ส่งออกอาหารสัตว์เติบโตชะลอตัว บล.กสิกรฯแนะ AAI เป้า 7.80 บ.
#AAI #ทันหุ้น – บทวิเคราะห์ โดย บล.กสิกรไทย
ช่วงการเติบโตที่ชะลอตัว
การส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงของไทยเพิ่มเป็น 231.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนพ.ย. (+20.6% YoY ทรงตัว MoM) หนุนจากการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และจีนเติบโต
ในเดือนต.ค. การนำเข้าอาหารสัตว์เลี้ยงไทยในสหรัฐฯ มีผลการดำเนินงานที่โดดเด่นทำให้ไทยมีส่วนแบ่งการนำเข้าสูงสุดที่ 28% (+4.5 ppts YoY, +2.7 ppts MoM)
บล.กสิกรไทยมีมุมมองเป็นกลางต่อภาคธุรกิจ คงคำแนะนำ "ซื้อ" สำหรับ AAI และ "ถือ" สำหรับ ITC ด้วยราคาเหมาะสมกลางปี 2568 สำหรับ AAI และ ITC ที่ 7.80 บาท และ 26.00 บาท
Investment Topics
อาหารสัตว์เลี้ยงของไทยในเดือนพ.ย. การส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงของไทยเพิ่มขึ้นเป็น 231.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+20.6%YoY แต่ทรงตัว MoM) โดยยอดส่งออกในไตรมาสปัจจุบัน (ต.ค.-พ.ย.) รวมอยู่ที่ 462 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+19.1% YoY, -4.9% QoQ) ซึ่งได้รับแรงหนุนจากฤดูการส่งออกในช่วงวันหยุด การเติบโต YoY ของการส่งออกได้รับการสนับสนุนจากผลงานที่แข็งแกร่งในตลาดสหรัฐฯ (+28.2% YoY, +6.5% MoM) และจีน (+81.3% YoY, +28.5% MoM) ในขณะที่การทรงตัว MoM ได้รับผลกระทบจากการส่งออกที่ลดลงในตลาดญี่ปุ่น (-2.2%YoY, -2.1% MoM) และสหภาพยุโรป (+9.0%YoY, -15.9% MoM)
ข้อมูลอาหารสัตว์เลี้ยงของสหรัฐฯ ในเดือนต.ค. การนำเข้าอาหารสัตว์เลี้ยงทั้งหมดของสหรัฐฯ มีมูลค่ารวม 311 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (+36.6% YoY, +3.1% MoM) โดยการนำเข้าจากประเทศไทยมีผลการดำเนินงานที่โดดเด่นกว่าในภูมิภาคอื่น ๆ โดยมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 28% (+4.5 ppts YoY, +2.7 ppts MoM) นอกจากนี้ การนำเข้าจากประเทศไทยยังคงเติบโตถึง 62.7% YoY และ +14.1% MoM
อาหารสัตว์เลี้ยงของจีน ประเทศจีน ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในเอเชีย มียอดส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงมูลค่า 129.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนต.ค. เพิ่มขึ้น 28.1% YoY และ 4.4% MoM โดยมูลค่า 22.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถูกส่งออกไปยังสหรัฐฯ ซึ่งทรงตัว YoY แต่เพิ่มขึ้น 11.1% MoM
วัตถุดิบ ราคาเฉลี่ยของปลาทูน่าในเดือนพ.ย.อยู่ที่ 1,550 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน (+3.3% YoY, +3.3% MoM) ราคาเฉลี่ย YTD อยู่ที่ 1,429ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ซึ่งต่ำกว่าสมมติฐานของเราที่ 1,450ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน
มุมมองของบล.กสิกรไทย เรามีมุมมองเป็นกลางต่อแนวโน้มของภาคธุรกิจนี้ เนื่องจากการเติบโตในเชิง YoY เริ่มชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเวลา 3เดือนติดต่อกัน ในปี 2567 เราคาดว่ายอดขายรวมของภาคธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงจะอยู่ที่ 2.41 หมื่นลบ. (+21.4% YoY) และเพิ่มเป็น 2.76 หมื่นลบ.ในปี 2568หรือมีอัตราการเติบโตที่ลดลงอยู่ที่ 14.7% YoY แม้ว่าเราคาดว่ากำไรปกติของภาคธุรกิจจะอยู่ที่ 4.9 พันลบ. (+80.7% YoY) ในปี 2567 และเพิ่มขึ้นเป็น 5.3 พันลบ.ในปี 2568 แต่มีอัตราการเติบโตลดลงเหลือ 7.6% เราคาดว่า ITC จะเป็นปัจจัยหลักที่ฉุดการเติบโตของกำไรภาคธุรกิจในปี 2568 เนื่องจากอาจเผชิญความท้าทายในการขยายอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) จากผลกระทบต่อกำไรของสต๊อกสินค้า ในระยะสั้น เราคาดว่า AAI จะมีกำไรเติบโตในระดับสองหลัก YoY ในไตรมาส 4/2567 แต่ลดลง QoQ เนื่องจากปัจจัยฤดูกาลในช่วงวันหยุด อย่างไรก็ตาม ITC ระบุว่ายอดขายจะทรงตัว YoY และ GPM มีแนวโน้มลดลงจากผลกระทบที่ลดลงจากกำไรครั้งเดียวจากการกลับรายการการตั้งสำรองหลังไตรมาส 3/2567
Valuation and Recommendation
มุมมองเป็นกลาง บล.กสิกรไทยยังคงมุมมองเป็นกลางต่อภาคธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง และคงคำแนะนำ “ซื้อ" สำหรับ AAI ด้วยราคาเป้าหมายที่ 7.80 บาท จากการขยายตัวของ GPM อย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มยอดขายที่ดีขึ้นในไตรมาส 4/2567 นอกจากนี้ เรายังคงคำแนะนำ "ถือ" สำหรับ ITC ด้วยราคาเป้าหมายที่ 26.00 บาท เนื่องจากการขยายตัวของ GPM ล่าสุดมีแนวโน้มเป็นเพียงระยะสั้น ซึ่งเป็นผลมาจากกำไรพิเศษจากการกลับรายการการตั้งสำรอง ปัจจัยบวกที่อาจส่งผลต่อภาคธุรกิจ ได้แก่ 1) แนวโน้มค่าเงินบาทอ่อนค่าลงในปี 2568 ตามการคาดการณ์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ที่ 35.50บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับ 34.50 บาท/ดอลลลาร์สหรัฐฯในปี 2567 และ 2) อุปสงค์ระยะยาวสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงฟังก์ชันและระดับพรีเมียม