รีเซต

WARRIX รอลุ้นไฮซีซันไตรมาส 4 บล.ดีบีเอสฯแนะ “ซื้อ” เป้า 8.70 บ.

WARRIX รอลุ้นไฮซีซันไตรมาส 4 บล.ดีบีเอสฯแนะ “ซื้อ” เป้า 8.70 บ.
ทันหุ้น
22 พฤศจิกายน 2566 ( 13:56 )
39

#WARRIX #ทันหุ้น - บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส วิเคราะห์หุ้น WARRIX คาดว่าผลประกอบการ 4Q66F จะเติบโตได้ดีทั้ง YoY และ QoQ เนื่องจากเป็นช่วง high season ของธุรกิจ ที่ยอดขายจะเติบโตได้ทั้งผลิตภัณฑ์ license และ non-license โดยในส่วน license มาจากการมีแข่งฟุตบอลใหญ่หลายรายการ เช่น FIFA international เดือนพ.ย., Football/Basketball จตุรมิตร, งานวิ่งในเดือนธ.ค. เป็นต้น ส่วนที่เป็น non-license หนุนโดยช่วงทางการขายต่างๆ และการสั่งทำเพิ่มขึ้น ทั้งจากภาครัฐและเอกชน

 

โฟกัสช่องทางการขายตรงสู่ลูกค้ามากขึ้น คาดสัดส่วนยอดขายผ่านช่องทางของตัวเองจะเพิ่มเป็น 64% ของทั้งหมดโดยบริษัทเพิ่งเปิดร้าน WARRIX ที่บางแคและบางกะปิไปเมื่อ ต.ค.และพ.ย.ปีนี้

 

ประมาณการกำไรสุทธิปี 66F-68F ขยายตัวเฉลี่ย 31% ต่อปี จากรายได้ขยายตัว,การขยายธุรกิจทั้งใน และต่างประเทศ, มี economy of scale & บริหารต้นทุนได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้คาดการลงทุนในสิงคโปร์จะถึงจุดคุ้มทุนได้ใน 1H67F (3Q66 ขาดทุนอยู่ 1 ล้านบาท)

 

ปรับลดคาดการณ์กำไรสุทธิปี 66F-67F ลง 11%/20% สะท้อนยอดขายผ่านช่องทาง TT ต่ำกว่าที่เราคาดไว้เดิม และค่าใช้จ่ายพนักงานสูง

 

บล.ดีบีเอสฯ คงคำแนะนำ “ซื้อ”ปรับราคาพื้นฐานเป็น 8.70 บาท (เดิม 11 บาท) โดยใช้วิธี DCF (WACC 8.2%, TG 2.5%) หรือเทียบเท่ากับ P/E ปี 67F ที่ 22.5 เท่า (PEG 1 เท่า)

 

บล.ลิเบอเรเตอร์ วิเคราะห์หุ้น WARRIX ระบุว่า กำไรสุทธิ 3Q23 ที่ 40 ลบ. +92.4% q-q -0.6% y-y สร้างความผิดหวังให้ตลาด เพราะกำไร 9M23 ที่ 72 ลบ. คิดเป็นเพียง 50.7% ของประมาณการกำไรทั้งปี 2023 ของตลาด เกิดความเสี่ยงของการปรับประมาณการลง กดดันราคาหุ้นลดลง 15%ในสองวันนับแต่วันประกาศงบ ลงไปที่ 6.10 บาท ต่ำกว่าราคา IPO ที่ 6.30 บาท โดยในการประชุมนักวิเคราะห์วันที่ 21 พ.ย. ผู้บริหารได้อธิบายถึงสาเหตุที่ต่ำคาดดังนี้

 

