รีเซต

นักวิทย์จีนพัฒนา 'คอนแทคเลนส์อัจฉริยะ' จ่ายยารักษา 'ต้อหิน'

นักวิทย์จีนพัฒนา 'คอนแทคเลนส์อัจฉริยะ' จ่ายยารักษา 'ต้อหิน'
Xinhua
22 พฤษภาคม 2565 ( 01:49 )
32
นักวิทย์จีนพัฒนา 'คอนแทคเลนส์อัจฉริยะ' จ่ายยารักษา 'ต้อหิน'

ปักกิ่ง, 20 พ.ค. (ซินหัว) -- คณะนักวิทยาศาสตร์จีนได้พัฒนาคอนแทคเลนส์อัจฉริยะ ที่สามารถจ่ายยาอัตโนมัติเพื่อรักษาโรคต้อหิน (glaucoma) ซึ่งเป็นโรคที่สามารถทำให้ตาบอดได้

 

คณะนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็น ออกแบบเลนส์ไร้สายและไม่ใช้แบตเตอรี่ที่สามารถเฝ้าติดตามความดันในลูกตาและจ่ายยารักษาโรคต้อหินตามความต้องการและการควบคุมผลการศึกษาจากวารสารเนเจอร์ คอมมูนิเคชันส์ (Nature Communications) ในสัปดาห์นี้ ระบุว่าคอนแทคเลนส์ดังกล่าวใช้ประโยชน์จากการออกแบบเชิงโครงสร้าง 2 ชั้น ที่มีความกระทัดรัดสูง ผสานวงจรไฟฟ้าเข้ากับความโค้งและพื้นผิวที่มีจำกัด โดยไม่บดบังการมองเห็นของผู้ใช้โมดูลตรวจจับในแผงวงจรของคอนแทคเลนส์มีสัณฐานโค้งเหมือนสัญลักษณ์วงเล็บ และแผงวงจรแต่ละอันประกบฟิล์มฉนวนไฟฟ้าแบบนุ่มพิเศษ ซึ่งจะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของความดันลูกตาและส่งสัญญานความถี่สั่นพ้องที่ตรวจจับได้ เพื่อบันทึกข้อมูลแบบไร้สายต่อจากนั้นโมดูลจ่ายยาจะใช้วงจรส่งพลังงานไร้สายอันมีประสิทธิภาพ เพื่อจ่ายยาเคลือบบริโมนิดีน (Brimonidine) สู่น้ำเลี้ยงลูกตาทั่วกระจกตาตามเวลาที่เหมาะสม เพื่อการรักษาโรคต้อหิน ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุอันดับต้นๆ ของการตาบอดในผู้สูงอายุ และมักเกิดจากความดันสูงผิดปกติในลูกตาคณะนักวิทยาศาสตร์ทำการทดลองในกระต่ายที่เป็นต้อหิน โดยกลุ่มกระต่ายที่ใส่คอนแทคเลนส์นี้สามารถรักษาความดันลูกตาให้อยู่ในระดับคงที่ด้วยการจ่ายยาของคอนแทคเลนส์ ทว่ากระต่ายในกลุ่มควบคุมที่ได้รับยาหยอดตา มีความดันลดลงในระยะเบื้องต้นก่อนจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งนี้ คณะนักวิจัยระบุว่าคอนแทคเลนส์ดังกล่าว ซึ่งรุกล้ำร่างกายน้อย มีความอัจฉริยะ และไร้สาย มอบความหวังสำหรับการรักษาโรคต้อหินในอนาคต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง