รีเซต

จ้างบัณฑิต-นศ. 3.2 หมื่นคน มิ.ย.นี้ “สุริยะ” ตุน 4 หมื่นล. ให้ SME กู้ ”ไทยซัมมิท” เปิดสมัครใจลาออก

จ้างบัณฑิต-นศ. 3.2 หมื่นคน มิ.ย.นี้ “สุริยะ” ตุน 4 หมื่นล. ให้ SME กู้ ”ไทยซัมมิท” เปิดสมัครใจลาออก
มติชน
2 มิถุนายน 2563 ( 09:20 )
94
จ้างบัณฑิต-นศ. 3.2 หมื่นคน มิ.ย.นี้ “สุริยะ” ตุน 4 หมื่นล. ให้ SME กู้ ”ไทยซัมมิท” เปิดสมัครใจลาออก

 

เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า “โครงการ อว.สร้างงานในระยะที่ 2” จะมีขึ้นระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายนนี้ รวมระยะเวลา 3 เดือน อัตราค่าจ้าง 9,000 บาทต่อเดือน โดยคาดว่าจะรับสมัครงานได้ 32,718 อัตรา และเปิดรับสมัครได้ทันทีหลังจากที่ได้รับอนุมัติงบประมาณจากสำนักงบประมาณในช่วงกลางเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อจ้างงานบัณฑิตจบใหม่และบัณฑิตที่ตกค้าง เป็นระยะเวลา 1 ปี สำหรับผู้สนใจสมัครทำงานโครงการ อว.จ้างงาน ระยะที่ 2 ติดต่อกลุ่มงานกิจการเลขาธิการสำนักงานปลัด อว. โทร 0-2610-5330-31 หรือศูนย์บริการร่วม อว.1313

 

ขณะที่ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มอบนโยบายให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีดีแบงก์ เร่งดูแลผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 ด้วยการเดินหน้าเติมทุนสินเชื่อเงื่อนไขพิเศษ เพื่อให้เอสเอ็มอีทุกกลุ่มธุรกิจทั่วประเทศ มีเงินทุนไปหมุนเวียน เสริมสภาพคล่อง จ้างงาน และฟื้นฟูธุรกิจให้กลับคืนมาสามารถดำเนินการได้ดีอีกครั้ง คาดว่าจะอนุมัติสินเชื่อได้กว่า 40,000 ล้านบาท ช่วยเอสเอ็มอีได้ราว 24,000 กิจการ รวมถึงการพักชำระหนี้เงินต้นให้กับลูกค้าเดิมเป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี จากเดิม 6 เดือนและให้ขยายระยะเวลาสัญญาเงินกู้จากเดิม 5-7 ปี เป็น 5-10 ปี เพื่อให้เอสเอ็มอีมีเวลาปรับตัว

 

ด้าน นายกรกฤช จุฬางกูร ประธานบริหารบริษัท ซัมมิท โอโตบอดี้ อินดัสตรี จำกัด และรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงสถานการณ์อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์หลังได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ยอดผลิตรถยนต์ลดลงจากผลกระทบโควิด-19 ว่า ขณะนี้อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ได้รับผลกระทบอย่างหนักหลังจากยอดการผลิตรถยนต์ลดลงเฉลี่ยถึง 80% ซึ่งบริษัท ซัมมิท โอโตบอดี้ และบริษัทในเครือ รวมทั้งบริษัทอื่นๆ ต่างได้รับผลกระทบ ดังนั้นเวลาการปรับตัวของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนคือต้องพยายามลดต้นทุน อาทิ การปรับลดเวลาทำงานจาก 2 กะ เหลือ 1 กะ การสลับกันทำงานของแรงงานที่มีอยู่ การเปิดให้ลาออกโดยสมัครใจ

 

“กรณี กลุ่มบริษัท ไทยซัมมิท พีเคเค เปิดโครงการสมัครใจลาออก พร้อมจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมาย เป็นเหตุการณ์ที่บริษัทพยายามปรับตัวและรักษาการจ้างงานให้มากที่สุด ซึ่งอุตสาหกรรมชิ้นส่วนมีการหารือร่วมตลอด แต่ต้องยอมรับว่าผลกระทบจากโควิด-19 ค่อนข้างมาก ปกติคำสั่งซื้อล่วงหน้าคือ 3 เดือนไม่ค่อยเปลี่ยน แต่ปัจจุบันแทบจะเปลี่่ยนทุก 1 เดือน ความไม่แน่นอนทำให้เราต้องปรับตัว” นาย


กรกฤชกล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง