คนดีต้องมีที่ยืน โลกต้องดีกว่า : ภาครัฐต้องเปิดข้อมูล-โปร่งใส ลดปัญหาทุจริตคอรัปชั่น
“ทุจริตมันเหมือนโรค มันเหมือนโรคอ่ะ เหมือนเราป่วยเป็นโรคมันคือโรคของสังคม ต้องบอกว่าที่ผ่านมามีความพยายามแก้ไขเรื่องปัญหาการทุจริตเยอะมันเลยจะทําให้การทุจริตแบบเดิมๆ หายไป”
“แต่มันก็มันก็จะมีความซับซ้อนมาอีกแบบ เพราะว่าตราบใดที่คนเรายังมีความอยาก ความไม่พอ มันก็จะผ่าช่องว่างของกฎหมายของกฎระเบียบต่างๆ ของระบบเข้าไปโกงเข้าไปทําอะไร มันก็ทําให้มีรูปแบบการทุจริตที่เราจะเห็นว่ามันแปลกไปจากเดิมมากขึ้น ที่สําคัญที่สุดคือการเซตระบบให้ลดการทุจริตอย่างที่ ก.พ.ร. ทํา” นางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ เลขาธิการ ก.พ.ร. กล่าว
การ “ทุจริต” ต้องถูกแก้ไขได้ด้วยระบบ
นางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) พูดถึงการแก้ปัญหาการ “ทุจริต” ระบุว่า สําคัญที่สุดคือการเซตระบบให้ลดการทุจริตอย่างที่ ก.พ.ร. ทํา เรามุ่งเน้นคือเรื่องของ Digital Government คือเอาทุกอย่างขึ้นมาอยู่บนระบบข้อมูลทั้งหมด
“ดังนั้น การเรียกรับผลประโยชน์มันจะหายไป เมื่อก่อนเราไม่รู้เลยไปยืนจ่ายบนโต๊ะที่โต๊ะเขาเรียกเท่าไหร่ แต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกันใบเสร็จออกบ้าง ไม่ออกบ้าง เขียนอะไร ก็ไม่รู้แต่วันนี้ทุกอย่างมันอยู่บนระบบมันชัดเจนการให้บริการผ่านระบบดิจิทัลมัน ช่วยให้เห็นตั้งแต่ว่าความรับผิดชอบของใคร ในขั้นตอนไหนบ้างเป็นระบบที่ลดการทุจริต ลดการใช้ดุลพินิจลงไป ก็ทําให้ประชาชนมีความเสี่ยงน้อยลงในการที่จะได้รับผลกระทบจากทุจริต” นางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ กล่าว
“คู่มือประชาชน” ความโปร่งใส ที่ประชาชน ต้องรู้
นางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ ระบุ ก.พ.ร. ไม่ใช่คนที่ไปให้บริการประชาชนโดยตรงแต่เรามีหน้าที่ไป ไปฉีด ไปอัด ไปสนับสนุนให้หน่วยงานให้บริการประชาชนดีขึ้น
ถามว่าทุกวันนี้ ทุกคนทําบัตรประชาชนเร็วขึ้นไหม วันเดียวได้ เมื่อก่อนไม่ใช่ ทําพาสปอร์ตเร็วขึ้นไหม ทําใบขับขี่เร็วขึ้นไหม อันนี้คือสิ่งที่ต้องบอกหน่วยงาน ทําบนกลไกที่ ก.พ.ร. เข้าไปสนับสนุนในการเซตที่เรียกว่า KPI ก็ดี การให้รางวัลก็ดีเรามีรางวัลเลิศรัฐ ที่ให้ทุกปี กับหน่วยงานที่มีการพัฒนาการให้บริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ มีการทํางานร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ เราให้รางวัลกระตุ้นให้เค้าปรับปรุงการทํางานแล้วก็การให้บริการประชาชนอันนี้ก็จะเห็นว่ามีหลายๆ
“การให้บริการประชาชนทั้งหมด มีกี่งานมีขั้นตอนอะไรบ้าง ให้ทําเป็นคู่มือประชาชนออกมา และเปิดเผยให้ประชาชนเห็นประชาชนจะได้รับทราบว่าในการติดต่อหน่วยงานนี้ เรื่องนี้มีกี่ขั้นตอนแล้วก็มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
ต้องเตรียมเอกสารอะไรไปบ้างอย่างไรเขารู้ล่วงหน้าก่อนไป มันจะลดปัญหาการเรียกรับ การแอบมาขอสินบน ช่วยให้ประชาชนสะดวกขึ้น คู่มือประชาชนจะเป็นตัวที่ทําให้ประชาชนติดต่อภาครัฐได้อย่างโปร่งใสมากขึ้น อันนี้ก็คือสิ่งที่เราทําและมีความชัดเจนมากขึ้น” นางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ ระบุเพิ่มเติม
ถ้าภาครัฐไม่มีธรรมาภิบาลประชาชนจะไม่เชื่อถือ “ภาครัฐ” ต้องเปิดเผยข้อมูล
นางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ กล่าวเพิ่มเติมระบุว่า พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินที่ตั้ง ก.พ.ร. ขึ้นมาเราออก พ.ร.ฎ. ตัวนึงว่าด้วยวิธีการในการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีที่เรียกว่า good governance นี่คือหลักการทํางานเลยค่ะถ้าภาครัฐไม่มีธรรมาภิบาลประชาชนจะไม่เชื่อถือแต่หมายถึงภาครัฐต้องเปิดก่อนไม่มีใครอยากเข้ามามีส่วนร่วมกับเราถ้าเขาไม่รู้จักเรา ไม่มีใครอยากจะเข้ามาคุยกับเราถ้าเขาไม่รู้จักเรา
