รีเซต

'อวิ๋นหนาน' พบแหล่งแพร่พันธุ์ใหม่ของไม้เลื้อยหายาก

'อวิ๋นหนาน' พบแหล่งแพร่พันธุ์ใหม่ของไม้เลื้อยหายาก
Xinhua
9 กันยายน 2564 ( 23:16 )
90
'อวิ๋นหนาน' พบแหล่งแพร่พันธุ์ใหม่ของไม้เลื้อยหายาก

ถานอวิ้นหง นักวิจัยจากสวนพฤกษศาสตร์เขตร้อนสิบสองปันนา สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน กล่าวว่าต้น Hoya burmanica เป็นไม้พุ่มอิงอาศัยในสกุลลั่นทมหรือตีนเป็ด (Apocynaceae) มีกลีบช่อสีเหลืองเป็นรูปดาวห้าแฉก กะบังรอบดอกเป็นสีชมพูรูปดาว และมีกลิ่นมะนาวอ่อนๆ รวมถึงมีใบเป็นรูปสามเหลี่ยมแคบและรูปหอก

 

 

(แฟ้มภาพซินหัว : ต้น Hoya burmanica ถูกพบครั้งแรกที่เขตอนุรักษ์ธรรมชาติระดับมณฑลหลงหลิงเสี่ยวเฮยซาน ในเมืองเป่าซาน มณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน วันที่ 4 ก.ย. 2021)[/caption]ถานกล่าวว่ามีการจดบันทึกพบแหล่งกระจายพันธุ์ของไม้เลื้อยสายพันธุ์นี้ในจีนเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2019 โดยเดิมทีมีการกระจายพันธุ์ในพื้นที่ทางตอนเหนือและตะวันตกของเมียนมา และพื้นที่ทางตะวันออกของอินเดีย และการค้นพบต้นไม้นี้ในเขตอนุรักษ์ฯ ครั้งนี้ นอกจากจะเพิ่มไม้เลื้อยวงศ์ตีนเป็ดในเขตอนุรักษ์ฯ ให้เป็น 10 สายพันธุ์แล้ว ยังเป็นการค้นพบแหล่งแพร่พันธุ์ในจีนเพิ่มอีก 1 แห่งด้วย[caption id="attachment_228594" align="alignnone" width="900"]

 

 

ถานกล่าวว่าไม้เลื้อยสายพันธุ์นี้พบได้เฉพาะในพื้นที่บางส่วนของประเทศ เช่น เขตอนุรักษ์ธรรมชาติระดับมณฑลถงปี้กวน เขตอนุรักษ์ธรรมชาติระดับชาติไอเหลาซาน และเขตอนุรักษ์ธรรมชาติระดับมณฑลหลงหลิงเสี่ยวเฮยซานในอวิ๋นหนาน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเขตอนุรักษ์ธรรมชาติประเภทต่างๆ มีบทบาทสำคัญในการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ

 

 

 

 

 

 

หลิวหย่ง ผู้อำนวยการสำนักจัดการและคุ้มครองเขตอนุรักษ์ธรรมชาติระดับมณฑลหลงหลิงเสี่ยวเฮยซาน ระบุว่าสำนักฯ จะจัดการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาของสหประชาชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ครั้งที่ 15 (COP15) ในคุนหมิง ซึ่งถือเป็นโอกาสในการเสริมสร้างงานด้านการจัดการและคุ้มครองทรัพยากรในเขตอนุรักษ์ การเฝ้าสังเกตการณ์สัตว์ป่า และการประชาสัมพันธ์งานคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง