รีเซต

เจาะลึกกำลังทางอากาศ “ฮามาส” ใช้ต่อสู้กับ “อิสราเอล”

เจาะลึกกำลังทางอากาศ “ฮามาส” ใช้ต่อสู้กับ “อิสราเอล”
TNN ช่อง16
24 ตุลาคม 2566 ( 12:19 )
70
เจาะลึกกำลังทางอากาศ “ฮามาส” ใช้ต่อสู้กับ “อิสราเอล”

ก่อนหน้านี้ TNN Tech ได้นำเสนอขุมกำลังทางอากาศของอิสราเอลกันไปแล้ว ในการนี้จึงได้รวบรวมข้อมูลตามสื่อกระแสต่าง ๆ เพื่อเจาะลึกข้อมูลกำลงทางอากาศของ "ฮามาส" ซึ่งพบว่ากลุ่มฮามาสนั้นมีการใช้จรวดและโดรนเป็นหลัก


จรวดและเครื่องยิงจรวดของฮามาส

สำนักข่าวรอยเตอร์ส (Reuters) ได้เผยแพร่ภาพที่เชื่อว่าเป็นภาพจากกลุ่มฮามาส แสดงการมีอยู่ของฐานยิงจรวดและเครื่องยิงจรวดเคลื่อนที่แบบตั้งพื้น โดยจรวดที่ใช้นั้นมีหลากหลายรุ่น ซึ่งคาดว่ารวมถึงจรวดแบบเอ็ม-75 (M-75) และจรวดแบบกัสซัม (Quassam) ที่ฮามาสผลิตขึ้นเองทั้ง 2 รุ่น


โดยจรวดแบบ M-75 ไม่ได้ระบุระยะการยิงเอาไว้อย่างเป็นทางการ แต่ถ้าอ้างอิงจากจรวดฟัจร์-5 (Fajr-5) ของอิหร่าน ซึ่งเป็นต้นแบบของ M-75 อาจะมีระยะการยิงระหว่าง 60 - 80 กิโลเมตร ส่วนจรวดแบบกัสซัมจะมีระยะการยิงหวังผลระหว่าง 5 - 16 กิโลเมตร เนื่องจากเชื้อเพลิงเป็นการดัดแปลงจากโปแตสเซียมไนไตรต์กับน้ำตาลที่มีสเถียรภาพไม่สูงมากนัก


โดรนของฮามาสคือหัวใจสำคัญ

อีกหนึ่งกำลังทางอากาศที่สำคัญของกลุ่มฮามาสคือโดรน โดยโดรนเป็นหนึ่งในยุทโธปกรณ์ที่กลุ่มฮามาสเริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2014 โดยมีชื่อว่าอะบาบีล 1 (Ababeel 1) เป็นโดรนไร้คนขับสำหรับตรวจการณ์ และมีการดัดแปลงไปใช้ในภารกิจหลากหลายรูปแบบ เป็นโดรนทิ้งระเบิด เป็นโดรนทำลายตัวเอง (Kamikaze drone) เป็นต้น


โดยในการโจมตีระลอกปัจจุบัน ทางกลุ่มฮามาสได้ทำวิดีโอโฆษณา ซึ่งเปิดเผยโดรนทำลายตัวเองรุ่นใหม่ซึ่งมีชื่อว่าอัล-ซาวารี (al-Zouari) ตามชื่อของคนที่สร้างโดรนรุ่นแรกให้กับกลุ่มฮามาสขึ้นมา เป็นโดรนคล้ายเครื่องบินที่ต้องอาศัยเครื่องช่วยขึ้นบินในการปล่อยตัว


อัล-มายาดีน (al-Mayadeen) สำนักข่าวท้องถิ่นของเลบานอน รายงานว่าอัล-ซาวารี มีหน้าที่ในการเบนเป้าจากไอออน โดม (Iron Dome) ระบบป้องกันภัยทางอากาศของอิสราเอล รวมถึงใช้เป็นโดรนที่โจมตีส่วนเปราะบางของรถถังเช่นส่วนบนของป้อมปืน


ที่มาข้อมูล al-MayadeenHindustan TimesReutersWikipediaCNN

ที่มารูปภาพ Reuters


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง