รีเซต

เครื่องตรวจลมหายใจวัว คำนวณพลังงาน ติดตามการปล่อยก๊าซมีเทน

เครื่องตรวจลมหายใจวัว คำนวณพลังงาน ติดตามการปล่อยก๊าซมีเทน
TNN ช่อง16
19 เมษายน 2567 ( 00:29 )
18
เครื่องตรวจลมหายใจวัว คำนวณพลังงาน ติดตามการปล่อยก๊าซมีเทน

นักวิจัยจากวิทยาลัยเกษตรและวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (College of Agriculture and Life Sciences : CALS) ที่มหาวิทยาลัยคอร์เนลในสหรัฐอเมริกา ได้ประดิษฐ์ระบบห้องตรวจลมหายใจวัว ใช้เพื่อวัด ตรวจสอบ และติดตามการปล่อยก๊าซมีเทนและก๊าซอื่น ๆ จากกระบวนการหายใจในวัว เป้าหมายคือเพื่อคำนวณพลังงานของวัว นำไปสู่การกำหนดอาหารเลี้ยงสัตว์ และลดการปล่อยก๊าซมีเทนเพื่อลดโลกร้อนได้ในท้ายที่สุด


สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา เผยว่าการเลี้ยงปศุสัตว์และการเกษตรทั่วโลก เป็นแหล่งปล่อยก๊าซมีเทนมากถึงร้อยละ 37 ของการปล่อยก๊าซมีเทนทั้งหมด ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงคิดค้นเทคโนโลยีติดตามการปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งโจเซฟ แม็คฟาดเดน (Joseph McFadden) รองศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาโคนมที่ CALS กล่าวว่า “มีวิธีเดียวในการระบุปริมาณการปล่อยก๊าซมีเทนได้อย่างสมบูรณ์คือการใช้ระบบห้องหายใจ (Respiration Chamber System)


ระบบห้องลมหายใจนี้มีขนาดประมาณช่องในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ หรือกว้างประมาณ 90 เซนติเมตร ยาวประมาณ 120 เซนติเมตร เป็นห้องที่ทำจากสแตนเลส มีขนาดใหญ่พอที่จะรองรับวัวหรือสัตว์ปศุสัตว์อื่น ๆ ได้ โดยสภาพอากาศภายในห้องได้รับการควบคุมและมีการตรวจสอบความเข้มข้นของก๊าซ เช่น ออกซิเจน มีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ และไฮโดรเจนแบบเรียลไทม์ ห้องนี้จะวัดลมหายใจของวัวทุก ๆ 2 - 10 นาที เพื่อทำความเข้าใจการใช้พลังงานของวัว รวมไปถึงก๊าซที่วัวใช้และปล่อยออกมา ช่วยให้ทราบผลกระทบของอาหารแต่ละประเภทที่วัวกิน ในขณะเดียวกันก็วางแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสารอาหารที่สูญเปล่าจากสัตว์



นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยคอร์เนล ระบุว่า ห้องลมหายใจยังจะใช้เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ คอร์เนล เน็ต คาร์โบไฮเดรต แอนด์ โปรตีน ซิสเท็ม (Cornell Net Carbohydrate and Protein System : CNCPS) เพื่อคำนวณปริมาณน้ำนมของวัวได้ โดยถูกนำไปใช้กำหนดอาหารให้โคนมในอเมริกาเหนือประมาณร้อยละ 70 และทั่วโลกร้อยละ 40 อีกด้วย


ไมเคิล แวนแอมเบิร์ก (Michael Van Amburgh) ศาสตราจารย์ด้านสัตวศาสตร์ หนึ่งในผู้ร่วมพัฒนา CNCPS กล่าวว่า “ระบบห้องลมหายใจนี้มีประโยชน์มาก เพราะจะช่วยให้เราคำนวณพลังงานและปรับแต่งอาหารให้สัตว์ได้อย่างดี”


นับว่าเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่มีประโยชน์มากกว่าที่คิด เพราะนอกจากจะเข้ามาทำให้ระบบการปศุสัตว์ดีขึ้น ยังถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการช่วยลดโลกร้อนได้อีกด้วย


ที่มาข้อมูล News.Cornell.EDUInterestingEngineering

ที่มารูปภาพ News.Cornell.EDU

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง