รีเซต

Elon Musk ปิดดีล Twitter.. พร้อมไล่ CEO และ CFO ออกทันที !!

Elon Musk ปิดดีล Twitter.. พร้อมไล่ CEO และ CFO ออกทันที !!
TNN ช่อง16
28 ตุลาคม 2565 ( 10:51 )
54

อีลอน มัสก์ (Elon Musk) สามารถปิดดีล ทวิตเตอร์ (Twitter) ไปได้สำเร็จที่จำนวนเงิน 4.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หลังพยายามเข้าซื้อมาหลายเดือน และหลังจากเข้าซื้อได้สำเร็จ เขาก็ไล่ CEO (ซีอีโอ) ของ Twitter ออกทันที


การเข้าซื้อ Twitter ของ Elon Musk


การเข้าซื้อกิจการในครั้งเริ่มต้นในเดือนมีนาคม อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ยื่นข้อเสนอเข้าซื้อ Twitter ต่อมาในเดือนเมษายน เขาเผยว่าเขาแค่อยากถือหุ้นเพียง 9.2% และในเดือนพฤษภาคม เขาได้ประกาศขอซื้อบริษัทแทน ด้วยมูลค่า 4.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 1.6 ล้านล้านบาท การเข้าซื้อกิจการไม่ได้ราบรื่นและเกิดดราม่าจนผู้บริหาร Twitter ออกมาต่อต้านการเข้าซื้อด้วยการเพิ่มจำนวนหุ้นในตลาดหรือพอยซั่น พิล (Poison Pill) แต่การซื้อขายก็จบลง



ภาพจาก : cnbc.com

 

อีลอน มัสก์ (Elon Musk) เปิดเผยว่า Twitter ปิดบังตัวเลขที่แท้จริงของบัญชีผู้ใช้งานปลอม  อย่างไรก็ตาม Twitter ยืนยันมีบัญชีผู้ใช้งานปลอมเพียง 5% เท่านั้นจากบัญชีผู้ใช้งานทั้งหมดกว่า 345.3 ล้านคน ในปี 2022 


ต่อมา Twitter ยื่นฟ้องอีลอน มัสก์ (Elon Musk) จนเขาต้องขายหุ้น Tesla มูลค่า 6.9 พันล้านดอลลาร์ เพื่อเตรียมสู้คดี ถ้าหาก Elon Musk แพ้คดีศาลอาจบังคับให้เขาซื้อบริษัท Twitter ด้วยมูลค่ากว่า 4.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หลังจากนั้นหุ้นของ Twitter ก็ต่ำกว่าที่ Elon Musk ยื่นเสนอขอซื้อไปที่ 54.20 ดอลลาร์ต่อหุ้น เหลือเพียง 40 ดอลลาร์ ณ วันที่ 6 กันยายน




ในช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ยื่นข้อเสนอเข้าซื้อ Twitter อีกครั้งในราคาเดิม 54.20 ดอลลาร์ต่อหุ้น ราคาหุ้นของบริษัททวิตเตอร์ Twitter บวกขึ้นทันที 15% และล่าสุดอีลอน มัสก์ ปิดดีลซื้อ Twitter เรียบร้อยด้วยมูลค่า 4.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ


เหตุผลที่เข้าซื้อ Twitter


อีลอน มัสก์ (Elon Musk) โพสต์อธิบายเหตุผลที่เขาซื้อ Twitter อย่างละเอียด ว่าเป้าหมายของเขานั้นคือการสร้าง "Common Digital Town Square" หรือถ้าแปลเป็นไทยง่าย ๆ ก็คือพื้นที่ส่วนกลางที่ผู้คนเข้ามาพูดคุยและถกเถียงกัน โดยที่ลดความรุนแรงลง เมื่อความเห็นแต่ละฝ่ายไม่ตรงกัน เขามองว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะกับโลกยุคปัจจุบันที่โซเชียลมีเดียเริ่มแบ่งกลุ่มคนให้อยู่เป็นกลุ่ม ๆ ฝ่ายขวาก็อยู่กับฝ่ายขวา ฝ่ายซ้ายก็อยู่กันแค่ฝ่ายซ้าย แต่ละฝ่ายก็คุยกันเอง กลายเป็นว่าแทนที่จะดี ก็กลายเป็นยิ่งเพิ่มความเกลียดชังและความแตกแยกให้มากขึ้นแทน


อีลอน มัสก์ (Elon Musk) เผยว่าตนไม่ได้คิดว่าการซื้อ Twitter เขาไม่ได้ซื้อมันเพราะอยากได้เงินมากขึ้น เขาแค่อยากช่วยสังคม และมองว่าดีลนี้เป็นเรื่องที่ท้าทายและมีโอกาสล้มเหลวสูง


ภาพจาก : เพจ TNN Tech

 


หลังเข้าซื้อ Twitter ได้สำเร็จ


ภาพเผยให้เห็นอีลอน มัสก์ (Elon Musk) ที่กำลังแบกอ่างล้างหน้าเข้าออฟฟิศ Twitter พร้อมแคปชันมุก 'Let that sink in!' นอกจากนี้อีลอน มัสก์ยังเปลี่ยนคำอธิบายบนทวิตเตอร์ของตัวเองเป็น 'Chief Twit' หรือ 'หัวหน้าของทวิตเตอร์' และเปลี่ยนตำแหน่งที่ตั้งเป็น 'Twitter headquarters' หรือ 'สำนักงานใหญ่ของทวิตเตอร์'


ช่วงวันแรก ๆ ของการทำงานอีลอน มัสก์เริ่มต้นด้วยการไล่ CEO (ซีอีโอ) ของ Twitter อย่าง Parag Agrawal ออก รวมไปถึงไล่ CFO (ซีเอฟโอ) อย่าง Ned Segal ออก แค่นั้นยังไม่พอเขาได้ไล่ที่ปรึกษาทั่วไป Sean Edgett และ Vijaya Gadde หัวหน้าฝ่ายกฎหมาย นโยบาย และความไว้วางใจออก จากนั้นให้วิศวกรของ Tesla เข้าไปช่วยตรวจดูโค้ดของ Twitter และดูว่าบริษัทยังขาดอะไรอยู่อีก


อ่านเรื่องราวทั้งหมดของ Twitter ได้ที่นี่ [คลิก]

อ่านเรื่องราวทั้งหมดของ Elon Musk ได้ที่นี่ [คลิก]


แหล่งที่มา axios.com

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง