รีเซต

รัฐบาลเตรียมจัดเก็บภาษี "ความเค็ม" ตลาดอาหารโซเดียมสูง

รัฐบาลเตรียมจัดเก็บภาษี "ความเค็ม" ตลาดอาหารโซเดียมสูง
TNN Wealth
30 ธันวาคม 2564 ( 12:12 )
339
จากงานวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย 1 พบว่า การบริโภคโซเดียมเฉลี่ยของไทย อยู่ที่ 3,636 มิลลิกรัมต่อวัน เทียบเท่ากับการบริโภคเกลือ 1.8 ช้อนชา ซึ่งสูงกว่าปริมาณที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำในปริมาณไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ถึงเกือบ 2 เท่า
 
 
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า กลุ่มสินค้าที่อาจเข้าข่ายมีปริมาณโซเดียมสูง (วัดจากปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งบรรจุภัณฑ์จากการสำรวจสุ่มตัวอย่างสินค้าในตลาด) น่าจะมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ ประมาณ 88,000 ล้านบาทในปี 2565 หรือคิดเป็น 18% ของมูลค่าตลาดอาหารสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูปท้ังหมด
 
 
โดยแม้ยังต้องติดตามเกณฑ์ที่ภาครัฐจะใช้กำหนดอัตราภาษี แต่ในกรณีที่มีการจัดเก็บภาษีความเค็มในระยะข้างหน้า คาดว่ากลุ่มสินค้าที่จะได้รับผลกระทบเรียงตามลำดับ น่าจะได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารแช่เย็น/แช่แข็ง โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป อาหารปรุงสำเร็จ ปลากระป๋อง และขนมขบเคี้ยว
 
 
นอกจากประเด็นภาษีความเค็มแล้ว การเร่งขึ้นของต้นทุนท่ามกลางภาวะค่าครองชีพสูง ตลอดจนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพควบคู่กับการให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นับเป็นโจทย์ที่ผู้ประกอบการผลิตอาหารสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูปจำเป็นต้องเร่งปรับตัว
 
 
อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ในการพิจารณาจัดเก็บภาษีความเค็มนั้น ภาครัฐน่าจะคำนึงถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมในการจัดเก็บภาษีเพื่อให้ผู้ผลิตมีระยะเวลาในการปรับตัว โดยแนวทางการจัดเก็บภาษีที่เป็นไปได้น่าจะเป็นการจัดเก็บจากผู้ผลิตอาหารโดยตรง และใช้อัตราภาษีแบบขั้นบันไดตามปริมาณโซเดียม กล่าวคือ เค็มมาก เก็บภาษีมาก ซึ่งน่าจะกำหนดโครงสร้างอัตราภาษีที่แตกต่างกันสำหรับสินค้าอาหารแต่ละ ประเภท ในลักษณะเดียวกับการจัดเก็บภาษีความหวานของสินค้าประเภทเครื่องดื่ม
 
 
โดยการจัดเก็บภาษีตามปริมาณโซเดียมในอาหารมีการใช้ในบางประเทศ อาทิ ฮังการีและโปรตุเกสได้ จัดเก็บภาษีจากอาหารที่มีปริมาณเกลือสูง ไม่ว่าจะเป็นของขบเคี้ยว เครื่องปรุงรส อาหารสำเร็จรูป ซีเรียลใน อัตรา 0.8 ยูโรต่อกิโลกรัม หากมีปริมาณเกลือเกินกว่า 1 กรัมต่ออาหาร 100 กรัม
 
 
ทั้งนี้ การจัดเก็บภาษีดัลกล่าวส่งผลให้ผู้ผลิตอาหารในฮังการีกว่า 40% ปรับเปลี่ยนสูตรอาหารเพื่อลดปริมาณโซเดียมลง ส่วนผู้บริโภคอย่างน้อย 14% เปลี่ยนไปเลือกซื้ออาหารสุขภาพทดแทนอาหารที่มีโซเดียมสูง
 
 
หากภาครัฐมีการจัดเก็บภาษีดังกล่าวในอนาคต ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ผลกระทบต่อ ผู้ประกอบการแต่ละกลุ่มยังขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อาทิ อัตราภาษีกรอบเวลาการบังคับใช้สภาพการแข่งขันของตลาด และความยืดหยุ่นในการปรับตัวของผู้ผลิตอาหารแต่ละประเภท
 
 
แม้ว่าการ จัดเก็บภาษีความเค็มยังคงอยู่ระหว่างการพิจารณา แต่แนวโน้มผู้บริโภคที่หนัมาเลือกซื้ออาหารสุขภาพ และให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้นก็เป็นปัจจยักระตุ้นให้ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัว โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่น่าจะมุ่งเน้นที่การปรับสูตรอาหารให้มีปริมาณโซเดียมลดลงหรือการใช้เกลือโซเดียมต่ำทดแทน โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอย่างอาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่ง สำเร็จรูปที่เป็นอาหารพื้นฐานและมีข้อจำกัดในการปรับเพิ่มราคาสินค้า เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเลือกซื้อสินค้าตามปัจจัยด้านราคาเป็นหลัก ส่วนกลุ่มสินค้าที่มีราคาสูง เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ มีราคาต่อหน่วยตั้งแต่ 25 บาทขึ้นไป อาหารแช่เย็น/แช่แข็งแบบพรีเมียม ผู้ประกอบการอาจผลักภาระต้นทุน ภาษีไปสู่ราคาสินค้าได้บางส่วน
 
 
อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการอาจใช้กลยุทธ์ปรับเปลี่ยนไปสู่การผลิตอาหารสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อมีแนวโน้มความเต็มใจที่จะจ่ายสำหรับสินค้าสุขภาพ มากกว่า ทั้งนี้ แม้ว่าการจัดเก็บภาษีความเค็มจะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่อาจนำมาใช้เพื่อช่วยลดการบริโภคเค็มลง แต่ประสิทธิผลยังขึ้นอยู่กับการใช้มาตรการอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะการรณรงค์ให้ผู้บริโภค ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ และการให้ความรู้ถึงความ เสี่ยงของโรคจากการบริโภคโซเดียมมากเกินไป

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง