รีเซต

'หลอดไฟ' จากเสาไฟถนน เขาเลือกความสว่างกันอย่างไร?

'หลอดไฟ' จากเสาไฟถนน เขาเลือกความสว่างกันอย่างไร?
TeaC
11 มิถุนายน 2564 ( 13:14 )
1.2K
'หลอดไฟ' จากเสาไฟถนน เขาเลือกความสว่างกันอย่างไร?

 

เสาไฟกินรี - เครื่องบิน - โซลาร์เซลล์ หรือเสาไฟถนนส่องสว่างวิบวับ ๆ โผล่เป็นดอกเห็ด จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความคุ้มค่าของคนในพื้นที่จริง ๆ หรือไม่ ? แต่วันนี้ TrueID ขอหยิบเรื่องหลอดไฟมาคุยกัน เพราะแสงสว่างถือเป็นปัจจัยหลักของการดำรงชีวิตรองจากปัจจัย 4 แถมยังมีประโยชน์ต่อผู้ใช้รถยนต์ในการเดินทางบนท้องถนน ซึ่งประเภทของโคมไฟถนนมีทั้งหมด 5 ประเภท ดังนี้

 

 

1. หลอด Incandescent

 

หลายคนรู้จักกันดีเนื่องจากเป็นหลอดไฟที่ใช้กันมามากกว่า 90 ปี เป็นหลอดไฟทั่วไปที่ใช้ในชีวิตประจำวัน นิยมนำมาใช้ในครัวเรือนสูงถึง 85% ซึ่งนิยมเรียกอีกชื่อที่คุ้นเคยว่า หลอดไส้ ภายในหลอดเป็น ไส้ที่ทำจากทังสเตน ให้ความร้อนสูงมากประมาณ 100 - 400 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว

 

ขณะที่ ประสิทธิภาพในการส่องสว่างกลับมีเพียง 10-15 lm/W ดังนั้น เมื่อมีความร้อนสูงมากก็ยิ่งสูญเสียพลังงานมากด้วยเช่นกัน แม้ว่าหลอดประเภทนี้จะมีราคาถูก แต่อายุการใช้งานจะสั้น ประมาณ 750 ชั่วโมง ซึ่งหลอดไส้จะมีหลายวัตต์และหลายขนาดแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งาน สามารถใช้ได้ทั้ง ภายใน และ ภายนอก หลอดไส้บางประเภทจะทนทานต่อแสงภายนอกและสามารถทำให้มืดลงได้ตามความต้องการ

 


2. หลอดฮาโลเจน

 

ไส้หลอดทาด้วยทังสเตน แต่บรรจุสารตระกูลฮาโลเจน ซึ่งจะแผ่ความร้อนออกมากจากใยลวดเส้นบาง ๆ ที่ผลิตจากแก้วหิน รอบล้อมไปด้วยแก๊สฮาโลเจนที่มีส่วนช่วยรักษาใยลวดเพื่อป้องกันการระเหิดตัวของไส้หลอด มีประสิทธิภาพดีกว่าหลอดไส้ปกติ 2-3 เท่า หรือประมาณ 1500 – 3000 ชั่วโมง 

 

ส่วนการใช้งานนั้นใช้ได้ทั้งภายในและภายนอกและนิยมใช้ตามสนามบิน และงานส่องเน้น เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์บางชนิด เครื่องฉายสไลด์ เป็นต้น แต่เป็นหลอดไฟที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 

 

 

3. หลอดเมทัลฮาไลด์ หลอดโซเดียม หลอดแสงจันทร์  

 

เป็นหลอดไฟที่นิยมใช้ในการส่องสว่างตามท้องถนนและโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งกินไฟเป็นอย่างมากประมาณ 400 - 500 W และขณะใช้งานจะมีอุณหภูมิของหลอดร้อนมากประมาณ 100 - 400 องศา และมีอายุการใช้งานเฉลี่ย 2-3 ปี 

 


4. หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent)

 

อีกหนึ่งหลอดไฟที่คุ้นเคย เรียกอีกชื่อว่า หลอดนีออนหลอดฟลูออเรสเซนต์ จะใช้กระแสไฟเพื่อกระตุ้นก๊าซภายในหลอดให้ผลิตแสงไฟ ซึ่งหลอดฟลูออเรสเซนต์จะไม่สามารถปรับแสงให้สลัวได้ แถมเป็นหลอดไฟที่ให้ความร้อนมากกว่าหลอดไฟทั้งสองประเภทที่กล่าวมาข้างต้น โดยหลอดฟลูออเรสเซนต์จะสามารถประหยัดพลังงานได้ประมาณ 75%  แต่ยังคงไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเหมือนกัน

 

 

5. หลอด LED

 

สำหรับหลอด  LED ย่อมาจาก Light Emitting Diode เป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน จะมีลักษณะการให้แสงสว่างที่แตกต่างจากหลอดไฟประเภทอื่น และยังประหยัดพลังงาน เพราะให้ค่าพลังงานไฟฟ้าที่ต่ำ แถมยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย แต่ข้อเสียคือ จะมีราคาแพงมากกว่าหลอดประเภทอื่น แต่ก็ถือว่าคุ้มค่ามากกว่าหลอดประเภทอื่น

 

 

เสาไฟถนน จะซื้อทั้งทีต้องรู้อะไรบ้าง?

1. ก่อนอื่นต้องรู้ว่านำเสาไฟถนน ไปติดตั้งไว้บริเวณใด

2. ใช้สำหรับงานประเภทไหน เช่น งานติดตั้งเสาไฟถนนบริเวณทางเดิน ฟุตบาท ข้างถนน 2 เลน, 4เลน เป็นต้น

3. งบประมาณในการติดตั้ง

4. เลือกเสาไฟถนน 

 

เสาไฟถนนมีกี่ประเภท?

 

เสาไฟถนนแต่ละต้นนั้น มีความแตกต่างกันตั้งแต่รูปแบบ ส่วนของเรื่องความสูงก็มีให้เลือกหลากหลายขนาดตั้งแต่ 3 เมตร 6 เมตร และ 8 เมตร คือ

 

 

  • เสาไฟถนนปลายเรียว
  • เสาไฟถนนชนิดกิ่งเดียว
  • เสาไฟถนนชนิดกิ่งคู่ 

 


5. เลือกใช้เสาไฟถนนคู่กับโคมไฟถนนแบบใด

6. เลือกจำนวนวัตต์ เนื่องจากมีผลต่อการส่องสว่างของแสงโคมไฟถนน

 

และนี่คือการเลือกใช้เสาไฟฟ้าที่ต้องคำนึงถึงความพอดีกัน ให้ถูกประเภทกับงานที่จะใช้ และนอกจากนี้ก็ยังมีการเลือกโคมไฟถนนที่มีหลากหลายประเภท เช่น โคมไฟถนน LED โคมไฟถนนโซล่าเซลล์ โคมไฟถนนหลอดฟลูออเรสเซนต์ ส่วนเสาไฟฟ้าก็ควรเลือกให้พอดีที่ต้องควบคู่เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน

 

 

ส่อง 3 เสาไฟถนนดัง ต้นละเท่าไหร่ ?

 

เสาไฟกินรี 
อบต.ราชาเทวะ จ.สมุทรปราการ 6,773 ตัน 
ต้นละ 94,884 บาท
รวม 642,650,000 บาท

 

เสาไฟเครื่องบิน
อบต.หนองปรือ จ.สมุทรปราการ 18 ต้น
ต้นละ 106,800 บาท
รวม 2,485,000 บาท

 

เสาไฟโซลาร์เซลล์
อบจ.อ่างทอง จ.อ่างทอง 1,707 ต้น
ต้นละ 83,913 บาท
รวม 143,240,300 บาท

 

ข้อมูล : Ch3ThailandNews , streetlightled

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง