รีเซต

เช็กเลย สมัคร ม.40 รับเงินเยียวยา กระทบสิทธิบัตรทอง บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน หรือไม่

เช็กเลย สมัคร ม.40 รับเงินเยียวยา กระทบสิทธิบัตรทอง บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน หรือไม่
Ingonn
8 สิงหาคม 2564 ( 15:53 )
1.4K
1

 

เป็นอีกเรื่องที่สร้างกังวลใจให้กับผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่ต้องการสมัครมาตรา 40 เพื่อรับเงินเยียวยาจากประกันสังคม ว่าจะสามารถใช้สิทธิอื่นๆจากภาครัฐได้อีกหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิบัตรทอง บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน หรือสวัสดิการแห่งรัฐต่าง ๆ ได้ วันนี้ TrueID ได้รวบรวมคำตอบมาให้แล้ว

 

 


จากกรณีที่มีกระแสข่าวในสื่อโซเชียลว่า ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่สมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 แล้วจะไม่สามารถใช้สิทธิบัตรทอง บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน หรือสวัสดิการแห่งรัฐต่าง ๆ ได้ทางกระทรวงแรงงาน ชี้แจงว่า จากการที่รัฐบาลมีมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการ “ล็อกดาวน์” ในพื้นที่สีแดงเข้ม 29 จังหวัด ครอบคลุม 9 ประเภทกิจการ สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่จะได้รับเงินเยียวยาเป็นเวลา 1 เดือน สามารถใช้สิทธิบัตรทอง บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน หรือสวัสดิการแห่งรัฐต่าง ๆ ได้

 

 


ประโยนช์การสมัคร ม.40 ไม่กระทบสิทธิรัฐ


การสมัครมาตรา 40 มีทั้งหมด 3 ทางเลือก ได้แก่ 


ทางเลือกที่ 1 ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 70 บาทต่อเดือน ได้รับสิทธิประโยชน์คุ้มครอง 3 กรณี มีทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย ทุพพลภาพ และค่าทำศพ 

 

จ่าย 70 บาท เหลือ 42 บาทต่อเดือน

 


ทางเลือกที่ 2 ผู้ประกันตนจ่าย 100 บาท ต่อเดือน ได้รับสิทธิประโยชน์คุ้มครอง 4 กรณี มีทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ค่าทำศพ และเพิ่มบำเหน็จชราภาพอีกหนึ่งกรณี 


จ่าย 100 บาท เหลือ 60 บาทต่อเดือน

 

 

ทางเลือกที่ 3 ผู้ประกันตนจ่าย 300 บาท ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี มีทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ค่าทำศพ บำเหน็จ ชราภาพ และสงเคราะห์บุตร 


จ่าย 300 บาท เหลือ 180 บาทต่อเดือน

 

 

ประโยชน์ดังกล่าวไม่เกี่ยวกับสิทธิรักษาพยาบาลร่วมกับบัตรทอง (สปสช.) หรือสิทธิประโยชน์สวัสดิการแห่งรัฐต่าง ๆ ที่เคยได้รับยังเหมือนเดิม และในขณะนี้สำนักงานประกันสังคมยังลดเงินสมทบได้ลดเงินสมทบ ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เหลือร้อยละ 60 ของเงินสมทบเดิม เป็นระยะเวลา 6 เดือนตั้งวันที่ 1 ส.ค. 64 -31 ม.ค. 65 ให้แก่ผู้ประกันตน ทางเลือกที่ 1 เดิมจ่าย 70 บาท เหลือ 42 บาทต่อเดือน ทางเลือกที่ 2 เดิมจ่าย 100 บาท เหลือ 60 บาทต่อเดือน และทางเลือกที่ 3 เดิมจ่าย 300 บาท เหลือ 180 บาท

 

 


การสมัครมาตรา 40 ไม่เกี่ยวข้องกับสิทธิรักษาพยาบาลร่วมกับบัตรทอง (สปสช.) รวมทั้งสิทธิประโยชน์สวัสดิการแห่งรัฐต่างๆ แต่อย่างใด และสิทธิที่เคยได้รับยังเหมือนเดิม และมีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย หรือสิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิตจากสำนักงาน ส่วนสิทธิประโยชน์ของมาตรา 40 แต่ละทางเลือกขึ้นอยู่กับทางเลือกที่ผู้ประกันตนสมัคร

 

 


อย่างไรก็ตามการสมัครมาตรา 40 เพื่อให้ได้มีหลักประกันทางสังคมจากรัฐบาล โดยท่านนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีความห่วงใยแรงงานนอกระบบหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ยังไม่มีหลักประกันทางสังคมจึงได้สั่งการให้นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน เร่งรัดให้สำนักงานประกันสังคมอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการอาชีพอิสระได้สมัครมาตรา 40 เพื่อเข้าสู่ระบบประกันสังคม เพื่อมีเงินออมในระยะยาว สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือและอุดหนุนเยียวยาจากมาตรการต่างๆ จากภาครัฐได้ในอนาคต

 

 


เงื่อนไขผู้สมัคร ผู้ประกันตน ม.40


1.ผู้ประกันตน ม.40 ที่ได้รับเงินเยียวยาต้องอยู่ใน 29 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม ได้แก่ กรุงเทพมหานคร  กาญจนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ตาก นครปฐม นครนายก นครราชสีมา นราธิวาส นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี ปัตตานี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ยะลา ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สงขลา สิงห์บุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง

 


2.ผู้ประกันตน ม.40 ที่ได้รับเงินเยียวยาต้องอยู่ใน 9 ประเภทกิจการ ได้แก่ กิจการก่อสร้าง , กิจการที่พักแรมบริการด้านอาหาร , กิจกรรมศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ, กิจกรรมบริการด้านอื่นๆ , การขายส่งขายปลีก ซ่อมยานยนต์ , การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า , กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน , กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ , กิจกรรมทางวิชาการ สาขาข้อมูลข่าวสาร และการสื่อสาร

 


3.ผู้ประกันตน ม.40 ที่ได้รับเงินเยียวยาต้องชำระเงินสมทบงวดแรกภายในวันที่ 10 ส.ค. นี้เพื่อรับสถานะความเป็นผู้ประกันตนตามกฎหมาย พร้อมรับสิทธิเยียวยา 5,000 บาท

 

 

 

คุณสมบัติ ผู้สมัคร ผู้ประกันตน ม.40

 

1.มีสัญชาติไทย


2.มีอายุ 15-65 ปีบริบรูณ์  (ล่าสุด ครม.กำลังขยายอายุ 65 ปีขึ้นไปคาดว่าหลังกระทรวงแรงงานรวบรวมข้อมูลใหม่ นำเสนอ ครม.อนุมัติภายในเดือนสิงหาคมนี้)


3.เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ


4.ไม่เป็นลูกจ้างในบริษัท ห้างร้าน โรงงาน (ม.33)


5.ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (ม.39)


6.ไม่เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ


7.ผู้ถือบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ขึ้นต้นด้วยเลข 0,6,7 (ยกเว้นขึ้นต้นด้วย 00)


8.ผู้พิการที่รับรู้สิทธิก็สมัคร
 

 

 

ข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง