รีเซต

วันเข้าพรรษา 2566 เปิด "10 ของสังฆทาน" ถวายแล้วพระได้ใช้ประโยชน์

วันเข้าพรรษา 2566 เปิด "10 ของสังฆทาน" ถวายแล้วพระได้ใช้ประโยชน์
TNN ช่อง16
25 กรกฎาคม 2566 ( 09:49 )
148
วันเข้าพรรษา 2566 เปิด "10 ของสังฆทาน" ถวายแล้วพระได้ใช้ประโยชน์

สังฆทาน "วันเข้าพรรษา 2566" แนะสิ่งของจำเป็นถวายพระได้ใช้ประโยชน์ และมีอะไรบ้างที่ไม่ควรถวาย


วันเข้าพรรษา ปี 2566 ตรงกับวันพุธที่ 2 สิงหาคม 2566 แรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง(88) ปีเถาะ โดยจัดเป็นพิธีกรรมของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 จนถึงวันขึ้น 18 ค่ำเดือน 11 เรียกว่า ครบไตรมาส คือ 3 เดือนนี่เป็นการเข้า "พรรษาต้น" ส่วนการเข้า "พรรษาหลัง" เริ่มตั้งแต่วันแรมค่ำ 1 เดือน 9 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12


หลักธรรมที่ควรปฏิบัติ


ระหว่างเทศกาลเข้าพรรษานั้น พุทธศาสนิกชนนิยมไปวัด ถวาย ทาน รักษาศีล ฟังธรรมและเจริญจิตภาวนา ซึ่งเป็นการเว้นจากการกระทำความชั่วบำเพ็ญความดีและชำระจิตให้สะอาดแจ่มใสเคร่งครัดยิ่งขึ้น หลักธรรมสำคัญที่สนับสนุน คุณความดีดังกล่าวก็คือ "วิรัติ"คำว่า "วิรัติ" หมายถึงการงดเว้นจากบาป และความชั่วต่าง ๆ จัดเป็นมงคลธรรมข้อหนึ่ง เป็นเหตุนำบุคคลผู้ปฏิบัติตามไปสู่ความสงบสุขปลอดภัยและความเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไปวิรัติ การงดเว้นจากบาปนั้น จำแนกออกได้เป็น 3 ประการ คือ

1. สัมปัตตวิรัติ ได้แก่การงดเว้นจากบาป ความชั่วและอบายมุขต่าง ๆ ด้วยเกิดความรู้สึกละอาย (หิริ) และเกิดความรู้สึกเกรงกลัวบาป(โอตตัปปะ) ขึ้นมาเอง เช่น บุคคลที่ได้สมาทานศีลไว้ เมื่อถูกเพื่อนคะยั้นคะยอให้ดื่มสุรา ก็ไม่ย่อมดื่มเพราะละอาย และเกรงกลัวต่อบาปว่าไม่ควรที่ชาวพุทธจะกระทำเช่นนั้นในระหว่างพรรษา

2. สมาทานวิรัติ ได้แก่การงดเว้นจากบาป ความชั่วและอบายมุขต่าง ๆ ด้วยการสมาทานศีล ๕ หรือศีล ๘ จากพระสงฆ์โดยเพียรระมัดระวังไม่ทำให้ศีลขาดหรือด่างพร้อย แม้มีสิ่งยั่วยวนภายนอกมาเร้าก็ไม่หวั่นไหวหรือเอนเอียง

3. สมุจเฉทวิรัติ ได้แก่การงดเว้นจากบาป ความชั่วและอบายมุขต่าง ๆ ได้อย่างเด็ดขาดโดยตรงเป็นคุณธรรมของพระอริยเจ้า ถึงกระนั้นสมุจเฉทวิรัติ อาจนำมาประยุกต์ใช้กับบุคคลผู้งดเว้นบาปความชั่วและอบายมุขต่าง ๆ ในระหว่างพรรษากาลแล้ว แม้ออกพรรษาแล้วก็มิกลับไปกระทำหรือข้องแวะอีก เช่นกรณีผู้งดเว้นจากการดื่มสุราและสิ่งเสพติดระหว่างพรรษากาล แล้วก็งดเว้นได้ตลอดไป เป็นต้น


การถวายสังฆทานในวันเข้าพรรษา


วันพระใหญ่ เข้าพรรษา สิ่งที่ประชาชนทั้งหลายเลือกที่จะทำบุญ และเป็นที่นิยมกันมากๆ คือการถวายสังฆทาน เป็นการทำบุญถวายของให้กับพระสงฆ์ ที่เลือกซื้อข้าวของเครื่องใช้ที่มีประโยชน์ต่อพระสงฆ์อย่างแท้จริง อาทิ  แปรงสีฟันขนแปรงแข็ง ผ้าอาบน้ำฝนชนิดบาง ข้าวสารเก่า ยาหมดอายุ และยังมีสิ่งของอื่นๆ


“สังฆทาน” คือ ทานที่ตั้งใจถวายแก่สงฆ์หรือผู้แทนของสงฆ์ ไม่จำเพาะเจาะจงรูปใดรูปหนึ่ง หากถวายโดยเจาะจง เรียกว่า ‘บุคลิกทาน’ ดังนั้น สังฆทานมีอานิสงส์มากกว่าบุคลิกทาน เพราะผู้ถวายมีจิตใจที่กว้างขวาง ไม่เจาะจงว่าจะเป็นภิกษุรูปใด เป็นการแสดงถึงความตั้งใจจะถวายด้วยศรัทธาอันเป็นสาธารณะ



10 ของสังฆทานที่ถวายแล้วพระได้ประโยชน์


1. เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ เนื่องจากพระสมัยนี้ต้องเรียนพระปริยัติธรรม


2. มีดโกน สำหรับการโกนหนวด อาจจะซื้อมีดโกนหนวดเหมือนที่ฆราวาสใช้ต่างหาก เพราะใบมีดปลงผม (โกนศีรษะ) ถ้าเก็บไว้เฉพาะปลงผมครั้งต่อไปในวันโกนหน้า จะได้ไม่ทื่อเร็วเกินไป และด้ามมีด ปลงผมของบางรูปอาจไม่มีกระบังรองสำหรับ โกนหนวด ทำให้บาดขณะโกนหนวดได้

3.ผ้าไตรจีวร ที่มีความยาวพอที่จะนุ่งห่มได้มีความหนาพอเหมาะสม เพราะผ้าที่ติดมากถังเหลืองมันทั้งสั้น ทั้งบาง ทำให้พระท่านลำบากใจเวลาสวมใส่ ขาดความมั่นใจและเสียภาพลักษณ์ที่ดีของสงฆ์ ผู้ใดถวายผ้าไตรจีวร จึงได้อานิงส์มากนัก

4. ซีดีธรรมะ หนังสือธรรมะ หนังสือเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม หนังสือเกี่ยวกับสุขภาพ หรือหนังสือ ความรู้ต่างๆ ที่คิดว่า พระสงฆค์วรรับรู้เพื่อนำไปบอกกล่าวแก่ญาติโยมได้

5. รองเท้า พระท่านต้องเดินบิณฆบาตร ธุดงค์ ไปเรียนหนังสือ ไปกิจนิมนต์ตามที่ต่างๆ บางรูปต้องทำงานที่ใช้แรงงานในวัด เช่น ก่อสร้าง ทำสวน สิ่งที่ต้องรับภาระหนักก็คือ รองเท้า ที่มักจะขาดเสียหายอยู่บ่อยๆนั่นเอง รองเท้าจึงเป็นอีกสิ่งที่มีความสำคัญ

6. ยาสมุนไพรต่างๆ รวมทั้งยาแผนปัจจุบัน เช่น พาราเซตามอล ยาแก้ปวดท้อง ท้องเสีย เบตาดีนสำรหับใส่แผลสด ฯลฯ

7. ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า สีเหลือง เหลืองหม่น (อาจพิจารณาตามสีจีวรที่ท่านครอง) เพราะผ้าขนหนูที่ติดมากับถังเหลืองมักหยาบ เล็ก จนบางครั้งนำมาใช้ไม่ได้ในชีวิตจริง

8. จาน ชาม ช้อน ส้อม อาจสอบถามดูว่าวัดนั้นๆ ต้องการจำนวนมากหรือไม่ เพื่อให้ชาวบ้านหยิบยืมได้ด้วยในงานบุญประเพณีต่างๆ รวมทั้งเครื่องมืองานช่าง เช่น ค้อน ตะปู ไขควง หรืองานเกษตร เช่น จอบ เสียม พลั่ว และอุปกรณ์งานทำความสะอาด เช่น ไม้กวาดอ่อน ไม้กวาดแข็ง ถังขยะ ที่ตักผง ฯลฯ

9. เครื่องดื่มสมุนไพรพร้อมชง จาพวกขิงผง ชารางจืด มะตูม, นม UHT, น้ำผัก น้ำผลไม้ ,เครื่องดื่มผสมธัญพืช หรือจะเป็นเครื่องดื่มรสช็อกโกแลต ไมโลหรือโอวัลตินพร้อมดื่มก็ได้ ที่สำคัญอย่าลืม ดูวันหมดอายุก่อนซื้อด้วย

10. สบู่ จัดเป็นเครื่องประทินผิว แต่พระก็ใช้ได้เพื่อทำความสะอาดและระงับกลิ่นกาย ยาสีฟัน ชนิดผงหรือแบบหลอดก็ได้ ยาสีฟันสมุนไพรก็น่าสนใจ แปรงสีฟัน เลือกที่เป็นชนิดขนแปรงอ่อนๆ จะได้สบายเหงือก ยาสระผม เอาไว้ใช้เวลาโกนศีรษะจะได้โกนได้ง่ายขึ้น ผงซักฟอก ใช้ซักจีวรเพื่อความสะอาด 

น้ำยาล้างห้องน้ำใช้ทำความสะอาดสุขาของวัด น้ำยาเช็ดพื้น เพราะนอกจากจะช่วยผ่อนแรงในการทำความ สะอาด สลายคราบแล้ว บางยี่ห้อยังช่วยฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในมูลนกพิราบ ฉี่หมา ฉี่แมว ฉี่หนู เห็บ หมัด ของหมาวัดได้อีกด้วย สารส้ม สาหรับดับกลิ่นตัว ถ้าดีกว่านั้น ควรหาสารส้มที่มีการทำให้มนพร้อมใช้ (กับรักแร้) และสเปรย์ดับกลิ่นตัวอาจมีกลิ่นที่ไม่เหมาะ(ยกเว้นชนิดไม่มีกลิ่น)

ข้าวของบางอย่างที่ไม่ควรถวาย


- บุหรี่ กาแฟ สิ่งเสพติด เครื่องดื่มชูกาลังทุกประเภท


- ผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุด้วยโฟม เพื่อหลีกเลี่ยงมลพิษทางสิ่งแวดล้อม


- อาหารกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง เพราะเป็นอาหารที่มีสารกันบูด สารเคมี ไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพ ใส่เป็นผลไม้สดจะดีกว่า ถ้าในวัดมีครัวอาจซื้อผักสดเข้าครัวก็ได้


- บะหมี่กึ่งสาเร็จรูป อาหารบิณฑบาตในตอนเช้าเป็นอาหารสด และมีคุณค่ากว่า ไม่ควรส่งเสริมให้ท่านฉันอาหารที่มีคุณค่าน้อย


-น้ำอัดลมหรือน้ำที่ผ่านการปรุงแต่งกลิ่นและสี




ที่มา พระอัครเดช ญาณเตโช จากเว็บไซต์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธราช

ภาพจาก TNN Online

ข่าวที่เกี่ยวข้อง