รีเซต

ระบบการรักษาโควิด-19 "ผู้ป่วยนอก OPD" กับ "รักษาตัวที่บ้าน HI" แตกต่างกันอย่างไร?

ระบบการรักษาโควิด-19 "ผู้ป่วยนอก OPD" กับ "รักษาตัวที่บ้าน HI" แตกต่างกันอย่างไร?
TNN ช่อง16
2 มีนาคม 2565 ( 09:56 )
196

วันนี้ (2 มี.ค.65) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ กระทรวงสาธารณสุข ปรับรูปแบบการดูแลรักษาโรคโควิด-19 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพิ่มการดูแลแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้านแบบสมัครใจ สำหรับกลุ่มที่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย ไม่มีความเสี่ยง ซึ่งหายเองได้ โดยให้ยารักษาตามอาการ เริ่ม 1 มีนาคมที่ผ่านมานั้น

ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ได้อธิบายถึงความแตกต่างรักษาแบบ “ผู้ป่วยนอก” หรือ OPD กับ "Home Isolation” หรือ HI ไว้ดังนี้ 

• ผู้ป่วยนอก หรือ OPD

ประเภทการรักษา: OPD

กิจกรรมการรักษา: มี

แยกกักตัวที่บ้าน: มี

จ่ายยาตามอาการ: มี

โทรติดตามอาการ: มี (เมื่อครบ 48 ชั่วโมง)

อุปกรณ์ตรวจประเมิน: ไม่มี

ระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง: มี

บริการอื่น ๆ (อาหาร): ไม่มี

• แบบ HI หรือ Home Isolation ระบบการรักษาตัวที่บ้าน

ประเภทการรักษา: OPD

กิจกรรมการรักษา: มี

แยกกักตัวที่บ้าน: มี

จ่ายยาตามอาการ: มี

โทรติดตามอาการ: มี (ทุกวัน)

อุปกรณ์ตรวจประเมิน: มี

ระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง: มี

บริการอื่น ๆ (อาหาร): มี 


ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอน 90% ไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรง จึงปรับรูปแบบการดูแลให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยหากมีอาการทางเดินหายใจหรือประวัติสัมผัสเสี่ยงสูง เมื่อตรวจ ATK ด้วยตนเอง หากผลเป็นลบให้ปฏิบัติตามมาตรการ DMHTT 

หากผลเป็นบวก สามารถโทร 1330 ซึ่ง สปสช.จะมีการเพิ่ม Robot Screening ช่วยคัดกรอง หรือไปรับบริการที่คลินิกทางเดินหายใจ (ARI Clinic) หรือคลินิกสงสัยผู้ติดเชื้อ (PUI) ที่มีในทุกโรงพยาบาล หรือโทรติดต่อโรงพยาบาลที่มีสิทธิการรักษาเพื่อประเมิน 

หากมีภาวะเสี่ยง คือ เป็นกลุ่ม 608 มีโรคประจำตัว แต่อาการไม่มาก จะให้เข้าระบบ HI/CI, Hotel Isolation และ Hospital แต่หากมีภาวะเสี่ยงและอาการรุนแรงจะส่งรับการรักษาในโรงพยาบาล

ส่วนกลุ่มที่ไม่มีภาวะเสี่ยง สามารถรักษาแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวเองที่บ้าน ซึ่งคล้ายกับการรักษาระบบ HI คือ มีการแยกกักตัวที่บ้าน จ่ายยาตามอาการ โทรติดตามอาการ โดย HI จะโทรติดตามทุกวัน และมีอุปกรณ์ตรวจประเมินให้ 

เช่น ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด รวมถึงอาหาร แต่กรณีผู้ป่วยนอกเนื่องจากไม่มีความเสี่ยง จึงไม่มีอุปกรณ์ตรวจประเมินและอาหารให้ และจะโทรติดตามอาการครั้งเดียวเมื่อครบ 48 ชั่วโมง แต่ทุกรูปแบบจะมีช่องทางให้ประชาชนสามารถติดต่อกลับได้ และมีระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง.



ข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูล COVID-19

ภาพจาก AFP

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง