รีเซต

'เครื่องเคลือบดินเผา' ประจักษ์พยานการหลอมรวมฮั่น-ทิเบต

'เครื่องเคลือบดินเผา' ประจักษ์พยานการหลอมรวมฮั่น-ทิเบต
Xinhua
16 มีนาคม 2564 ( 08:57 )
119
'เครื่องเคลือบดินเผา' ประจักษ์พยานการหลอมรวมฮั่น-ทิเบต

ลาซา, 15 มี.ค. (ซินหัว) -- โจวหัวหย่ง คือชายวัย 45 ปี ผู้ใช้ชีวิตถึง 15 ปีทำงานอยู่ในร้านเครื่องเคลือบดินเผาแห่งหนึ่ง ในเขตปกครองตนเองทิเบตทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เขาจึงเข้าใจในความสำคัญของเครื่องเคลือบดินเผาที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวทิเบตเป็นอย่างดี

โจวซึ่งมาจากจิ่งเต๋อเจิ้น เมืองทางตะวันออกของจีนที่ได้รับการขนานนามให้เป็น "เมืองหลวงแห่งเครื่องเคลือบดินเผา" กล่าวว่า "ถ้วยสำหรับดื่มชาเนยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ส่วนถ้วยสำหรับดื่มชารสหวานก็มีกระบวนการผลิตที่ละเอียดอ่อนมากขึ้นเรื่อยๆ "

ตั้งแต่โบราณกาล ชุดเครื่องเคลือบดินเผาที่ถูกขนส่งผ่านถนนชา-ม้าโบราณ (Ancient Tea Horse) ไปยังที่ราบสูงทิเบตได้กลายเป็นหลักฐานที่ชี้ชัดถึงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ฮั่นและทิเบต

 

(แฟ้มภาพซินหัว : ภาพทิวทัศน์วังโปตาลา ในเขตปกครองตนเองทิเบตทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน)[/caption]ในศตวรรษที่ 7 พระเจ้าซรอนซันกัมโป กษัตริย์ทิเบตได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเหวินชางแห่งราชวงศ์ถัง (618-907) ถือเป็นการเริ่มต้นบทใหม่ของการหลอมรวมระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างหลิวเหว่ยจากพิพิธภัณฑ์พระราชวังในปักกิ่งกล่าวว่า "การแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบดินเผาเกิดขึ้นเรื่อยมานับตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง"ปัจจุบันมีเครื่องเคลือบดินเผาโบราณที่อยู่ในทิเบตมากกว่า 10,000 ชิ้น ซึ่งส่วนใหญ่มาจากหน่วยงานปกครองส่วนกลางของราชวงศ์ต่างๆ ในอดีต หรือมาจากการสั่งทำขึ้นโดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นสูงในทิเบต ตลอดจนการค้าระหว่างชาวฮั่นกับชาวทิเบตสมบัติข้างต้นส่วนใหญ่ถูกเก็บรักษาไว้ในวังโปตาลา วังนอร์บูลิงกา พิพิธภัณฑ์ทิเบต และอารามสำคัญๆ ในทิเบตชามหลากสีลวดลายประณีตที่ถูกผลิตขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง (1368-1644) และปัจจุบันถูกเก็บไว้ในวัดซ่าเจีย ถือเป็นชามประเภทดังกล่าวที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดและได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดีที่สุด โดยเป็นของขวัญที่ข้าราชการในสมัยราชวงศ์หมิงมอบเป็นของขวัญแก่วัดซ่าเจีย (แฟ้มภาพซินหัว : ชามหลากสีลวดลายประณีตที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง (1368-1644) ปัจจุบันถูกเก็บไว้ในวัดซ่าเจีย ในเขตปกครองตนเองทิเบต ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน วันที่ 26 ม.ค. 2021)[/caption]เกือบ 1,000 ปีก่อน วัดซ่าเจียถือเป็นสถานที่เก็บวัตถุทางวัฒนธรรมจำนวนมาก โดยมีเครื่องเคลือบเกือบ 2,000 ชิ้นที่เผาโดยเตาเผาของราชสำนักในจิ่งเต๋อเจิ้นเมื่อการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมลึกซึ้งยิ่งขึ้น เครื่องเคลือบดินเผาจากเตาเผาของราชสำนักในจิ่งเต๋อเจิ้นก็มีลวดลายที่ถึงความงดงามแบบดั้งเดิมของทิเบต ทั้งยังมีเครื่องถ้วยชามที่มีองค์ประกอบอันเด่นชัดของวัฒนธรรมดั้งเดิมของทิเบตและพุทธศาสนาในทิเบตถือกำเนิดขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก

 

(แฟ้มภาพซินหัว : ทิวทัศน์วัดซ่าเจีย ในเขตปกครองตนเองทิเบตทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน)

 

ขณะเดียวกัน เครื่องเคลือบดินเผาที่มีความทันสมัยมากขึ้นก็ได้แพร่กระจายเข้าถึงทุกครัวเรือนในทิเบต และกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของพวกเขา

"ทุกวันนี้ นอกจากเครื่องเคลือบโบราณแล้ว ยังมีเครื่องเคลือบดินเผาใหม่ๆ มากมายที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายในทุกครัวเรือนของทิเบต โดยเป็นผลงานที่มีความประณีตยิ่งขึ้น" ต๋าเจิน (Tamdrin) นักวิจัยร่วมของสำนักงานบริหารวังนอร์บูลิงกากล่าว "ชาวทิเบตหลงใหลในเครื่องเคลือบอย่างยิ่ง ทุกครัวเรือนล้วนมีเครื่องเคลือบสำหรับใช้ในงานเทศกาล การรับรองแขกและการดื่มชาประจำวัน "

 

"เครื่องเคลือบจิ่งเต๋อเจิ้นไม่เพียงเป็นพาหะในการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นประจักษ์พยานของความสมัครสมานระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ฮั่นและทิเบต ตลอดจนความเป็นหนึ่งเดียวของชาติด้วย" หลิวกล่าว

หลายปีมานี้ โจวหัวหย่งได้กำไรได้เป็นกอบเป็นกำจากธุรกิจเครื่องเคลือบดินเผา ซึ่งเขาแสดงความเห็นว่า "ตัวผมเป็นทั้งนักธุรกิจและผู้สืบสานวัฒนธรรมในยุคใหม่ ผมไม่เพียงช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมเครื่องเคลือบดินเผาเท่านั้น แต่ยังเป็นพยานและผู้สนับสนุนการแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ของจีนด้วย"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง