รีเซต

ทำความเข้าใจ ภาวะ ISRR กับวัคซีนโควิด-19

ทำความเข้าใจ ภาวะ ISRR กับวัคซีนโควิด-19
TrueID
28 เมษายน 2564 ( 14:12 )
1.1K
ทำความเข้าใจ ภาวะ ISRR กับวัคซีนโควิด-19

ปัจจุบันกระบวนการติดเชื้อจะใช้เวลาส่วนใหญ่ 14 วัน ซึ่งโดยปกติร่างกายมีวิธีการกำจัดไวรัสภายในตัวเอง เช่น ผ่านสารเคมีที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อป้องกันไวรัสเข้าเซลล์ ซึ่งหากเป็นไวรัสที่เรารู้จักอยู่แล้วก็ย่อมทำได้ แต่โควิด เป็นไวรัสใหม่จึงไม่สามารถทำได้ นอกจากนี้ ยังมีอีกวิธี คือ เมื่อไวรัสเข้ามาในร่างกายจะมีการกระตุ้นแอนติบอดีขึ้นมา ซึ่งหากเป็นไวรัสที่เรารู้จัก อย่างโรคหวัด เชื้อหัด หากเราเคยติดเชื้อ หรือฉีดวัคซีนก็จะมีภูมิต้านทานที่เป็นแอนติบอดีมาช่วย หรือกรณีเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดที่ทำลายไวรัสได้ แต่ทั้งหมดต้องรู้จักไวรัสก่อน

 

 

สำหรับภาวะแทรกซ้อนจากการรับวัคซีนนั้น เราต้องพิจารณาประโยชน์กับความเสี่ยงทุกครั้ง แน่นอนว่า ความเสี่ยงย่อมมี ทั้งนี้ สามารถแบ่งออกเป็นอาการไม่พึงประสงค์ และอาการแพ้วัคซีน ซึ่งอาการแพ้วัคซีนจะคล้ายคนแพ้อาการ แพ้อาหาร ส่วนอาการไม่พึงประสงค์อาจเกิดจากตัววัคซีน หรือส่วนประกอบของวัคซีน หรือเกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายผู้รับวัคซีน ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

 

 

ภาวะ ISRR คืออะไร?

 

คือ อาการไม่พึงประสงค์ แบ่งออกเป็นเฉพาะที่ และเป็นระบบ บางคนมีไข้ต่ำๆ มีอาการอ่อนเพลีย ง่วง เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้ แต่ปฏิกิริยาที่เป็นข่าวและทำให้หลายๆท่านกังวลใจ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาเครียดตอบสนองต่อการฉีดวัคซีน หรือที่เรียกว่า Immunization Stress Related Response หรือ ISRR ซึ่งเกิดขึ้นเพราะมนุษย์แต่ละคนแตกต่างกัน คนบางคนเมื่อมีความเครียดในการฉีดวัคซีน ก็จะกระตุ้นระบบภายในร่างกาย ระบบสำคัญจะเกี่ยวข้องกับ Stress ฮอร์โมนทั้งหลาย กระตุ้นระบบประสาท ทำให้หลอดเลือดมีการหดตัว ซึ่งผู้รับวัคซีนไม่ได้แกล้งทำ เหมือนกรณีบางคนพูดในที่สาธารณะเป็นลมก็มี

 

 

เมื่อพบผู้ป่วยกลุ่ม ที่มีอาการทางระบบประสาทหลังการฉีดวัคซีน เช่น ชา อ่อนแรง ตามัว ควรรีบดําเนินการดังนี้


• ปรึกษาแพทย์ เพื่อการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม ควรตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีภาวะโรคทางกายก่อน แต่ควรหลีกเลี่ยงการตรวจสืบค้นโดยไม่จําเป็น (over-investigation) หรือการต้องนอนโรงพยาบาล แต่ต้องพอเหมาะที่จะทําให้ไม่พลาดการวินิจฉัยผู้ที่เป็นโรคจริง

• ควรให้การดูแลรักษาโดยไม่มีการตีตราว่ากล่าว หรือทําให้ผู้ที่มีอาการรู้สึกไม่ดี และควรมีสหสาขาช่วยกันดูแล

• ในระหว่างที่ให้การรักษาดูแล ควรให้ความมั่นใจกับคนไข้เรื่องอาการที่เกิดขึ้นว่าอาการนี้อาจเกิดขึ้นได้ และส่วนใหญ่จะดีขึ้นภายในเวลาไม่นาน โดยไม่มีอันตราย เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วย

• ทันทีที่ผู้ป่วยอาการดีขึ้น ควรสนับสนุนให้กลับไปปฏิบัติงานหรือภารกิจได้ตามปรกติ และให้กําลังใจ

• รายงานผู้ป่วยเข้าสู่ระบบรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังการได้รับวัคซีน กรมควบคุมโรค (AEFI-DDC) โดยรายงานที่ https://e-reports.doe.moph.go.th/aefi/ หรือ ส่งแบบสอบสวนโรค AEFI1/AEFI2 ทางอีเมล์ doe_cd@ddc.mail.go.th

• ไม่จําเป็นต้องระงับการฉีดวัคซีนในวันนั้น หรือในลอตนั้นๆ

 

 

การเตรียมการเพื่อรับมือเหตุการณ์ ISRR


ก่อนการฉีดวัคซีน 

  • ควรจัดสถานที่ฉีดวัคซีนให้มีการถ่ายเทอากาศที่ดี ไม่ร้อนอบอ้าวจนเกินไป จุดที่ให้บริการควรห่างกันพอสมควร
  • จัดระบบการรอรับบริการไม่ให้เกิดความแออัด รอนาน เพื่อลดความวิตกกังวล
  • การคัดกรองผู้รับบริการ ควรสังเกตอาการของผู้รับบริการ หากผู้รับบริการมีร่างกายอ่อนเพลีย พักผ่อนไม่ เพียงพอ มีความวิตกกังวล หรือมีอาการเจ็บป่วยใด ๆ ที่ไม่มีความพร้อมในการรับวัคซีน ควรพิจารณาเลื่อนนัดการ บริการไปก่อน
  • ควรมีการให้ความรู้กับผู้รับการฉีดวัคซีนถึงประโยชน์และประสิทธิภาพของวัคซีน และอาการที่อาจจะ เกิดขึ้นภายหลังการได้รับวัคซีน เพื่อให้ผู้รับวัคซีนรู้เท่าทันอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ปวดบริเวณที่ฉีด หรือมีไข้ หรือบางคนอาจมีอาการเพลีย อ่อนแรง หรืออื่นๆ อาการมากน้อยแตกต่างกัน โดยอาการมักจะหายไปได้ ภายใน 1 - 2 วัน โดยไม่มีอันตราย

 

 

 

ที่มา : Hfocus , คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิททยาลัยมหิดล

รูปภาพโดย ฟอร์ม PxHere

ข่าวที่เกี่ยวข้อง