แอปมิจฉาชีพ! เปิดวิธี "ตรวจสอบแอปปลอม" ดูดข้อมูลในส่วนตัวบนมือถือ ดาวน์โหลดมาดูดเงิน ดูดข้อมูล
มิจฉาชีพ มักมีกลโกง หลอกผู้บริโภคอยู่เสมอ โดยเฉพาะการให้ดาวน์โหลดแอปมือถือ บางครั้งเราก็ไม่ทันสังเกตว่า แอปที่ดาวน์โหลดมา เป็นแอปจริง แอปถูกกฎหมายไหม เนื่องจากมีหน้าตา และชื่อใกล้เคียงกับแอปถูกกฎหมายมาก โดยเฉพาะพวกแอปกู้เงิน กู้เงินด่วน ยืมเงินออนไลน์ กู้เงินผ่านแอป ก็มักเป็นอีกช่องทางที่มิจฉาชีพชอบใช้ ขโมยข้อมูลส่วนตัว หรือดูดเงิน
เพจเฟซบุ๊ก ตำรวจสอบสวนกลาง ระบุว่า ในปัจจุบันมิจฉาชีพใช้วิธีสร้างแอปปลอม โดยมักจะมีหน้าตาเหมือนแอปจริงมาก ซึ่งแอปปลอมเหล่านี้มักจะฝังมัลแวร์หรือสคริปท์เพื่อขโมยเอาข้อมูลส่วนบุคคลหรือทางการเงินบนมือถือของเราไปใช้สร้างความเสียหายในหลายรูปแบบ แต่ถ้าไม่อยากตกตกเป็นเหยื่อของแอปปลอมเหล่านี้ ก่อนโหลดแอปทุกครั้งต้องสังเกต 4 เช็คลิสต์ ดังนี้
4 เช็คลิสต์สังเกตแอปปลอม ดูดข้อมูลในส่วนตัวบนมือถือ
- ดาวน์โหลดแอปเจ้าของระบบเท่านั้น โดยสำหรับ IOS คือ App Store และ Android คือ Google Play Store
- ตรวจสอบรีวิวแอป เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เราตรวจสอบ เพื่อในแน่ใจว่าแอปที่โหลดจะไม่ใช่แอปปลอม
- ดูภาพรวมของแอปพลิเคชั่น เช่น ตรวจดูคำอธิบายแอปว่าใช้คำได้ถูกต้องหรือไม่ ตรวจสอบชื่อผู้พัฒนาและเว็บไซต์ว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงพอหรือไม่
- ดูยอดดาวน์โหลดหรือยอดการติดตั้งแอป หากเจอแอปยอดฮิต แต่มียอดดาวน์โหลดต่ำก็ให้สงสัยไว้เลยว่าเป็นแอปปลอมแน่ๆ แต่หากเป็นแอปใหม่ ที่ไม่ค่อยได้รับความนิยม อาจต้องดูรายละเอียดข้างต้นประกอบ
“ตำรวจสอบสวนกลาง” จึงขอเน้นย้ำ หากเราจะโหลดแอปบนมือถือในคราวต่อไป ถึงแม้จะดาวน์โหลดมาจาก App Store หรือ Google Play Store ก็ขอให้ลองตรวจสอบเช็คลิสต์ทั้ง 4 อีกครั้ง เพื่อที่จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของแอปปลอมกัน
ความเสียหายจากการชำระเงินเถื่อน จากแอปปลอม
- เงินหาย ถูกโกง ไม่ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย
- ร้านค้าไม่ได้รับเงินที่ลูกค้าชำระ หรือโอนมาให้
- ถูกหักค่าธรรมเนียมสูง โดยไม่แจ้งล่วงหน้า
- ข้อมูลส่วนตัวรั่วไหล ถูกนำไปใช้ทุจริต
- ระบบไม่ปลอดภัยถูกแฮกได้ง่าย
- โดนขโมยเงินในบัญชี หรือบัตรเครดิต/บัตรเดบิต
- ถูกหลอกลวงให้ร่วมทำผิดกฎหมาย
- ถูกใช้เป็นช่องทางฟอกเงิน
- เสียชื่อเสียง ขาดความน่าเชื่อถือ
เช็กแอปดูดเงิน กู้เงินเถื่อน ไม่ได้เงินจริง
ธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่า ระวังใช้บริการชำระเงินเถื่อน อาจถูกโกง ข้อมูลส่วนตัวรั่วไหล หรือถูกหลอกให้ทำผิดกฎหมาย เช็กก่อนใช้ได้ที่ BOT License Check ได้ง่ายๆ โดยคลิกไปที่เว็บไซต์ https://www.bot.or.th/app/BotLicenseCheck เป็นเว็บไซต์ตรวจสอบรายชื่อผู้ให้บริการชำระเงินที่ได้ใบอนุญาตหรือได้รับการขึ้นทะเบียน
BOT License Check คือ ระบบการตรวจสอบข้อมูลใบอนุญาตหรือใบขึ้นทะเบียนให้ประกอบธุรกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น P-Loan, Nano Finance, e-Money โดยผู้ค้นหาสามารถดาวน์โหลดหนังสือแสดงผลการตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวเพื่อใช้เป็นเอกสารหลักฐานได้
ข้อมูล ตำรวจสอบสวนกลาง , ธนาคารแห่งประเทศไทย
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.
คลิกเลย >>> TrueID Community <<<
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.
คลิกเลย >>> TrueID Community <<<