ภาครัฐต้องเปิดเผยข้อมูลก่อน เพราะฉะนั้นข้อมูลที่พึงเปิดเผยของภาครัฐ ก.พ.ร. พยายามเร่งให้ หน่วยงานเปิดเผยข้อมูลตรงนี้ออกมา ขณะเดียวกันเราก็สามารถเปิดช่องทางให้ประชาชนที่สงสัยการทํางานภาครัฐหรือจะจะร้องเรียนพอเวลาเขาไม่พอใจเขาอยากร้องเรียนหรือจะจะร้องเรียนพอเวลาเขาไม่พอใจเขาอยากร้องเรียนก็สามารถส่งข้อมูลเข้ามาได้อันนี้ก็จะอยู่ในโมเดล Open Government ที่ทาง ก.พ.ร. ขับเคลื่อนซึ่งเป็นหนึ่งในหลักธรรมาภิบาลเพราะเราเชื่อว่ายิ่งเปิดมันยิ่งโปร่งมันยิ่งชัด ทุจริตมันจะน้อยลง
“ก.พ.ร. ขับเคลื่อนด้วยหลักธรรมาภิบาล
เพราะเราเชื่อว่า
ยิ่งเปิดเผยข้อมูล ยิ่งโปร่งใส
การทุจริตมันจะน้อยลง”
นางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น ระบุว่า การแก้ไขปัญหาการทุจริต ต้องอาศัยหลายหน่วยงานแล้วอย่างที่บอกเพราะทุจริตเป็นโรคสํานักงาน ก.พ.ร. เหมือนแค่คนให้วิตามิน เพราะเราไม่ใช่เป็นคนปราบปราม เราเป็นคนเชิงป้องกันแล้ว ก็พยายามวางระบบให้วิตามินหาที่อยู่ ที่สะอาด เพื่อจะคนคนนั้นจะไม่เป็นโรค
แต่ ป.ป.ช. ป.ป.ท จะเป็นประมาณอาการโรคออกแล้ว แล้วเขาก็ไล่จับมันเป็นการทํางานที่เป็นระบบนิเวศ ที่เหมาะสมกัน ที่ต้องช่วยกันทํางาน
ที่ผ่านมาในการคุยกันทั้ง ป.ป.ช. ป.ป.ท. ทั้งสองหน่วยรวมทั้งเรามีโปรเจคร่วมกันด้วย อย่าง ก.พ.ร. เคยมีโปรเจคทํากับทาง OECD เรื่อง Integrity Review แล้วก็พยายามจะแก้ให้กลับมาเป็นเหมือนเดิม ซึ่งเอาของประเทศไทยเป็นประเทศแรกเลยที่ทํา report ตัวนี้ขึ้นมา เป็น report ความซื่อตรงของภาครัฐปี 2021
อันนี้ ก.พ.ร. ไปติดต่อทําไว้ แล้ว ป.ป.ช. ป.ป.ท. มาร่วมด้วย อันนี้คือสิ่งที่ดีมากๆ เพราะว่าเราทํากันอย่างเป็นระบบคือ ก.พ.ร. ไม่ได้ดูในเชิงป้องกันอย่างเดียวแต่เอาหน่วยที่ไปตรวจสอบจริงๆ มาด้วย แล้วเราได้ข้อมูลที่มันรอบด้านมากขึ้นและสามารถวิเคราะห์ปัญหาได้ครบวงจรอันนี้คือการเสริมสร้างการทํางานซึ่งกันและกันที่ทําด้วยกันแล้วก็ขอบคุณกับเขาเสมอที่เขาทําและให้ข้อมูลดีๆ กับเราแล้วเราก็ยังคุยกับเขาอยู่เรื่อยๆ
อยากให้หน่วยงานภาครัฐยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล
ถ้าในมุมมองของตัวข้าราชการนะของเลขาธิการ ก.พ.ร. อยากให้หน่วยงานภาครัฐยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล เพราะถ้าเขามีหลักในการทํางาน แล้วเขาจะทํางานได้สําเร็จ เขาจะทํางานเป็นที่ยอมรับของประชาชน เขาจะมีความสุข ถ้าเขามีความสุขเขาจะทํางานได้อย่างยั่งยืน และมันมีประโยชน์กับคนอื่น
เพราะฉะนั้นหวังอย่างยิ่งว่าหน่วยงานภาครัฐต้องทําบนหลักธรรมาภิบาล ซึ่งถ้าถามว่า ตอนนี้ระยะสั้นธรรมาภิบาลที่ ก.พ.ร. พยายามขับเคลื่อน คือเรื่องของการเป็น Digital Government กับ Open Government 2 เรื่อง นี้มันก็จะเข้าสู่กรอบของการเป็นธรรมาภิบาลได้อยากให้เปิดกว้าง
“อยากเห็นราชการดีขึ้นอย่างไร เรารู้ว่าที่ผ่านมาเราพัฒนาได้ระดับหนึ่งแต่แน่นอนมันยังไม่ได้ถูกใจร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เราอยากให้ประชาชนช่วยกัน feedback กลับมา แล้วก็จะได้แก้ไขได้ตรงจุด ตรงโจทย์ ของประชาชน เพื่อเราจะได้นําปัญหาเหล่านั้น ไปพัฒนาให้ดีขึ้นก็ช่วยกันให้ข้อมูลตรงนี้ เข้ามา อันนี้คือสิ่งที่สําคัญมากที่สุด” นางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ กล่าวปิดท้าย
ภาพ TNNONline