รีเซต

เจาะงบปี64!กระทรวงดาวเด่นทุ่มทุน เข็นเศรษฐกิจฟื้นจากโควิด-19

เจาะงบปี64!กระทรวงดาวเด่นทุ่มทุน เข็นเศรษฐกิจฟื้นจากโควิด-19
TNN ช่อง16
3 กรกฎาคม 2563 ( 17:41 )
382
เจาะงบปี64!กระทรวงดาวเด่นทุ่มทุน เข็นเศรษฐกิจฟื้นจากโควิด-19

        การจัดทำ งบประมาณรายจ่ายปี 64 ของรัฐบาล ที่ขณะนี้สภาผู้แทนราษฎรยังอยู่ระหว่างการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 วงเงิน 3.3 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นที่น่าจับตาว่า งบประมาณด้านไหนจะถูกนำไปใช้มากที่สุด   โดยมีโจทย์ใหญ่คือ การกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปีงบประมาณ 2564 นี้  จะต้องเร่งเข็นเศรษฐกิจที่บอบช้ำจากพิษโควิด -19 ทำให้รัฐบาลตั้งงบประมาณไว้สูงลิ่ว 

        ทั้งนี้ จากรายงานเอกสารร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 นี้พบว่า มีทั้งที่ได้รับการ จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม และถูกตัดงบลง เมื่อเทียบกับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ดังเช่น ในส่วนของงบกลางที่ได้รับการจัดสรร จำนวน 614,616.2 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณรายจ่ายปี 2563 เพิ่มขึ้น จำนวน  95,845.3 ล้านบาท ขณะที่ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือ ทบวง และหน่วยงานภายใต้การควบคุมดูแลของนายกรัฐมนตรี ได้รับการจัดสรรงบประมาณปี 64 จำนวน 131,106.5 ล้านบาท เทียบกับปี 63 ลดลง 1,018 ล้านบาท


        ส่วนกระทรวงที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณปี 2564 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 แยกเป็นรายกระทรวง มีดังนี้

    1. กระทรวงการคลัง จำนวน 268,718.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19,517.3 ล้านบาท คิดเป็น 7.8%

    2. กระทรวงคมนาคม จำนวน 193,554.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17,459.1 ล้านบาท คิดเป็น 9.9%

    3. กระทรวงมหาดไทย จำนวน 328,013 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13,352.2 ล้านบาท คิดเป็น 4.2%

    4. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 112,879 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,804.8 ล้านบาท คิดเป็น 4.4%

    5. กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 140,974.7 ล้านบาท จะได้ผู 3,585.3 ล้านบาท   คิดเป็น  2.6%

    6. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยฯ จำนวน 129,415 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,022 ล้านบาท คิดเป็น 2.4%

    7. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จำนวน 8,604.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,818.4 ล้านบาท คิดเป็น 26.8%

    8. สำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 40,510.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,658.5 ล้านบาท คิดเป็น 4.3%

    9. กระทรวงการพัฒนาสังคม จำนวน 22,555.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,382.2 ล้านบาท คิดเป็น 6.5%

    10. กระทวงยุติธรรม จำนวน 27,223.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 465.6 ล้านบาท คิดเป็น 1.7%

    11. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จำนวน 6,268.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 380 ล้านบาท คิดเป็น 6.5%

    12. กระทรวงวัฒนาธรรม จำนวน 8,760.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 253.8 ล้านบาท คิดเป็น 3%

    และ  13. กระทรวงพลังงาน จำนวน 2,390.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 249.7 ล้านบาท คิดเป็น 11.7%

        โดยจะเห็นได้ว่ากระทรวงที่ครองแชมป์ได้รับการจัดสรรงบประมาณมากที่สุดคือ กระทรวงการคลัง กระทรวงกระเป๋าเงินของรัฐบาล  รองลงมาคือกระทรวงคมนา ที่ไม่น่าแปลกใจสักเท่าไหร่ว่าทำไมงบประมาณที่ได้จึงมีจำนวนมาก เนื่องจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะระบบขนส่งสาธารณะ อย่างเช่น โครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ๆ ที่เตรียมจะคลอดออกมาก็มีมาให้เห็นกันอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลยังให้ความสำคัญนโยบายด้านการลงทุน ที่เป็นหัวใจหลักในการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาคเอกชนและต่างชาติ นำไปสู่การนำเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจในภาพกว้าง ต่อยอดไปถึงการจ้างงาน และภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง 


        อย่างไรก็ตาม กระทรวงที่ถือเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองนำรายได้กระตุ้นเศรษฐกิจไทย นั่นก็คือ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา แต่กลับได้รับการจัดสรรงบฯในจำนวนที่อยู่เกือบรั้งท้ายของงบฯก้อนนี้  ซึ่งก็เป็นที่น่าติดตามเช่นเดียวกัน ว่าฟันเฟืองชิ้นนี้จะมีมาตรการหรือไม้เด็ดอย่างไรออกมา เพราะหนึ่งในมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ยังชูโรงด้วยมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ตามโครงการ "เราเที่ยวด้วยกัน" ที่เตรียมจะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนร่วมโครงการได้ ในวันที่ 15 ก.ค.ที่จะถึงนี้ โดยหวังว่าจะเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนในระยะสั้น สนับสนุนผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่ถูกกระหน่ำจากพิษโควิด-19  ซึ่งในปีงบประมาณ 64 ก็เชื่อว่าจะต้องมีมาตรการเด็ดออกมาอย่างแน่นอน 


        ขณะเดียวกัน ในงบฯรายจ่ายปี 64 นี้มี 7 กระทรวงที่ถูกตัดงบประมาณลงเมื่อเทียบกับงบประมาณปี 63  ได้แก่ 

        1. กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 358,361 ล้านบาท ลดลง 9,383.7 ล้านบาท คิดเป็น 2.6%

        2. กระทรวงหลาโหม จำนวน 223,463.7 ล้านบาท ลดลง 8,281.6 ล้านบาม คิดเป็น 3.6%

        3. กระทรวงแรงงาน จำนวน 69,838.2 ล้านบาท ลดลง 2,231.7 ล้านบาท คิดเป็น 3.1%

        4. กระทรวงสุตสาหกรรม จำนวน 4,788.2 ล้านบาท ลดลง 395.6 ล้านบาท คิดเป็น 7.6%

        5. กระทรวงการต่างประเทศ จำนวน 8,475.3 ล้านบาท ลดลง 258.3 ล้านบาท คิดเป็น 3%

        6. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ จำนวน 29,935 ล้านบาท ลดลง 255 ล้านบาท คิดเป็น 0.8%  

        7. กระทรวงพาณิชย์ จำนวน 7,247.2 ล้านบาท ลดลง 159.2 ล้านบาท คิดเป็น 2.1%

        แม้ว่าแต่ละกระทรวงที่กล่าวมาทั้ง 7 กระทรวงจะถูกลดงบประมาณลงไป แต่การจะกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 64 นี้ทุกกระทรวงย่อมมีความสำคัญเท่าเทียมกัน เสมือนเครื่องบิน 1 ลำ ที่จะขาดส่วนประกอบใดส่วนหนึ่งไปไม่ได้  ถึงจะเป็นเพียงแค่น๊อตตัวเล็กๆตัวหนึ่ง 

        ก่อนหน้านี้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ได้เคยออกมายืนยันแล้วว่า จะบริหารจัดการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและให้เกิดประโยชน์สูงสุด   แต่ยังต้องลุ้นกันต่อว่า พ.ร.บ.งบประมาณนี้จะผ่านการพิจารณาของสภาได้หรือไม่?


ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 ล้วงลึก!งบปี64 ทำไมตั้งสูงถึง 3.3 ล้านล้านบาท

 สภาฯถกร่างพรบ.งบปี64 วันแรก-นายกฯลั่นใช้จ่ายงบฯฟื้นฟูศก.

 ครม.รับทราบส่วนราชการปรับลดงบปี64 เพื่อช่วยแก้โควิด-19


เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline

ข่าวที่เกี่ยวข้อง