1. บริษัทเลือกควบคุมความเสี่ยงมากกว่ายอดขาย โดยได้ชะลอการส่งสินค้าให้กลุ่มลูกค้า Traditional trade บางรายที่มียอดสั่งสินค้าสูงเต็มวงเงิน และขอขยายเครดิตเทอมแลกกับเป้าขายที่เพิ่มขึ้น ทำให้ระยะเวลาสินค้าคงคลังลดลง q-q จาก 378 เป็น 301 วัน และ ระยะเวลาเก็บหนี้จาก 102 เป็น 83 วัน ซึ่ง ผู้บริหารเผยว่าได้ใช้จังหวะนี้ในการเข้าดูแลราคา/ส่วนลด ให้เหมาะสมมากขึ้น ขณะที่ด้านอุปสงค์ ผู้บริหารยืนยันว่ายังคงแข็งแรง 2. ลูกค้ากลุ่ม Project ควรทำได้ดีกว่านี้ แต่ไตรมาสนี้การแต่งตั้งราชการ(สัดส่วน 60%)ล่าช้า 3. มีการปรับกระบวนการขายในกลุ่ม Modern trade

 

แนวโน้มข้างหน้า : หลังลูกค้า Traditional trade ทยอยชำระค่าสินค้า และวงเงินสั่งสินค้ากลับมา บริษัทได้เข้าไปวางระบบคลังสินค้า, ประกันภัยให้ลูกค้ากลุ่มนี้ใหม่ ล่าสุดรายได้กลุ่มนี้กลับมาปกติใน high season แล้ว ขณะที่ค่าใช้จ่ายขาย และบริหารที่สูงขึ้น +32.5% y-y จากการจัดหากำลังคนก่อนหน้า คาดจะไม่กว่านี้แล้ว ทำให้ทิศทาง 4Q23 จะกลับมาเร่งตัว q-q, y-y อีกครั้ง ผู้บริหารมั่นใจ และคงเป้ารายได้ 1.3 พัน ล้านบาท ปีนี้ (9M23 คิดเป็น 63%)

ส่วนปี 2024 ผู้บริหารตั้งเป้าเติบโตจาก การเน้นสร้างแบรนด์, เน้น product mix กำไรสูง เช่น T-Shirt, สินค้าสตรี ส่วนงาน Project เดินหน้าต่อ และพร้อมทำงานเล็กไซส์ 100 ตัว ได้มาร์จิ้นสูง, เน้นขายในช่องทางตนเอง (ปัจจุบัน 59%), การ sponsorship กับทีมใหม่ๆในอาเซียน เช่น สิงคโปร์ กัมพูชา รวมถึงการเจรจากับพันธมิตร จีน ส่วนเป้าใหญ่รายได้ 2.7 พัน ลบ. ในปี 2026 ยังคงไว้ที่เดิม

 

ราคาตรงนี้ได้เปรียบ

บล.ลิเบอเรเตอร์มองว่า ราคาหุ้นมี downside จำกัด เพราะ 4Q23มีแนวโน้มฟื้นชัดเจน และลุ้น all time high ได้ ขณะที่การแจ้งฯตลาดซื้อหุ้นคืน 70 ล้านบาท (1.8% ระหว่าง 21 พ.ย. 2023 - 20 พ.ค.2024) ด้วยกระแสเงินสดปลอดภาระที่รับคืนจากธนาคารหลัง IPO ยังเสมือนเป็นการจำกัดความเสี่ยงด้านราคาบนกระดานอีกด้วย

บล.ลิเบอเรเตอร์มองว่า ณ ราคาปัจจุบัน เริ่มมีความน่าสนใจมากขึ้นสำหรับนักลงทุนระยะกลาง/ยาว ที่ต้องสะสมหุ้นเติบโต โดย P/E 24E ที่ 21.0 เท่า เทียบกับการเติบโตของกำโร +32.3% y-y เรามองว่าไม่แพง โดย ณ 20 พ.ย. IAA consensus ให้เป้าหมายเฉลี่ย 9.44 บาท/ หุ้น upside 43.0%"

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง