รีเซต

หมอธีระ เผยระยะเวลาติดเชื้อ"โอมิครอน"เฉลี่ยแล้วสั้นกว่า"เดลตา"เล็กน้อย

หมอธีระ เผยระยะเวลาติดเชื้อ"โอมิครอน"เฉลี่ยแล้วสั้นกว่า"เดลตา"เล็กน้อย
TNN ช่อง16
17 มกราคม 2565 ( 10:53 )
40
หมอธีระ เผยระยะเวลาติดเชื้อ"โอมิครอน"เฉลี่ยแล้วสั้นกว่า"เดลตา"เล็กน้อย

วันนี้( 17 ม.ค.65) รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด ผ่านทางเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat 

โดยระบุว่า "17 มกราคม 2565 ทะลุ 328 ล้านไปแล้ว

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 1,852,010 คน ตายเพิ่ม 3,827 คน รวมแล้วติดไปรวม 328,525,336 คน เสียชีวิตรวม 5,557,349 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ฝรั่งเศส อินเดีย อเมริกา อิตาลี และออสเตรเลีย

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 85.85 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 84.37

ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 42.8 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 43.95 

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 4 ใน 10 อันดับแรก และ 8 ใน 20 อันดับแรกของโลก

...อัพเดต COVID-19

1. ผลศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัคซีน BNT162b2 กับ CoronaVac ในมาเลเซีย

Suah JL และคณะ ทำการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ฉีดตั้งแต่แรกๆ ช่วงเมษายนถึงมิถุนายน กับกลุ่มที่ฉีดหลัง ช่วงกรกฎาคมถึงสิงหาคม 2021 แล้วดูประสิทธิภาพที่เกิดขึ้น 1-30 

กันยายน 2021 ดูจำนวนเคสติดเชื้อที่เกิดขึ้นในผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป

ที่น่าสนใจคือ ประสิทธิภาพในการป้องกันการป่วยจนต้องรักษาในไอซียูนั้น กลุ่มที่ฉีด BNT162b2 นั้น อัตราการป้องกันต่างกันน้อยมาระหว่างกลุ่มที่ฉีดก่อน และกลุ่มที่ฉีดหลัง คือ 86% (ช่วงความเชื่อมั่น 82.8-88.6%) vs 79.3% (ช่วงความเชื่อมั่น 74.3-83.4%) 

ส่วนเรื่องประสิทธิภาพในการป้องกันการเสียชีวิตนั้นพอๆ กันคือ 91.4% vs 91.7%

ในขณะที่กลุ่มที่ฉีด CoronaVac นั้น อัตราการป้องกันลดลงอย่างมากระหว่างกลุ่มที่ฉีดก่อน และกลุ่มที่ฉีดหลัง คือ 56.1% (ช่วงความเชื่อมั่น 54.1-60.2%) vs 29.9% 

(ช่วงความเชื่อมั่น 13.9-43.0%)

ส่วนเรื่องประสิทธิภาพในการป้องกันการเสียชีวิตนั้นต่างกันไม่มากนัก คือ 79.3% vs 76.5%

ผลการศึกษานี้ตอกย้ำให้เห็นความสำคัญของการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นสำหรับคนที่เคยได้รับวัคซีน CoronaVac 

ในขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นความสำคัญของนโยบายวัคซีนระดับประเทศว่า หากประกอบกับผลวิจัยอื่นๆ ทั่วโลก mRNA vaccines ดูจะมีประสิทธิภาพสูงกว่า ทั้งในแง่ระดับภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้น ระยะเวลาคงอยู่ ประสิทธิผลจากการศึกษา และประสิทธิภาพในการใช้ในสถานการณ์จริง 

2. ระยะเวลาของการติดเชื้อ Omicron เฉลี่ยแล้วสั้นกว่า Delta เล็กน้อย

Hay JA และคณะ ทำการศึกษาพลวัตรของไวรัส Omicron พบว่า เฉลี่ยแล้ว Omicron มีระยะเวลาการติดเชื้ออยู่ในร่างกาย ตั้งแต่ติดเชื้อแล้วแบ่งตัวเพิ่มขึ้น (Proliferation phase) จนกระทั่งกำจัดเชื้อออกไป (Clearance phase) ราว 9.87 วัน (ช่วงความเชื่อมั่น 8.83-10.9 วัน) ซึ่งสั้นกว่าสายพันธุ์เดลต้าเล็กน้อย โดยเดลต้าจะประมาณ 10.9 วัน (ช่วงความเชื่อมั่น 9.41-12.4 วัน)"







ภาพจาก AFP/รอยเตอร์/Thira Woratanara

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง