ทำไม "วันพระ ห้ามขายเหล้า" เช็กที่นี่! วันพระห้ามขายเหล้า 2566 ห้ามขายเหล้าวันไหนบ้าง
วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา เพิ่งผ่านพ้นไป หลายคนคงสงสัยว่า ทำไมวันพระห้ามขายเหล้า ซึ่งสาเหตุที่ วันพระ ห้ามขายสุรา เนื่องจากมีกฎหมายครอบคลุมไว้ ห้ามขายเหล้าเบียร์วันพระ ยกเว้น 2 กรณี เช็กที่นี่! วันพระห้ามขายเหล้า 2566 ห้ามขายเหล้าวันไหนบ้าง
สำหรับ วันอาสาฬบูชา วันเข้าพรรษา 2566 ตามที่มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันห้ามขายเครื่องแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 “ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬบูชา วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา ยกเว้น การขายเฉพาะร้านค้าปลอดอากรภายในอาคารท่าอากาศยานนานาชาติ”
หากผู้ใดฝ่าฝืน มีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 39 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
วันพระห้ามขายเหล้า 2566
- วันมาฆบูชา
- วันวิสาขบูชา
- วันอาสาฬบูชา
- วันเข้าพรรษา
- วันออกพรรษา
วันพระ ห้ามขายเหล้ากี่โมง
ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดทั้งขายส่งและขายปลีกทั่วราชอาณาจักรตลอด 24 ชั่วโมง (เริ่มนับตั้งแต่หลังเวลา 24.00 น. ของวันก่อนหน้าไปจนถึงเวลา 24.00 น. ของวันที่ห้าม)
ยกเว้น 2 กรณี สามารถขายสุราวันพระได้
- การขายเฉพาะร้านค้าปลอดอากรภายในอาคารท่าอากาศยานนานาชาติ
- ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือตัวแทนของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าไปยังผู้ขายซึ่งได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสุรา
นอกจากนี้ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 32 “ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม”
การโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใด ๆ โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทให้กระทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่มีการปรากฎภาพของสินค้า หรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปรากฎของภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเท่านั้น
พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 หมวด 7 บทกำหนดโทษ มาตรา 43 ระบุไว้ว่า ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 32 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างไร ผิดกฎหมาย
- อวดอ้าง โฆษณาสรรพคุณว่าการดื่มแอลก่อฮอล์จะทำให้สุขภาพและชีวิตดี
- ใช้เซเลบ ดารานักกีฬาหรือเด็กต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์เป็นผู้โฆษณา
- แสดงภาพสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ชักจูงเชิญชวันให้ซื้อ
- ให้รางวัลของแถม ชิงโชค
- ใช้ภาพการ์ตูน
- โฆษณาเกินเวลา22.00 - 05.00 น.
โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างไร ไม่ผิดกฎหมาย
- โฆษณาตามที่กฎหมายกำหนด
- ให้ข่าวสารความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม และไม่แสดงภาพสินค้า ยกเว้น ภาพสัญลักษณ์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิต
- โฆษณาที่ถ่ายทอดสดจากต่างประเทศ เช่น ถ่ายทอดสดฟุตบอลที่เห็นสัญลักษณ์สินค้า
ปริมาณแอลกอฮอล์ของเครื่องดื่มแต่ละชนิด
- เบียร์ 325 ml. (3.5-7%)
- ไวน์ 100 ml. (11-13%)
- เหล้าขาว วิสกี้ หรือวอดก้า 30 ml. (35-40%)
1 ดื่มมาตรฐาน ตับของคุณจะใช้เวลาขับออก 1 ชั่วโมง (1 ดื่มมาตรฐาน = แอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 10 กรัม
"กินเหล้ายังไงไม่ให้เมา" เคล็ดลับดื่มแอลกอฮอล์อย่างรับผิดชอบ
- ดื่มไม่ขับ
- ทานอาหารรองท้องก่อนครึ่งชั่วโมง
- ดื่มน้ำเปล่าลดอาการเมาค้าง
- ดูแลเพื่อนที่มาด้วย
- ควรงดกาแฟดำ เพราะจะทำให้เกิดอาการขาดน้ำ
- รู้ขีดจำกัดการดื่มของตนเอง
ข้อมูล สำนักงานกิจการยุติธรรม , ขับขี่ปลอดภัย by DLT
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.
คลิกเลย >>> TrueID Community <<<