รีเซต

ไขข้อสังสัย! 'ไฮโซลูกนัท' ตาบอด ทำไมไม่ควักลูกตาออก?

ไขข้อสังสัย! 'ไฮโซลูกนัท' ตาบอด ทำไมไม่ควักลูกตาออก?
TeaC
24 สิงหาคม 2564 ( 23:06 )
1.8K
ไขข้อสังสัย! 'ไฮโซลูกนัท' ตาบอด ทำไมไม่ควักลูกตาออก?

"ไฮโซลูกนัท" หรือนายธนัตถ์ ธนากิจอำนวย ถูกกระสุนแก๊สน้ำตายิงใส่บริเวณคิ้วขวาส่งผลให้ดวงตาบอดในที่สุด และดูเหมือนชื่อของ "ลูกนัท" กลับเป็นที่สนอกสนใจในแวดวงบนสื่อสังคมออนไลน์ เมื่อนายสิระ เจนจาคะ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานกรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการบาดเจ็บของของนายธนัตถ์ ธนากิจอำนวจ หรือ "ลูกนัท" ว่า ตาบอดจริงหรือไม่ เนื่องจากนายสิระมีคลิปว่าสิ่งแปลกปลอมที่ลอยลงมาไม่ได้โดนตา ทำให้ไม่เชื่อว่าตาบอด และมีการท้าขอให้เอาใบรับรองแพทย์มาแสดง ถ้าไฮโซลูกนัทตาบอดจริง "ผมให้เลย 1 ล้านบาท" 

 

กระทั่ง "ไฮโซลูกนัท" รับคำท้านำใบรับรองแพทย์มาแสดง แต่นายสิระก็ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับใบรับรองแพทย์ของ "ลูกนัท" ว่า ผู้ที่ออกใบรับรองให้เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจริงหรือไม่? และนายสิระ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่าหากคนไข้ตาบอดจริง ๆ ต้องเอาลูกตาออกเพื่อไม่ให้เกิดการอักเสบ

 

ซึ่งประเด็นดังกล่าว เพจเฟซบุ๊ก Drama-addict ระบุถึงกรณีตาบอด ต้องควักลูกตาออกว่า ไม่จำเป็นต้องควักลูกตาออกเสมอไปนะครับถ้าตาบอด คือการผ่าตัดควักลูกตาออก เราเรียกว่า Enucleation ปรกติจะทำในกรณีที่

 

1. มะเร็งในลูกตา

2. ตาบอดแล้วมีอาการปวดตารุนแรง

3. ลูกตาฝ่อ

4. ลูกตาติดเชื้อและไม่ตอบสนองต่อยาปฎิชีวนะ

 

ถ้าเป็นตาบอดที่ไม่ได้มีอาการปวดรุนแรง ก็ไม่ต้องควักลูกตาออกก็ได้นะครับ สนใจอ่านเอกสารข้อบ่งชี้ได้ตามนี้ครับ https://medinfo.psu.ac.th/smj2/30_2_2012/06_orapan.pdf

 

ทั้งนี้ จากการค้นข้อมูลเกี่ยวกับข้อบ่งชี้สำหรับการควักลูกตาและการควักเนื้อในลูกตา โดยอรพรรณ อาญาสิทธิ์ ระบุว่า การควักลูกตา (Enucleation) เป็นการผ่าตัดเอาลูกตาออกทั้งหมด เหลือเนื้อเยื้อเบ้าตาไว้ มีข้อบ่งชี้สัมบูรณ์ที่สำคัญ คือ โรคมะเร็งในลูกตาหรือสงสัยว่าเป็นมะเร็งในลูกตา และการป้องกันการเกิดภาวะอักเสบของลูกตาอีกข้างจากภูมิคุ้มกันตนเอง (sympathetic ophthalmia) นอกจากนี้ยังมีข้อบ่งชี้อื่น ๆ


สำหรับข้อดีของการควักลูกตา คือ สามารถส่งตรวจทางพยาธิวิทยาได้ และโอกาสเกิดภาวะอักเสบของลูกตาอีกข้างต่ำ เป็นต้น นอกจากนี้การควักลูกตายังมี ข้อดีและข้อเสียอื่น ๆ อาทิ การควักลูกตาในการรักษามะเร็งในลูกตา เช่น มะเร็งจอตา และ choroidal melanoma เพื่อเอาก้อนมะเร็งออกได้ทั้งหมด ส่วนกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุรุนแรงของลูกตาเป็นข้อบ่งชี้ในการควักตาเช่นกัน หากรักษาอย่างเต็มที่แล้ว ตาของผู้ป่วยมองไม่เห็น ควรพิจารณาควักลูกตาภายใน 10-14 วัน เพื่อลดโอกาสการเกิดภาวะอักเสบของลูกตาอีกข้างจากภูมิคุ้มกันตนเอง ปัจจุบันยารักษาภาวะอักเสบของลูกตาอีกข้างจากภูมิคุ้มกันตนเองมีประสิทธิภาพดีขึ้น และภาวะนี้พบไม่บ่อย ดังนั้น การควักลูกตาในระยะแรกของอุบัติเหตุของลูกตายังเป็นที่ถกเถียงกัน 

 

ดังนั้น กรณีตาบอดของไฮโซลูกนัท อาจเป็นไปได้ที่ไม่ต้องควักลูกตาออกก่อน และหากต้องควักลูกตาออกก็อยู่ที่แพทย์ที่รักษาพิจารณาอีกครั้ง

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง