รีเซต

เปิดประสิทธิภาพ “ยารักษาโควิด” ฟาวิพิราเวียร์ , เรมดิซิเวียร์ , โมลนูพิราเวียร์ และ แพกซ์โลวิด ที่ใช้รักษาโควิดในไทย

เปิดประสิทธิภาพ “ยารักษาโควิด” ฟาวิพิราเวียร์ , เรมดิซิเวียร์ , โมลนูพิราเวียร์ และ แพกซ์โลวิด ที่ใช้รักษาโควิดในไทย
Ingonn
21 มีนาคม 2565 ( 16:05 )
557

ปัจจุบันในไทยมียารักษาโควิด ที่ใช้ในประเทศ 4 ตัว ประกอบด้วย  ฟาวิพิราเวียร์ , เรมดิซิเวียร์ , โมลนูพิราเวียร์ และ แพกซ์โลวิด โดยสธ. เตรียมนำเข้า ยาแพกซ์โลวิด รักษาผู้ป่วยโควิด-19 กลางเดือนเมษายนนี้ วันนี้ TrueID จึงจะพามาตรวจสอบคุณสมบัติยารักษาโควิดทั้ง 4 ชนิดว่าแต่ละตัว เหมาะกับใครบ้าง

 


ยาฟาวิพิราเวียร์

ยาฟาวิพิราเวียร์ มีประสิทธิภาพ ช่วยผู้ป่วยโควิด 19 อาการดีขึ้น 79% มีการใช้มาแล้ว 2 ปี ในการรักษาผู้ป่วยแล้วเกินกว่าล้านคน ช่วยลดการเสียชีวิต ทำให้หายป่วยกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ หากป่วยอาการไม่รุนแรงและใช้รักษาเร็ว จะลดโอกาสเกิดอาการรุนแรงและหายป่วยได้ ผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านการรักษาและควบคุมป้องกันโรคได้พิจารณาร่วมกันอย่างรอบคอบแล้วจึงตัดสินใจนำมาใช้ ผู้ป่วยที่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์มีอาการดีขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยา โดยเฉพาะในช่วง 14 วัน สัดส่วนอาการดีขึ้น 86.9%

 

แม้บางประเทศไม่ได้ใช้ยาตัวนี้แล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่า ยานี้อันตราย หรือยานี้ไร้ประสิทธิภาพเสียทั้งหมด อาทิ ประเทศญี่ปุ่น ที่ไม่ได้ใช้ยาดังกล่าวเพราะปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งคือเรื่องการทดลองหาประสิทธิภาพ เพราะผู้ป่วยแทบติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนที่มีความรุนแรงของโรคต่ำ ติดแล้วหายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ให้ยาแล้วหาย แต่ก็ประเมินยากว่าหายเพราะยาหรือไม่ จึงตัดสินใจเลิกใช้ ทว่าในหลายประเทศก็ยังใช้ยาตัวนี้อยู่

 

 


ยาโมลนูพิราเวียร์ 

ยาโมลนูพิราเวียร์ มีกลไกออกฤทธิ์จุดเดียวกันกับฟาวิพิราเวียร์ ช่วยให้ผู้ป่วยลดความเสี่ยงการเกิดอาการรุนแรง โดยขนาดยาคือ 800 มิลลิกรัม (มก.) แบ่งเป็น 200 มก. จำนวน 4 แคปซูล รับประทานทุก 12 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 5 วัน รวม 40 แคปซูลต่อคน จะมีการพิจารณาใช้ยาตัวนี้กับผู้ป่วยกลุ่ม 607 คือ กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรครื้อรัง 7 โรคประจำตัว อย่างไรก็ตาม อาจมีการพิจารณาใช้ยาตัวนี้กับผู้ป่วยกลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไปเพิ่มเติมเข้ามาในอนาคต

 

 

ยาเรมดิซิเวียร์

ยาเรมดิซิเวียร์ มีกลไกการออกฤทธิ์ตำแหน่งเดียวกับยาฟาวิพิราเวียร์  ช่วงเริ่มต้นองค์การอนามัยโลก (WHO) ยังไม่ได้แนะนำหรือรับรอง แต่เมื่อใช้ยามาสักระยะก็ได้รับการรับรองจาก อย.สหรัฐให้ใช้ในภาวะฉุกเฉินได้ โดยให้ทางหลอดเลือดดำ เหมาะสำหรับผู้ที่รับประทานไม่ได้ มีปัญหาเรื่องการดูดซึมยา และสามารถใช้ได้ในหญิงตั้งครรภ์ จากการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้ป่วยมีอาการน้อยลง และช่วยลดการนอนโรงพยาบาลเมื่อเทียบกับกลุ่มที่รับยาหลอก โดยกลุ่มรับยาเรมดิซิเวียร์พบนอน รพ. 10 วัน กล่มที่รับยาหลอกนอน รพ. 15 วัน

 

 

 

ยาแพกซ์โลวิด

ยาแพกซ์โลวิด มีกลไกการออกฤทธิ์ที่เอนไซม์ทำให้เชื้อลดจำนวนลง ไม่สามารถเกิดผลกับโรคได้ ช่วยลดความเสี่ยงการนอนโรงพยาบาลลง 88% กรณีให้ยาภายใน 5 วันหลังมีอาการ ถือว่ามีประสิทธิภาพสูง คาดว่าจะเข้ามาในกลางเดือนเมษายนนี้

 

 

ข้อดี-ข้อเสีย ยารักษาโควิด 4 ชนิด

จากการติดตามการใช้ยามาสักระยะ พบว่าแต่ละตัวมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน เช่น
 

  1. เรมดิซิเวียร์ช่วยกลุ่มอาการปานกลาง ใช้ได้ในหญิงตั้งครรภ์ 
  2. ยาฟาวิพิราเวียร์ให้ได้ในหญิงตั้งครรภ์ไตรมาส 2 และ 3 
  3. โมลนูพิราเวียร์และแพกซ์โลวิด มีข้อห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร รวมถึงเป็นยาใหม่จึงมีราคาสูงถึงคอร์สละ 10,000 บาท 
  4. ยาฟาวิพิราเวียร์ราคาคอร์สละ 800 บาท ส่วนเรมดิซิเวียร์ 1,512 บาท ราคาถูกกว่า โมลนูพิราเวียร์และแพกซ์โลวิด

 

 

 

ข้อมูล กระทรวงสาธารณสุข , กรมการแพทย์

ภาพจาก เพจเฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว

 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง