รีเซต

สำรวจ ‘เครื่องแบบนักเรียน’ ต่างประเทศเขาใส่อะไรกัน

สำรวจ ‘เครื่องแบบนักเรียน’ ต่างประเทศเขาใส่อะไรกัน
TNN ช่อง16
1 ธันวาคม 2563 ( 10:41 )
7.9K
สำรวจ ‘เครื่องแบบนักเรียน’ ต่างประเทศเขาใส่อะไรกัน

นับว่าเป็นกระแสร้อนแรงที่กำลังถูกพูดถึงอยู่ในขณะนี้ สำหรับประเด็นการถกเถียงเรื่องการ ยกเลิก เครื่องแบบ ชุดนักเรียน  โดยระบุว่าเครื่องแบบสร้างภาระค่าใช้จ่ายให้ผู้ปกครอง ขณะนี้ที่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยระบุว่าอาจเป็นการตอกย้ำความเหลื่อมล้ำระหว่างเด็กมากขึ้น  

 

เรามาดูกันว่าในประเทศต่างๆโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว มีเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับชุดเครื่องแบบชุดนักเรียนอย่างไร นักเรียนใส่อะไรกันไปโรงเรียน และปัจจุบันเครื่องแบบยังบังคับใช้อยู่หรือไม่ 


1.ชุดนักเรียนญี่ปุ่น




ชุดนักเรียนญี่ปุ่นมีประวัติความเป็นมายาวนานถึง 150 ปี มีจุดกำเนิดมาจากต้องการแสดงสัญลักษณ์ว่านักเรียนคนดังกล่าวมาจากชุมชนใด 




เครื่องแบบนักเรียนญี่ปุ่นจะเริ่มใส่ตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนต้น แรกเริ่มจะคล้ายชุดกะลาสี ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยเมจิ เลียนแบบมาจากชุดนาวีของยุโรป ปัจจุบันได้มีการปรับเปลี่ยน ไปตามที่โรงเรียนจะออกแบบ ส่วนใหญ่จะให้กำหนดให้นักเรียนใส่เชิ้ตขาว ผูกเน็คไท พร้อมแจ็คเก็ตที่มีตราโรงเรียน มีการเปลี่ยนเครื่องแบบตามฤดูกาล ซึ่งจะมีตารางกำหนดชัดเจน

 

2.ชุดนักเรียนอังกฤษ

 

ชุดนักเรียนอังกฤษมีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าเฮนรี่ ที่ 8  โดยแรกเริ่มใช้แบ่งแยกนักเรียนที่ยากจน กับโรงเรียนอื่น อีก 300 ปีต่อมา โรงเรียนรัฐบาลเริ่มให้นักเรียนใส่เครื่องแบบ บลูโค้ท คือ เสื้อโค๊ทยาวคล้ายแจ๊กเกตสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นสีที่ถูกที่สุด และ สีน้ำเงินเป็นสีที่แสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน

 


ต่อมาในปี 1870 เครื่องแบบนักเรียนได้รับความนิยมมากขึ้นมีการออกระเบียบการศึกษาขั้นต้น โดยเครื่องแบบจะเป็น เสื้อสูท เน็คไท กางเกงขายาวสุภาพ อย่างไรก็ตาม ในปี 1960 มีการปฏิวัติสังคม ทำให้เครื่องแบบไม่เป็นที่นิยมมากนัก มีหลายโรงเรียนยกเลิกการสวมใส่เครื่องแบบ

 

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการสวมใส่เครื่องแบบยังมีอยู่ โดยเฉพาะโรงเรียนรัฐบาล ซึ่งมีอยู่ถึง 4 หมื่นแห่ง โดยโรงเรียนแต่ละแห่งเครื่องแต่งกายจะคล้ายๆกัน



ผู้ชายจะเป็นกางเกงขายาว เสื้อเชิ้ตแขนยาว มีเนคไท สเวตเตอร์ตามสภาพอากาศ สำหรับผู้หญิงก็เป็นกระโปรงที่กำหนดความยาว เชิ้ต เนคไท และสเวตเตอร์  ที่แตกต่างกันคือสีที่จะต่างกันไปในแต่ละโรงเรียน

 

โรงเรียนบางแห่งจะมีการเพิ่ม เบลเซอร์ เข้าไปในชุดเครื่องแบบด้วย และมีตราสัญลักษณ์ของสถานศึกษาติดอยู่

 

3.ชุดนักเรียนเกาหลีใต้ 


นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาของเกาหลีใต้ จะสวมเครื่องแบบที่เรียกว่า กโยบก โดยส่วนใหญ่แล้วโรงเรียนในระดับประถมศึกษายกเว้นโรงเรียนเอกชนบางแห่งจะไม่มีเครื่องแบบนักเรียน โดยเครื่องแบบนักเรียนนี้จะเริ่มถูกกำหนดให้ใส่อย่างเคร่งครัดโดยเริ่มตั้งแต่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไป

 


โดยเครื่องแบบนักเรียนของประเทศเกาหลีใต้มีพื้นฐานมาจากเครื่องแบบแนวตะวันตก



ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วย เสื้อเชิ้ต, เสื้อสูทและเนคไท พร้อมด้วยกระโปรงสำหรับนักเรียนหญิงและกางเกงขายาวสีเทาสำหรับนักเรียนชาย  




เครื่องแบบนักเรียนนี้ดาราผู้มีชื่อเสียงมักสวมใส่เพื่อเจาะตลาดวัยรุ่นหรือเพื่อขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับความบันเทิงที่ให้วัยรุ่น ด้วยเหตุนี้เองเครื่องแบบนักเรียนจนกลายเป็นบางสิ่งที่เกี่ยวข้องกันในการแสดงลักษณะออกในลักษณะของแฟชั่นระหว่างนักเรียนด้วยกัน

 

4.ชุดนักเรียนฝรั่งเศส

 

ประเทศฝรั่งเศสมีการยกเลิกเครื่องแบบนักเรียนตั้งแต่ปีพ.ศ.2511จนกระทั่งมาปีพ.ศ. 2561  มีการกลับมาใช้ยูนิฟอร์มอีกครั้ง โดย 6 โรงเรียนในรัฐโปรแวงส์ ได้เห็นชอบให้นักเรียน อายุ 6-11 ปี กลับมาสวมเครื่องแบบนักเรียนอีกครั้ง หลังเปิดให้ผู้ปกครองโหวตแสดงความเห็น 




โดยเป็นเสื้อโปโลสีน้ำเงินเข้ม และสเวตเตอร์สีฟ้า ปักตราเมืองและคำขวัญ การรื้อฟื้นการสวมเครื่องแบบนี้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความภาคภูมิใจในการเรียนและส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมระหว่างเด็ก

 

5.ชุดนักเรียนอเมริกา 


โรงเรียนส่วนใหญ่ในอเมริกา ไม่มีการบังคับใช้การสวมใส่ยูนิฟอร์ม แต่จะมีกฎบังคับบ้างอย่างเช่น ความสั้นยาวของกระโปรง รอยสักต่างๆเป็นต้น ค่อนข้างมีเสรีภาพในการแต่งตัวของเด็กนักเรียน 



อย่างไรก็ตาม ชุดยูนิฟอร์มมีกระแสความนิยมเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมตั้งแต่ปี ปี2000 เป็นต้นมา มีเปอร์เซ็นของโรงเรียนที่บังคับให้ใส่ชุดนักเรียนนั้น เพิ่มขึ้นทุกๆปี จนถึงปี 2016 ที่มีมากถึง 21.5%


เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline