน 5G โอกาสธุรกิจยุค "New Normal"
- เปิด 3 เทรนด์!! ทางรอดธุรกิจใน "New Normal"
- เปิดไทม์ไลน์"นกสกู๊ต"ก่อนเลิกกิจการ ยื้อต่อไม่ไหว
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline