ใครใช้อาวุธปืนได้บ้าง ? ส่องพ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490
รู้หรือไม่ ? พลเรือนไทยครอบครองอาวุธปืนมากเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน คิดเป็นจำนวนประมาณ 10,000,000 กระบอก เป็นปืนมีทะเบียน 6,000,000 กระบอก และเป็นปืนไม่มีทะเบียนอีก 4,000,000 กระบอก โดยผู้ที่จะสามารถครอบครองและใช้อาวุธปืนได้จะต้องทำการขออนุญาตต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำหรับผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ ส่วนผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอื่น ๆ จะต้องทำการขออนุญาตต่ออำเภอท้องที่
เหตุผลหลัก 2 ประการ สำหรับการขออนุญาต
อย่างไรก็ตาม อาวุธปืนเป็นอาวุธร้ายแรงที่สามารถทำอันตรายต่อชีวิตและร่างกายของผู้อื่นได้โดยง่าย การออกใบอนุญาตให้กับประชาชนทั่วไปจึงต้องอยู่ภายใต้เหตุผลหลัก 2 ข้อ คือ
1. ใช้เพื่อป้องกันตัวหรือทรัพย์สินของตน
2. สำหรับใช้ในการกีฬาหรือการล่าสัตว์
คุณสมบัติผู้ขออนุญาต
โดยผู้ขออนุญาตจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1. บรรลุนิติภาวะ
2. สภาพร่างกายปกติไม่พิการหรือทุพพลภาพ
3. ไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
4. มีรายได้และอาชีพ
5. มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง
6. มีชื่อในทะเบียนบ้านและมีถิ่นที่อยู่ประจำในท้องที่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
7. ไม่เป็นบุคคลที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับยาเสพติด หรือไม่เป็นบุคคลที่มีความประพฤติชั่วอย่างรายแรงอาจกระทบกระเทือนถึงความสงบเรียบของประชาชน
8. ไม่เคยต้องโทษจำคุกคดีอาญา
สำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่มีใบอนุญาตไม่สามารถพกอาวุธปืนไปในที่สาธารณะได้ หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับ 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ทหารและตำรวจ, ข้าราชการของรัฐที่ยกเว้นและประชาชนที่อยู่ระหว่างช่วยราชการจะได้รับการยกเว้นให้สามารถพกพาอาวุธปืนไปในที่สาธารณะได้
สุดท้ายแล้วการครอบครองอาวุธปืนในประเทศไทยเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ แต่จะต้องได้รับการขออนุญาตและผู้ขออนุญาตจะต้องมีคุณสมบัติเหมาะสม อีกทั้งควรจะต้องศึกษารายละเอียดของกฎหมายให้ถี่ถ้วนเพื่อไม่ให้กระทำความผิดตามกฎหมายโดยไม่ตั้งใจหรือรู้เท่าไม่ถึงการ
ข้อมูลจาก สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา