รีเซต

‘ไบเดน’ เตรียมระบายน้ำมัน 15 ล้านบาร์เรล สกัดราคาน้ำมันพุ่งสูง

‘ไบเดน’ เตรียมระบายน้ำมัน 15 ล้านบาร์เรล สกัดราคาน้ำมันพุ่งสูง
TNN ช่อง16
19 ตุลาคม 2565 ( 13:05 )
72

การตัดสินใจครั้งนี้ของไบเดนมีขึ้นหลังจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน หรือโอเปก และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส มีมติปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันครั้งใหญ่ ซึ่งสวนทางกับความต้องการของสหรัฐฯ 


---คาด ‘ไบเดน’ ประกาศระบายน้ำมัน 15 ล้านบาร์เรล วันนี้--- 


คาดการณ์ว่า ไบเดนจะประกาศระบายน้ำมันจำนวน 15 ล้านบาร์เรล จากคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ (SPR) ในวันนี้ หลังจากที่เขาประกาศไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาว่า จะระบายน้ำมัน 180 ล้านบาร์เรล ในช่วงพฤษภาคมถึงตุลาคม 


คำประกาศนี้หมายความว่า ตัวไบเดนเองกำลังทำให้ประชาชนทราบว่า รัฐบาลกำลังหาทางแก้ไขและเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาที่กำลังจะเกิดในฤดูหนาว ซึ่งก็คือในเดือนธันวาคมนี้ และที่ผ่านมา สหรัฐฯ ก็พยายามกดดันซาอุดีอาระเบียและโอเปกพลัสเพื่อให้เพิ่มกำลังการผลิต เนื่องจากปธน.ไบเดนกังวลว่าราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นจะกระทบต่อคะแนนนิยมของรัฐบาลก่อนการเลือกตั้งกลางเทอมในเดือนหน้า


สำหรับไบเดนแล้ว ปัญหานี้เป็นปัญหาที่รุนแรงมากของประเทศ โดยราคาน้ำมันเฉลี่ยเกิน 5 ดอลลาร์สหรัฐต่อแกลลอน หรือราว 190 บาทต่อแกลลอน ทำให้ประชาชนไม่พอใจเป็นอย่างมาก 


เมื่อราคาน้ำมันเริ่มลดลง ก็มีปัญหาใหม่เพิ่มเข้ามาอีก คือ เงินเฟ้อ ซึ่งเป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุดที่รัฐบาลต้องแก้ให้ได้ เนื่องจากใกล้ถึงวันเลือกตั้งกลางเทอมแล้ว 




--- 'ไบเดนเร่งแก้ปัญหาน้ำมัน หวั่นกระทบเลือกตั้ง---


ด้านเจ้าหน้าที่อาวุโสไม่ประสงค์ออกนาม เปิดเผยว่า คลังสำรองทางยุทธศาสตร์ (SPR) ไม่ได้ถูกใช้อย่างถูกต้องและรับผิดชอบเท่าไรนัก ขณะเดียวกันที่ไบเดนจะประกาศว่าจะระบายน้ำมัน 15 ล้านบาร์เรลออกจากคลังดังกล่าว 


โดยไบเดนย้ำว่า หากราคาน้ำมันอยู่ที่ 67-72 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรลเมื่อไร ก็จะนำน้ำมันกลับเข้าไปในคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้


เจ้าหน้าที่อาวุโส ระบุว่า นี่เป็นสัญญาณสำคัญสำหรับผู้ผลิตน้ำมัน ที่คลังสำรองทางยุทธศาสตร์จะช่วยควบคุมราคาน้ำมันให้เสถียร ไม่เพียงแต่ช่วงราคาขึ้นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงตอนราคาตกด้วย ซึ่งการใช้คลังสำรองทางยุทธศาสตร์นั้นเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาด ที่แก้วิกฤตได้ดี เป็นเรื่องสร้างสรรค์ที่น่าเหลือเชื่อ ที่จะทำให้ผ่านวิกฤตนี้ไปได้ 


อย่างไรก็ตาม ความผันผวนที่เกิดขึ้นนี้ หากมองถึงรัสเซียถึงกำลังการผลิตด้วย ขณะนี้ก็ยังไม่สามารถทำให้กลับไปเท่าเดิม ในช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ได้ 


---ห้ามการส่งออกน้ำมันจะซ้ำเติมวิกฤตพลังงาน?---


นอกจากนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ได้รับการอนุมัติจากสภาคองเกรสให้ขายน้ำมันอีก 26 ล้านบาร์เรลจากคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ ในปีงบประมาณ 2023 ซึ่งเริ่มต้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา คาดว่าจะมีการระบายน้ำมันตามโควตาดังกล่าวในไม่ช้า


รัฐบาลยังได้แจ้งให้บริษัทน้ำมันทำการขายน้ำมันอีก 26 ล้านบาร์เรล จากที่ได้รับอนุมัติจากสภาคองเกรส สำหรับการจำหน่ายน้ำมันในปีงบประมาณ 2023 นี้ด้วย


ขณะเดียวกัน รัฐบาลเรียกร้องโรงกลั่นน้ำมันสหรัฐฯ หลีกเลี่ยงการเพิ่มการส่งออกน้ำมัน และระบุว่า อาจสั่งห้ามการส่งออก เพื่อให้มีปริมาณเพียงพอสำหรับการบริโภคในประเทศ


อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายเตือนว่าการห้ามการส่งออกน้ำมันจะซ้ำเติมวิกฤตพลังงานในยุโรป และจะส่งผลกระทบย้อนกลับทำให้ราคาพลังงานพุ่งขึ้นในสหรัฐ


---ยูเออี เชื่อ โอเปกพลัสตัดสินใจถูกที่ลดกำลังการผลิตลง---


ด้านรัฐมนตรีพลังงานของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) เผยวานนี้ว่า ทางยูเออีเชื่อว่า โอเปกพลัสตัดสินใจถูกแล้วที่ลดกำลังการผลิตน้ำมันลง และมิตเอกฉันท์นี้ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องการเมือง 


โดยราคาน้ำมันตอนนี้เสถียร หากมองย้อนกลับไปในเดือนตุลาคม 2021 ก่อนที่จะเกิดวิกฤตต่าง  โลกก็จะเห็นว่าราคาน้ำมันมันอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิม  พร้อมระบุว่า การที่ผลิตน้ำมันได้น้อยลง เป็นผลมาจากขาดนักลงทุนเข้ามา 


และเมื่อถามรัฐมนตรีพลังงานของยูเออีว่า มีแผนจะขยายกำลังการผลิตหรือไม่ ทางยูเออีระบุว่า มีแผนจะขยายกำลังการผลิตให้ได้วันละ 5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ภายในปี 2030 


---มุมมองฝั่งเอเปกพลัส---


ด้านโอเปกพลัสก็มองว่า การลดกำลังการผลิตลงตอนนี้เป็นเรื่องจำเป็น และเป็นเวลาที่ดีที่จพช่วยลดความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ซึ่งทางโอเปกพลัสก็ได้ประกาศออกมาเมื่อวันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า จะลดกำลังการผลิตลง 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เร่ิมเดือนพฤศจิกายนนี้ 


หากเปรียบเทียบการลดกำลังการผลิตลง ก็จะเทียบเท่าราว 2% ของความต้องการของโลกปีนี้ มีการประเมินโดยโอเปกว่า อยู่ที่ราว  100 ล้านบาร์เรลต่อวัน

—————

แปล-เรียบเรียงพิชญาภา สูตะบุตร

ภาพ: Brendan Smialowski / AFP


ข้อมูลอ้างอิง:

1, 2

ข่าวที่เกี่ยวข้อง