รีเซต

ผู้ประกอบการต้องรู้! ปรุงกัญชาให้ลูกค้า ต้องแจ้ง 6 ข้อ

ผู้ประกอบการต้องรู้! ปรุงกัญชาให้ลูกค้า ต้องแจ้ง 6 ข้อ
NewsReporter
15 มิถุนายน 2565 ( 13:39 )
397
ผู้ประกอบการต้องรู้! ปรุงกัญชาให้ลูกค้า ต้องแจ้ง 6 ข้อ

จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "Sirijan Teerawan" ได้โพสต์ข้อความ ฝากถึงพ่อค้าแม่ค้าทุก ว่า "ฝากถึงพ่อค้า แม่ค้าทุกท่านนะคะ ไม่ใช่ว่าทุกคนจะกินกัญชาได้ สรุปเราแพ้กัญชาค่าาา ด้วยความเสียดายกับข้าวที่ซื้อมา(ใส่กัญชา) เราก็เลยกินเองคนเดียว กินช่วงค่ำๆ พอดึกๆ อาการออกหนัก ปวดหัว คอแห้ง คอบวม กลืนน้ำลายลำบาก กระหายน้ำมาก เพลีย ปวดท้อง รู้นะว่าเป็นอาการแพ้ แต่ไม่รู้แพ้อะไร เลยไม่ไปโรงพยาบาล ก็กินยาแก้ปวด เกลือแร่ แล้วเพลีย ปวดท้อง ปวดหัว กระหายน้ำ 3 วัน บอกเลยทรมานมาก อยากให้เพื่อนๆ ลองถาม หรือสังเกตอาหาร ก่อนสั่ง ก่อนกินนะคะ" พร้อมกับรูปภาพถุงต้มจืดที่มีใบกัญชาอยู่ในถุง และรูปที่กำลังไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลพนัสนิคม

 

ล่าสุดกรมอนามัย ออกประกาศคุมสถานประกอบกิจการอาหาร ที่นำส่วนประกอบของกัญชามาปรุง-ทำอาหาร ต้องเปิดเผยเอกสารหรือแสดงหลักฐานแหล่งที่มา และวัตถุประสงค์ในการนำใบกัญชามาใช้ประโยชน์ เป็นส่วนประกอบของอาหาร หลัก ๆ รวม 6 ข้อ กำชับห้ามโฆษณาสรรพคุณในการป้องกันหรือรักษาโรคดังนี้

 

1) จัดทำข้อความที่แสดงข้อมูลเป็นสถานประกอบกิจการอาหารที่มีการใช้กัญชา

2) แสดงรายการอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาทั้งหมด

3) แสดงข้อมูลปริมาณการใช้ใบกัญชาเป็นส่วนประกอบต่อรายการอาหารตามประเภทการทำ ประกอบหรือปรุงอาหาร เช่น อาหารทอด แนะนำการใช้ใบกัญชาสด 1-2 ใบสดต่อเมนู สำหรับอาหารประเภทผัด แกง ต้ม ผสมในเครื่องดื่มแนะนำการใช้ใบกัญชาสด 1 ใบสดต่อเมนู

4) แสดงข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัยในการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีใบกัญชาเป็นส่วนประกอบ

5) แสดงคำเตือนรายการอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาให้แก่ผู้บริโภคที่มีความเสี่ยง หากรับประทานอาหารที่ใช้ใบกัญชาทราบ ด้วยการระบุข้อความ “เด็กและวัยรุ่นช่วงอายุน้อยกว่า 18 ปี ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของกัญชา เช่น ขนม อาหารและเครื่องดื่ม สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน”

“หากมีอาการผิดปกติ ควรหยุดรับประทานทันที” “ผู้ที่แพ้หรือไวต่อสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) หรือสารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol, CBD) ควรระวังในการรับประทาน อาจทำให้ง่วงซึมได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล”

6) ห้ามแสดงข้อความหรือโฆษณาสรรพคุณในการป้องกันหรือรักษาโรค

 

ข้อมูล : กรมอนามัย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง