รีเซต

นักดาราศาสตร์ค้นพบ กาแลคซี่ใหม่ 2 แห่ง อยู่ห่างจากโลก 20 พันล้านปีแสง

นักดาราศาสตร์ค้นพบ กาแลคซี่ใหม่ 2 แห่ง อยู่ห่างจากโลก 20 พันล้านปีแสง
TNN ช่อง16
2 ธันวาคม 2564 ( 00:28 )
433
นักดาราศาสตร์ค้นพบ กาแลคซี่ใหม่ 2 แห่ง อยู่ห่างจากโลก 20 พันล้านปีแสง

ทีมนักดาราศาสตร์จากสถาบัน Niels Bohr แห่งมหาวิทยาลัย University of Copenhagen’s Niels Bohr Institute ได้พบกับกาแลคซีใหม่ 2 แห่ง ซึ่งอยู่ไกลจากโลกไปกว่า 29 พันล้านปีแสงโดยใช้ Atacama Large Milimeter Array (ALMA) เครื่องวัดระยะทางดาราศาสตร์จากกล้องโทรทรรศน์วิทยุ 66 ตัวที่อยู่ในทะเลทราย Atacama Desert ของชิลี


กาแลคซีใหม่ทั้ง 2 แห่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยเลนส์ออพติคอลของกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Hubble Space Telescope แต่ด้วยเทคโนโลยี ALMA ก็ทำให้สามารถพบกาแลคซีใหม่ทั้ง 2 แห่งได้สำเร็จ ด้วย ALMA ทำให้สามารถสร้างภาพท้องฟ้าที่มีความละเอียดสูงและสามารถจับคลื่นวิทยุจากส่วนลึกที่มืดที่สุดของจักรวาลได้สำเร็จ


ขอบคุณภาพจาก : science.ku.dk

 

ก่อนหน้านี้เหล่านักดาราศาสตร์ได้เคยค้นพบกาแลคซีที่อยู่ไกลออกไปมากด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Hubble Space Telescope แต่ก็ไม่ชัดเจน เพราะกาแลคซีที่พบถูกปกคลุมล้อมรอบไปด้วยฝุ่น แสงส่วนใหญ่ถูกปิดกั้น ทำให้กล้องโทรทรรศน์อวกาศ Hubble Space Telescope มองทะลุผ่านเข้าไปไม่ถึง


ขอบคุณภาพจาก : science.ku.dk

 


จากการค้นพบกาแลคซี่ทั้งสองอีกครั้ง ทำให้มันถูกเปลี่ยนชื่อไปเป็น REBELS-12-2 และ REBELS-29-2 โดยแสงของทั้ง 2 กาแลคซีจะเดินทางจนมาถึงเราได้โดยใช้เวลาเพียง 13 พันล้านปี และด้วยการขยายตัวของจักรวาล ตอนนี้จักรวาลทั้ง 2 อยู่ห่างออกไปเพียง 29 พันล้านปีแสงเท่านั้น


ขอบคุณภาพจาก : science.ku.dk

 

การค้นพบที่มากขึ้น ทำให้ตอนนี้เหล่านักดาราศาสตร์พบว่ามีกาแลคซีมากกว่าที่ตัวเขาเคยคิดเอาไว้ เพียงแค่พวกมันถูกซ่อนอยู่หลังใต้ฝุ่นที่ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็ก ซึ่งตอนนี้สามารถตรวจพบได้ด้วย ALMA และเทคนิคของเหล่านักวิจัยทั้งหมด เหล่านักดาราศาสตร์เชื่อว่า 10 - 20% ของกาแลคซีในยุคแรก จะต้องถูกปิดซ่อนอยู่หลังฝุ่นจักรวาลอย่างแน่นอน อ้างอิงและเปรียบเทียบจากกาแลคซีที่ตรวจพบหรือเชื่อว่าเป็นจักรวาลยุคแรกเมื่อประมาณ 13 พันล้านปีก่อน


เชื่อว่าการเปิดตัวกล้อง James Webb Space Telescope ของ NASA ในวันที่ 22 ธันวาคมนี้ จะช่วยให้เราค้นพบอะไรที่เกี่ยวกับกาแลคซีอีกมาก


แหล่งที่มา interestingengineering.com

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง