MTLกำสินทรัพย์กว่า6แสนล. พุ่งเป้าลงทุนESGหนุนโตยั่งยืน

#MTL #ทันหุ้น เมืองไทยประกันชีวิต แสดงตัวชัดเน้นลงทุนหลักทรัพย์ ESG แม้มีตัวเลือกน้อยแต่สนับสนุนเต็มกำลัง ขณะเดียวกันก็ต้องกระจายลงทุนในหลักทรัพย์อื่นด้วย เพื่อให้เม็ดเงินลงทุนราว 6 แสนล้านบาทของ MTLเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มอง ESG ท้าทายยุคทรัมป์ แต่ไม่หวั่นไหว เหตุประธานาธิบดีมีเทอม 4 ปี แต่โลกอยู่กับเรานานกว่านั้น
นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ MTL กล่าวถึงในมุมของการดำเนินธุรกิจต้องสร้างสมดุลทั้งในมิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคม และมิติบรรษัทภิบาล (ESG) เพราะ ธุรกิจประกันชีวิต เป็นธุรกิจที่ให้ความคุ้มครองแก่ลูกค้าในระยะยาว ดังนั้น บริษัทจึงให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ภายใต้การกำกับดูแลกิจการ และการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม ที่คำนึงถึงหลัก ESG
*ตัวเลือกลงทุนยังมีน้อย
“นอกจากฐานะของผู้ประกอบการแล้ว เราก็อยู่ในฐานะนักลงทุนสถาบัน สินทรัพย์ลงทุนเรามีกว่า 6 แสนล้านบาท 95%กระจายลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ซึ่งปัจจุบันเราเลือกที่จะลงทุนธุรกิจ หรือบริษัทที่ดำเนินงานภายใต้กรอบ ESG ทั้งหุ้น หุ้นหู้ ตราสารหนี้ เพื่อเป็นสนับสนุนการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อทุกภาคส่วน สร้างการเติบโตได้อย่างยั่งยืน”
อย่างไรก็ตาม การมุ่งหน้าสู่ประตู ESG ของไทยยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น จึงทำให้มีสินทรัพย์ หรือหลักทรัพย์ที่เกี่ยวกับ ESGไม่มากสำหรับการลงทุน ซึ่ง นายสาระ กล่าวว่า เมืองไทยประกันชีวิต ให้ความสำคัญกับการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มี ESG แต่ก็ต้องบริหารพอร์ตให้สมดุลเมื่อตัวเลือกหลักทรัพย์ที่เป็นESG ยังมีไม่มากพอ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เม็ดเงินลงทุนสามารถขับเคลื่อนการเติบโตให้กับเศรษฐกิจไทย รวมถึงผลักดันให้ธุรกิจที่เมืองไทยประกันชีวิตเข้าไปลงทุน มีการปรับตัวดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืน หรือ ESG
การลงทุนเป็นอีกหนึ่งธุรกิจของMTL นอกจากนี้ เมืองไทยประกันชีวิตยังนำ ESG มาเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบผลิตภัณฑ์ และบริการ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับESG และมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงกฎระเบียบที่ส่งเสริมแนวทางการปฏิบัติด้านประกันภัยอย่างมีความรับผิดชอบ รวมถึงส่งเสริมการเติบโตจองระบบนิเวศด้านสุขภาพ (Health Ecosystem)
สำหรับ เมืองไทยประกันชีวิต ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลกได้ร่วมสนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนผ่านโลก ประกาศความมุ่งมั่นในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Commitment) ด้วยเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์จากการดำเนินงานของบริษัท (ขอบแขตที่ 1 และ 2) ภายในปี 2573 (2030) ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินงานภายในบริษัทฯ
โดย ขอบเขตที่ 1 ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กรโดยตรง (Direct Emissions) ได้แก่ การเผาไหม้อยู่กับที่ อาทิ เครื่องจักร การเผาไหม้ที่มีการเคลื่อนที่ อาทิ การใช้พาหนะขององค์กร (ที่องค์กรเป็นเจ้าของเอง) และการรั่วซึม/รั่วไหลของสารเคมีจากกระบวนการหรือกิจกรรม เป็นต้น
และ ขอบเขตที่ 2 ปริมาณก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Energy Indirect Emissions) ได้แก่ การซื้อพลังงานมาใช้ในองค์กร อาทิ พลังงานไฟฟ้า หรือพลังงานนำเข้าอื่น ๆ เช่น ไอน้ำ ความร้อน ความเย็น อากาศอัด เป็นต้น
*ESGไปต่อ
นายปราโมทย์ ศักดิ์กำจร รองกรรมผู้จัดการอาวุโส บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ MTL กล่าวว่า แม้เรื่องESGจะมีความท้าทายจากนโยบายทรัมป์ แต่ เรื่องESGนั้นเดินทางมาไกลเกินหว่าจะย้อนกลับแล้ว และใน หลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะยุโรปยังคงเดินหน้าแนวทางดังกล่าว รวมถึงไทยด้วย ซึ่งสะท้อนจากภาครัฐ ที่สนับสนุนการลงทุนในESGจะท้อนจากการสนับสนุนผ่านกองทุน ThaiESGรวมถึงทางตลาดหลักทรัพย์ปห่งประเทศไทย (ตลท.) ก็ยังคงผลักดันบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เดินหน้าสู่แทนงทางดังกล่าว
“ทรัมป์อาจอยู่แค่ 4 ปี แต่โลกอยู่กับเราไปอีกนาน ดังนั้นระหว่างทางอาจมีความท้าทาย แต่เทรนด์ดังกล่าวก็ยังคงเดินหน้าต่อเนื่อง เพราะนอกจากเป็นความรับผิดชอบต่อ สังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเห็นชัดว่าผลกระทบจากภัยธรรมชาติมีความรุนแรงขึ้น และไทยแม้จะไม่ใช่ผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนสูงระดับต้นๆ แต่เราก็เป็นหนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบที่รุนแรงและเสียหายมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องเดินหน้าต่อ และสำหรับภาคธุรกิจยังเป็นการเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันด้วย”
*ระวังการฟอกเขียว
นายปราโมทย์ กล่าวว่า การลงทุนในบริษัท หุ้น หุ้นกู้ ESG สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือ การฟอกเขียว (Greenwashing) ซึ่งเป็นการสร้างภาพว่าบริษัทมี ESG มีความยั่งยืน แต่ไม่ได้มีการดำเนินการจริง และสุดท้ายในระยะยาวบริษัทเหล่านี้ก็จะไม่สามารถอยู่รอดได้
สำหรับเมืองไทยประกันชีวิตก็มีการเดินหน้าด้าน ESG เช่นในกลยุทธฺ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นั้นบริษัทได้เปลี่ยนผ่านไปสู่แหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่นการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ การศึกษา และทยอยปรับเปลี่ยนรถของบริษีทจากสันดาว สู่ รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ปรับปรุงกระบวนการทำงาน และบริการด้วยการใช่เทคโนโลยี และดิจิทัลมากขึ้น เพื่อลดการใช้ทรัพยกาธรรมชาติ กลยุทธ์ด้านสังคม มุ่งสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิต และสุขภาพให้แก่สังคมไทย ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการด้วยอัตราเบี้ยประกันที่เหมาะสม เป็นต้น